น้ำคือชีวิต


หากปราศจากน้ำก็ปราศจากชีวิต

น้ำ...คือ ชีวิต

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต จนอาจกล่าวได้ว่า "หากปราศจากน้ำก็ปราศจากชีวิต"

นั่นเพราะ ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องใช้น้ำในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ให้คงสภาพและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ซึ่งสามารถแยกไปตามอวัยวะต่างๆ ดังนี้

สมอง มีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 80-85 เพื่ออาศัยน้ำเป็นตัวกลางนำคำสั่งไปยังอวัยวะต่างๆ, เลือด มีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92-95 หมุนเวียนไปยังส่วนต่างๆ พร้อมกับนำพาสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ, ไต มีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 80-85 เพราะไตมีหน้าที่ขับของเสีย โดยอาศัยน้ำในการขับของเสีย, ปอด มีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 75-80 เพราะร่างกายต้องใช้น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน...

จากตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำต่ออวัยวะต่างๆ รวมถึงเซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยหนึ่งวันร่างกายจะสูญเสียน้ำประมาณ 2.5 ลิตร นั่นเท่ากับว่า เราต้องพยายามชดเชยส่วนที่สูญเสียไปไม่ต่ำกว่า 2.5 ลิตร เช่นเดียวกัน

ความต้องการน้ำของร่างกายจะทำให้เรารู้สึกกระหายน้ำเป็นระยะๆ และเมื่อเกิดอาการกระหายเราก็ไม่ควรฝืนไว้ เพราะอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ จนอาจส่งผลเสียอื่นๆ ตามมา เช่น ภาวะร่างกายขาดน้ำ

ภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเราสูญเสียน้ำมากกว่าปริมาณที่ร่างกายได้รับ ซึ่งหากขาดน้ำมากๆ จะเป็นผลเสียต่อร่างกายโดยตรง เช่น เลือดข้นหรือหนืดขึ้น จะทำให้สมองมึนงง ไม่สดชื่น รู้สึกเหมือนจะวูบ คิดอะไรได้ช้าลง เหนื่อยง่าย เพราะหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ยิ่งถ้ามีระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง ก็อาจเกิดเส้นเลือดอุดตันกะทันหันได้ง่ายขึ้น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ขับออกมาในปริมาณน้อย ปวดท้องน้อยรุนแรง ถ้าอาการหนักก็จะถ่ายออกมาเป็นเลือดสดหรือลิ่มเล็กๆ และต้องนั่งจ่อโถส้วมตลอดเวลา ซึ่งจะทรมานมากๆ ถ้าการอักเสบลุกลามขึ้นไปที่ไตจะเกิดอาการกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดบั้นเอว และหากรักษาไม่ถูกต้องหรือเป็นเรื้อรังก็จะเป็นโรคไตวายได้

ดังนั้นเราควรหมั่นดื่มน้ำให้เป็นนิสัย ไม่ใช่เฉพาะเวลากระหายน้ำเท่านั้น เพราะการดื่มน้ำไม่ใช่เพียงแค่การดับกระหาย...แต่หมายถึงการให้ชีวิตด้วย

 

การสังเกตอาการขาดน้ำ ได้แก่ ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง, เพลีย, เด็กจะซึมไม่ค่อยเล่น, ปัสสาวะน้อยลง, เด็กร้องไห้ไม่มีน้ำตา, ไม่มีแรงและปวดศีรษะ

หมายเลขบันทึก: 422976เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท