KPI ปี 54 เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง


มาตรฐานระดับโรงพยาบาลชุมชนคือการคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนให้ได้เร็วที่สุดเพื่อยืดระยะเวลาการเกิดหรือลดความรุนแรง

ประชุมการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 โดย สปสช.เขต 3 นครสวรรค์ พบว่าจังหวัดชัยนาทมีผู้ป่วยเข้าถึงบริการคิดเป็นร้อยละ 84.74 ส่วนโรคความดัน ฯ คิดเป็นร้อยละ 68.77 ซึ่งมากกว่าจังหวัดอื่น ในเขต 3 แสดงว่าจังหวัดของเรามีการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษาได้เป็นระบบต่อเนื่อง

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน /ความดันฯ ในโรงพยาบาลชุมชน(Secondary care) เน้นการคัดกรองป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังดังกล่าว (Secondary Prevention) อันได้แก่ การทำลายของสมอง ตา ไต หัวใจ เท้า การรักษาด้วยยากลุ่ม ACEI,ARB,ASA ถ้ามีการ Admit ด้วยHypertension รวมทั้งภาวะฉุกเฉินของเบาหวาน Hypo/Hyperglycemia, DKA, Hyperosmolar    แสดงว่าฝีมือ OPD ยังไม่ดีพอ

นอกจากนี้ โรงพยาบาลชุมชนต้องดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังเกิดขึ้น(Tertiary Prevention) ให้ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน เช่นมีการส่งต่อผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ ตัน ให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 12 ชม. หรือการส่งต่อผู้ป่วย  STEMI ให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 3 ชม. และผู้ป่วย Kidney Disease ได้รับการทำ CAPD, HD, RT

ขอประชาสัมพันธ์ผ่านเพื่อนร่วมงานด้วยว่า ถ้ามีผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาเรื่องเท้าเป็นแผลอาจต้องตัดนิ้ว หรือมีแนวโน้มไม่ค่อยดี ประเมินเข้าตามหลักเกณฑ์เราสามารถสั่งตัดรองเท้าให้ผู้ป่วยได้ฟรีโดยทำเรื่องเบิกจ่ายของ สปสช. ส่วนการให้ยาเพื่อรักษาแผลติดเชื้อที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน แนวเวชปฏิบัติ ฯ แนะนำให้ใช้ Erythromycin เป็นตัวเลือกอันดับต้นเนื่องจากการศึกษาความไวของเชื้อที่มีต่อยาของประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์คือ Erythromycin (ราคาถูกด้วยค่ะ) ,Ciprofloxacin และ Aminoglycoside ซึ่งมีความไวต่อเชื้อ S.aureus ร้อยละ 80-91 และไวต่อเชื้อ Streptococcus sp.1ร้อยละ 100 การให้ยามีหลักดังนี้

อาจเลือกใช้ Clindamycin, Ampicillin plus Clavulanate , Erythromycin (Gram +) และใช้ Ciprofloxacin, Oral Cephalosporins (Gram-) หรืออาจให้ Metronidazole ในกรณีที่ไม่ได้ให้ Clindamycin  ส่วนยาฉีดระหว่างรอผลเพาะเชื้อ ให้ใช้ Clindamycin 600 mg.IV.ทุก 6- 8 ชม. ร่วมกับ Ceftriaxone 2 กรัม  วันละครั้ง  หรืออาจใช้ Gentamicin 240 mg. in 5% D/W 100 ml. วันละครั้ง (Boss จะกรุณาทบทวนการใช้ยา ATB ในแผลติดเชื้อที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่คะ)  การ F/U ให้ดูเป็นระยะดังนี้ ถ้าคลำชีพจรที่เท้าได้ให้นัด 24 – 48 ชม. / 7 – 10 วัน และ 2 wks. หรือจนกว่าแผลจะหาย แต่ถ้าไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อศัยแพทย์ทั่วไป ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ให้ส่งต่อศัลยแพทย์หลอดเลือด...? (ที่ รพ.สปร.และส่งต่อ พิษณุโลกกรณีทำไม่ได้ และอีกที่หนึ่งก็คือ รพ.สระบุรี)

KPI ปี 2554

1.ด้านปริมาณ

1.1 DM ความครอบคลุมในการตรวจ HbA1c,LDL,Microalbumin, ตรวจตา,ตรวจเท้า

1.2 HT ความครอบคลุมในการตรวจ Lipid ,Urine protein,FBS

2.ด้านคุณภาพ

2.1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีค่า HbA1c < 7

2.2 ร้อยละของผู้ป่วย HT ที่มีค่า BP <140/90 mmHg.

2.3 ร้อยละการ Readmitted ภายใน 28 วันของผู้ป่วย DM/HT (ฝีมือ IPD)

3.ด้านพัฒนา การลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันฯ ผ่านระบบ IT (ฐาน OP individual สปสช.)

สปสช.จึงต้องการให้หน่วยบริการสร้างมาตรฐานคุณภาพบริการที่เรียกว่า Chronic Care Model  ซึ่งประกอบด้วย

1.นโยบายการและสนับสนุนขององค์กร ข้อนี้เราผ่าน

2.ระบบสารสนเทศ ของเราผ่านนะ

3.การออกแบบการให้บริการ ของเรา... เราก็ว่าดี

4.การวินิจฉัยและการรักษา เราก็ยึดมาตรฐานเดียวกัน แต่ไม่แน่ใจว่าทำเหมือนกันหรือเปล่า

5.ระบบการสนับสนุนการจัดการตนเอง ข้อนี้นึกไม่ออกว่าทำอย่างไร...ถ้าเราเป็นเบาหวานจะพึ่งพาตนเองได้อย่างไร คงไม่ใช่พอถูกหมอต่อว่าเรื่องน้ำตาลสูง อิฉันก็ไม่กล้ามาโรง’บาน ไปซื้อยาสมุนไพรขวดละพันกว่าบาทกินเองเสียตังค์แต่สบายใจส่วนหมอก็ว่าดีไม่เหนื่อย น่าสงสารทั้งหมอทั้งคนป่วย

6.นโยบายและทรัพยากรในชุมชน ข้อนี้ก็ต้อง รพ.สต.หรือ สอ.ในเครือข่ายของเรา เก่ง ๆ ทั้งนั้น จะมาเชื่อมโยงกันได้อย่างไรน้อ

                วิเคราะห์ดูแล้วน่าจะเป็นการดำเนินงานในรูปของ CUP ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่าย ทำทุกขั้นตอนทุกระบบทั้ง Primary prevention, Secondary Prevention, Tertiary Prevention ประชากรในเขตอำเภอเรา ทุกคนต้องมีส่วนร่วมดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หน่วยใดด้อย หรือขาด ต้องมีทีมพี่เลี้ยงลงไปช่วยให้สามารถตอบโจทย์ได้ สปสช.ให้แต่ละจังหวัดเลือกพื้นที่มา 1 แห่งนำร่องโครงการมีเงินสนับสนุน 150,000 บาทสำหรับหน่วยงานที่สนใจ จะสมัครก็ไม่ค่อยกล้า กลัวว่าได้ตังค์มาแล้วต้องกล้ำกลืนทำ/สินีนาถ ยอดศิรจินดา

                 

หมายเลขบันทึก: 423384เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อืม! สมัครไม่สมัคร ก็ต้องทำอยู่แล้ว ก็สมัครดีกว่าค่ะ/ By Jan

ขอบคุณครับ ข้อมูลเป็นประโยชน์มาก / boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท