ทำไมต้องเป็นระบบการบริการผลการปฏิบัติงาน


ทำไมต้องเป็นระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

     เนื่องจากการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีความจำเป็นที่ทุกองค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนให้ความสนใจ  ทั้งนี้เพราะ
ผลของการประเมินจะถูกนำไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายหน้าที่การงาน การให้ออกจากงาน การจัดฝึกอบรม และอื่นๆอีกหลายอย่าง  เช่นเดียวกับในระบบราชการ  เราใช้การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือในการพิจารณาให้ความดีความชอบ
หรือการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี  ปัญหาของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความไม่ชัดเจนในการประเมิน ความยุติธรรม
ในการประเมิน คุณธรรมและทักษะของผู้ประเมิน การใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการประเมิน เกิดการประเมินเพียงด้านเดียวจากหัวหน้า  หรือบางกรณี
ก็เป็นการประเมินแบบปรองดองเพื่อไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้ง  ความเข้าใจในแบบประเมินและวิธีการประเมินที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ประเมิน
และผู้ถูกประเมิน  ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้บริหารต้องตระหนักและทบทวนเพื่อหาแนวทาง  วิธีการ หรือระบบที่มีความโปร่งใส  ยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับ
จึงทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน  โดยการนำแนวคิดเชิงกลยุทธ์เข้ามาประยุกต์  เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ

     การพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) หรือ ระบบ PM เกิดจากความต้องการที่จะปรับระบบการประเมินผล
การปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลการทำงานของบุคลากรได้อย่างจริงจังมากขึ้น  การพัฒนาระบบ PM ก็เพื่อให้ระบบนี้เป็นเครื่องมือ
ในการบริหารผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ คำถามก็คือว่า แล้วระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน
หรือระบบ PM เกี่ยวข้องอะไรกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน คำตอบง่ายๆ ก็คือ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหาร
ผลการปฏิบัติงาน 

     ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน  :  ความหมาย
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (ระบบ PM) หมายถึง การบริหารแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานของบุคลากร  เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย
ที่ได้กำหนดไว้  หรือ
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (ระบบPM) หมายถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในอดีตเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้

     กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมีปรัชญา และแนวคิดสำคัญๆ ดังนี้

  • การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการในการบูรณาการเป้าหมายขององค์กร มาสู่เป้าหมายของหน่วยงาน และบุคคล
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการทำงานที่มองไปข้างหน้า  โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการในการสร้างความร่วมมือ การยอมรับและเห็นพ้องต้องกันมากกว่าการควบคุม
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานต้องมีลักษณะของการสื่อสาร ๒ ทาง ระหว่างบุคลากรและผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานต่อเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้
  • การบริหารผลการปฏิบัติงานจะไม่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการขึ้นเงินเดือนประจำปี  แต่วัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาบุคลากร

รายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://www.op.mahidol.ac.th/orpr/Read/Knowledge/MU-HR/HR_Oct51.html

หมายเลขบันทึก: 423536เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท