ดื่มน้ำจากแหล่งไหนดี?


น้ำดิบจากแหล่งน้ำทางธรรมชาติจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่เสมอ หรืออาจพูดได้ว่า น้ำดิบตามธรรมชาติมีเชื้อโรคเป็นเจ้าบ้าน ถึงแม้เราจะพยายามตักน้ำเฉพาะส่วนที่ใสที่สุด

คิดจะดื่มน้ำ ดื่มจาก...ไหน?

 

น้ำฝน คือ ไอน้ำที่ลอยตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จับตัวกับความเย็น ก่อเป็นเมฆ เมื่อเมฆเกิดการควบแน่นจะทำให้เกิดฝน และตกลงสู่พื้นล่าง ก่อนที่จะละเหยเป็นไอขึ้นสู่อากาศอีกครั้ง

น้ำฝน ถือเป็นน้ำที่คนไทยผูกพันและใช้ดื่มกินมาตั้งแต่อดีต เพราะน้ำฝนเป็นน้ำที่ตกมาจากท้องฟ้า ไม่ผ่านชั้นดินหินกรวดเช่นน้ำจากห้วยหนองคลองบึง เกือบทุกบ้านจึงมีภาชนะขนาดใหญ่คอยเก็บตุนน้ำฝนไว้ใช้ให้พอตลอดทั้งปี

ระทั่งปัจจุบัน น้ำฝนได้ถูกจัดเป็นน้ำที่ไม่ควรบริโภคตามหัวเมืองใหญ่และเขตโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการปนเปื้อนสารพิษจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ "ฝนกรด" รวมถึงโลหะหนัก และฝุ่นผงบนอากาศ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยกรรมวิธีแบบครัวเรือนอย่างการต้มหรือตากแดดได้ อีกทั้งภาชนะกักเก็บ เช่น ตุ่มน้ำ โอ่ง หรือแท็งก์เหล็กที่มีขนาดใหญ่ ก็ถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสำหรับการกักน้ำดื่ม เพราะน้ำมีโอกาสเจือปนด้วย มูลสัตว์, ตะไคร่น้ำ, เห็ด, รา, ฝุ่นผง ฯลฯ ได้ น้ำที่มีสิ่งเจือปนดังกล่าวจะถูกทำให้สะอาดได้ด้วยการต้มให้เดือด หรือการนำน้ำใส่ภาชนะใสตากแดดจัดนาน 6-8 ชั่วโมง เมื่อมนุษย์ยุคปัจจุบันมีทางเลือกในการดื่มน้ำมากขึ้น น้ำฝน จึงกลายเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการดื่มกินไปโดยปริยาย

 

้ำบาดาล คือ น้ำบาดาล เกิดจากน้ำในบรรยากาศ ซึ่งตกลงมาในลักษณะของฝน ไหลซึมลงไปตามช่องว่าง ระหว่างเม็ดดิน/เม็ดหิน ผ่านส่วนสัมผัสอากาศ ไปยังที่ต่ำกว่า หรือ มีแรงดันน้อยกว่า แล้วสะสมรวมกันจนกลายเป็นส่วนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ

นเขตชุมชนขนาดใหญ่ ไม่นิยมใช้น้ำบาดาล เว้นแต่เขตนอกตัวเมือง หมู่บ้านชาญเมือง และถิ่นทุรกันดาร ที่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคและใช้ในภาคเกษตรกรรมด้วย ซึ่งก่อนการนำไปใช้ชาวบ้านมักไม่นิยมทำการบำบัดน้ำก่อน

โดยทั่วไปน้ำบาดาลเป็นน้ำที่ปราศจากสารแขวนลอย สารอินทรีย์เคมี และเชื้อโรคต่างๆ ไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ แต่ในพื้นที่ทีมีการใช้สารเคมีลงสู่ผิวดินมาก สารเคมีเหล่านั้นก็มีโอกาสที่จะไหลซึมผ่านชั้นดินลงไป แล้วถูกน้ำใต้ชั้นดินชะล้างไปสะสมในแหล่งน้ำบาลดาลด้วยเช่นกัน เช่น สารหนู เป็นต้น

สารหนูเป็นสารที่อันตรายถึงชีวิต พบมากในบ่อบาดาล หรือแม้แต่บ่อตื้น หากดื่มน้ำที่มีสารหนูเข้าไป เริ่มแรก ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นจุดดำ บางทีเรียกโรคผิวหนังนี้ว่า โรคไข้ดำ หรือโรคมะเร็งที่ผิวหนัง

ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าน้ำบาดาลดื่มได้หรือไม่ เราไม่สามารถตรวจสอบได้จากความใสของน้ำเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องนำตัวอย่างส่งตรวจทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย จึงจะยืนยันได้ว่าน้ำบาดาลนั้นสามารถดื่มได้หรือไม่ 

 

น้ำบรรจุขวด – ถัง เป็นที่นิยมเพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาอยู่ในระดับที่สะดวกจ่าย ผู้ประกอบการบางรายจัดส่งให้ถึงหน้าบ้านฟรี

กรณีของน้ำถัง น้ำดิบที่นำมาใช้ มีทั้งน้ำบาดาล และน้ำประปา ผู้ผลิตจะนำน้ำดิบมาผ่านกระบวนการกรองเพื่อความสะอาด ปรับสี ปรับกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคลอรีน ผู้ผลิตบางรายเชื่อว่า น้ำประปา มีความสะอาดอยู่แล้วจึงนำน้ำมาลดเพียงกลิ่นคลอรีนและปรับความใส แล้วส่งออกขาย ซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบสารเคมีและสิ่งเจือปนในน้ำเลย

กรณีของน้ำบรรจุขวด ในผู้ประกอบการรายย่อยอาจมีกระบวนการไม่ต่างจากการผลิตน้ำถัง อาศัยว่าทำน้ำและขวดให้ใส (ในอดีตมักเป็นขวดขุ่น) ขายในราคาต่ำ ก็สามารถส่งตลาดได้แล้ว จะมีเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้นที่พอไว้ใจขึ้นมาได้บ้าง เพราะมีการรับรองคุณภาพจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง แต่ราคาจะค่อนข้างสูงทีเดียว

ังนั้น น้ำบรรจุขวด – ถัง ที่ดูใสสะอาด แท้จริงแล้วอาจไม่เป็นอย่างที่เห็น และถึงแม้ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์จะเปลี่ยนจากแบบขุ่นมาเป็นแบบใส แต่ก็ยังมีข่าวเรื่องความสะอาดของโรงงานผลิต, ขั้นตอนการล้างขวด และสารเคมีที่ใช้ในการทำขวดก็ยังสามารถหลุดมาเจือปนน้ำได้ เพราะขวดพลาสติกใสดังกล่าวทำมาจาก Polyethyleneterephthalate หรือที่เรียกว่า PET ซึ่งไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้ซ้ำหลายครั้ง เมื่อขวดเสื่อมสภาพหรือโดนความร้อนก็จะปล่อยสารที่เป็นอันตรายออกมาเจือปนในน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้เลย

 

ตู้น้ำหยอดเหรียญ ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับผู้อาศัยอยู่ตามคอนโด อพาร์ทเม้นท์ หอพัก หรือตามหมู่บ้าน ราคาลิตรละหนึ่งบาท เพียงแค่หยอดเหรียญ ภาชนะรองน้ำ แล้วกดปุ่ม ก็จะได้น้ำดื่มทันใจ

กระบวนการกรองของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในปัจจุบันหลักๆ จะได้แก่ ระบบ R.O. (Reverse Osmosis) หลักการคือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ความละเอียดมากกว่า 0.0001 ไมครอน เพื่อการกรอง อัดน้ำภายใต้แรงดันสูงให้ผ่านเยื่อเมมเบรน ทำให้โมเลกุลของน้ำเท่านั้นที่สามารถซึมผ่านเยื่อเมมเบรนได้ พวกแร่ธาตุต่างๆ และอนุภาคแขวนลอยจะถูกกรองทิ้งไปกับน้ำทิ้ง (Concentrate) เหตุนี้ น้ำที่ผ่านระบบ R.O. (Reverse Osmosis) จึงได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่สะอาดที่สุด

แต่เมื่อใดก็ตาม เยื่อเมมเบรน (membrane) ดังกล่าวเกิดการชำรุด เสียหายฉีกขาดจากแรงดันน้ำที่สูง เชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ก็จะหลุดออกมาพร้อมกับน้ำด้วย ดังนั้นข้อพึงตระหนักในการใช้บริการตู้น้ำหยอดเหรียญระบบ R.O. (Reverse Osmosis) ก็คือ การบำรุงรักษาตรวจสอบคุณภาพเครื่องอย่างสม่ำเสมอ

เพราะเครื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการ (ผู้นำเครื่องมาให้บริการ) ไม่สามารถซ่อมหรือดูแลรักษาเองได้ ต้องเรียกช่างที่ชำนาญงานจากผู้ผลิตเท่านั้น หากไม่หมั่นเรียกช่างเข้ามาตรวจสภาพเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เราก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า น้ำที่ถูกกดออกมาเป็นน้ำที่สะอาดจริงหรือไม่?

นอกเหนือจากระบบ R.O. (Reverse Osmosis) แล้ว ผู้ผลิตเครื่องบางรายอาจเพิ่มการฆ่าเชื้อโรคด้วย แสงอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) แต่ในความเป็นจริงแล้ว เชื้อโรคบางชนิดจะต้องสัมผัส UV เป็นเวลานานจึงจะตายลง ซึ่งท้ายที่สุดเชื้อโรคก็ไม่ได้ตายเสียทั้งหมด การเพิ่ม UV เข้ามาจึงเป็นเรื่องของการตลาดเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากกว่าการเพิ่มประสิทธิผลของการกำจัดเชื้อโรค

 

น้ำประปา คือ น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการเติมสารเคมีบางอย่างลงในน้ำดิบ เช่น ปูนขาว สารส้ม เพื่อเร่งการจับตัว และตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำดิบ จากนั้นค่อยกรองน้ำให้ใสจนได้เกณฑ์ที่ตั้งไว้ ต่อด้วยการฆ่าเชื้อด้วยการผสมคลอรีน ทำการตรวจวัดคุณภาพ ก่อนจะส่งมาตามท่อประปาสู่ภาคครัวเรือน

้ำประปา เป็นน้ำที่ค่อนข้างสะอาด เพราะผสมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค มีแหล่งข้อมูลหลายแห่งพยายามให้ข้อมูลว่า การดื่มคลอรีนในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อร่างกายจนถึงขั้นเป็นมะเร็งเลยทีเดียว ซึ่งว่ากันตามทฤษฎีแล้วถือว่านี่คือข้อเท็จจริง หลายคนจึงไม่กล้าดื่มน้ำประปากัน แต่ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐก็พยายามให้ข้อมูลเพื่อปรับความเข้าใจว่า ปริมาณคลอรีนที่อยู่ในน้ำประปานั้นเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด ดื่มแล้วจะไม่เกิดการสะสมหรือส่งผลให้เกิดมะเร็งแน่นอน ต่อให้ดื่มเป็นประจำก็ตาม

ย่างไรก็ตาม แม้ขั้นตอนและมาตรฐานที่ใช้ควบคุมการผลิตน้ำประปาจะอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าปลอดภัย ตามคำยืนยันของหน่วยงานภาครัฐก็ตาม แต่สิ่งที่ผู้ดื่มต้องพบเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ คือ กลิ่นคลอรีนและรสชาติที่ไม่คุ้นเคย (รสชาติจะค่อนข้างต่างจากน้ำที่ผ่านการกรองอย่างดี)

และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำประปาคือ...การนำน้ำประปามาต้ม ...ถ้าหากน้ำประปาที่ต้มนั้นมีสารจำพวกโลหะหนักหรือสารเคมีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากคลอรีนปนเปื้อนอยู่ ความร้อนจะยิ่งทำให้สารดังกล่าวมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น และอาจเข้มข้นจนเกินขีดจำกัดที่ร่างกายจะขับออกมาได้ และหากร่างกายสะสมสารเหล่านั้นเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนจะนำน้ำประปาไปผ่านกระบวนการอะไรก็ตาม ผู้บริโภคควรตั้งคำถามไว้ก่อนเสมอว่า กว่าที่น้ำประปาจะเดินทางมาถึงบ้านนั้นได้ผ่านอะไรมาบ้าง? และน้ำประปาในแต่ละพื้นที่มีคุณภาพเพียงพอเท่ากันหรือไม่?

 

ทำไมต้อง "เครื่องกรองน้ำ” ???

 

โดยปกติ น้ำดิบจากแหล่งน้ำทางธรรมชาติจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่เสมอ หรืออาจพูดได้ว่า น้ำดิบตามธรรมชาติมีเชื้อโรคเป็นเจ้าบ้าน ถึงแม้เราจะพยายามตักน้ำเฉพาะส่วนที่ใสที่สุด แต่ก็ไม่วายติดเชื้อโรคเป็นของแถมเสมอ เชื้อที่ว่านี้ได้แก่ แบคทีเรีย, ไวรัส, พยาธิ และโปรโตซัว...หากเรารับเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและโรคอื่นๆ ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ เหตุนี้เราจึงต้องบำบัดน้ำด้วยวิธีต่างๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนการบริโภค


ปัจจุบัน การฆ่าเชื้อโรคในน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมีหลายวิธี เช่น การใช้โอโซนฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม, การใช้คลอรีนในน้ำประปา สระว่ายน้ำ เป็นต้น ส่วนภาคครัวเรือนที่ต้องการฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มจะเลือกใช้วิธีการต้มน้ำ หรือไม่ก็ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เพราะหากพิจารณาในรายละเอียดของการต้มน้ำแล้ว คงเป็นเรื่องยากที่เราจะต้มน้ำให้สมาชิกทั้งหมดในบ้านได้ดื่มตลอดเวลา อีกทั้งบางคนอาจไม่ชื่นชอบรสชาติของน้ำต้มสุก สุดท้ายแล้วก็ต้องดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการต้มอยู่ดี
ส่วน น้ำดื่มจากผู้ประกอบการ
(น้ำขวด/น้ำถัง) แม้ว่าจะสะดวกสบาย ซื้อหาง่าย (ผู้ประกอบการบางรายมาส่งให้ถึงหน้าบ้าน) แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ประกอบการเหล่านั้นให้ความใส่ใจในความสะอาดและมาตรฐานการผลิตจริง ดังนั้น การซื้อน้ำดื่มจากผู้ประกอบการจึงไม่ต่างจากการฝากสุขภาพไว้กับคนแปลกหน้าเลย...
 

หรือแม้แต่ น้ำประปา ที่กล่าวกันว่าสามารถดื่มได้ เพราะมีคลอรีนในปริมาณที่ต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย...แต่ เราตั้งข้อสงสัยบ้างไหมว่า จากแหล่งจ่ายน้ำจนถึงก๊อกน้ำที่บ้านเรา น้ำประปาได้ผ่านอะไรมาบ้าง...เหมาะสำหรับการบริโภคจริงหรือ?
พิจารณาจากข้อมูลข้างต้นทำให้เราพอจะสรุปได้ว่า ที่มาของน้ำเหล่านั้นเต็มไปด้วยปัจจัยที่เราไม่สามารถตรวจสอบหรือควบคุมได้เลย ดังนั้นการติดตั้งเครื่องกรองน้ำภายในบ้าน จึงดูมีเหตุผลสมควรทีเดียว เพราะเราสามารถตรวจสอบคุณภาพของเครื่องกรองน้ำได้ คล้ายกับเรามีโรงงานผลิตน้ำดื่มย่อมๆ ภายในบ้าน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้น้ำดื่มที่มีความสะอาดเพียงพอ
...
 

จากเหตุผลแวดล้อมทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าการติดตั้งเครื่องกรองน้ำจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของการดื่มน้ำ...แต่ ทั้งนี้เราต้องมั่นใจด้วยว่า เครื่องกรองน้ำที่เราจะเลือกใช้นั้น “กรองน้ำได้สะอาด ปราศจากเชื้อโรคจริง”

 

อ้างอิง :

Water for Life ( 2552 ).สมศักดิ์ วรคามิน สามเจริญพาณิชย์ : กรุงเทพฯ

http://www.pwa.co.th/service/treatment.html (การประปาส่วนภูมิภาค)

http://www.thaihealth.or.th/node/14351

http://gotoknow.org/blog/suikadream/83171

http://www.praneetech.com/content/view/26/44

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20071119025843AA2HIF7

http://www.pwa.co.th/document/water001.html (การประปาส่วนภูมิภาค)

http://en.wikipedia.org/wiki/Groundwater

http://en.wikipedia.org/wiki/Rainwater_harvesting
http://www.pwa.co.th/document/water001.html

หมายเลขบันทึก: 422991เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท