กฎแห่งกรรม


กรรมไม่เจตนา

ผมได้ทีโอกาสเข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม  พัฒนาจิต  แล้ววิทยากรท่านถามว่า "ถ้าหากเราขว้างท่อนไม้ทิ้ง แล้วไปโดนห้วสุนัขขี้เรื้อนตาย" เราจะบาปหรือไม่?  เกิดข้อสังสัยและลังเลให้กับผู้เข้ารับการอบรม ระหว่าง "บาป" กับ "ไม่บาป"  ท่านวิทยากรให้ยกมือขึ้นเพื่อสนับสนุนคำตอบของเรา สำหรับผมเอง เลือตอบว่า "บาป"  แล้วคำเฉลยของวิทยากรบอกว่า "ไม่บาป"  เพราะเราไม่มีเจตนา  กรรมเกิดขึ้นมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเรามีเจตนา และเกิดขึ้น 3  ทาง คือ ทางกาย  ทางวาจาและทางใจ 

      สำหรับผมยังสังสัยอยู่  และผมเคยอ่านเรื่องกรรม ของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ความว่า "ครั้งหนึ่งท่านได้โยนไม้ทิ้งข้างทางโดยมองไม่เห็นสุนัข สุนัขตัวนั้นได้รับบาดเจ็บ ท่านบอกว่าท่านไม่ได้เจตนาทำร้ายสุนัข แต่ท่านได้รับกรรมนั้นโดยไม่ตั้งใจเช่นกัน" และความเข้าใจของผม(ถูกหรือผิดไม่แน่ใจ) ผมเข้าใจว่า  กรรมการที่เรากระทำโดยไม่เจตนา  แต่หากผู้ที่ถูกเรากระทำนั้นมีความอาฆาตพยาบาลเรา เราก็ต้องรับผลของกรรมนั้น เช่น หากว่าเรายิงปืนขึ้นฟ้าแล้วไปถูกนกตาย แต่ก่อนตายนกตัวนั้นอาฆาตพยาบาทเรา  เราก็จะต้องรับผลของกรรมนั้น 

     ที่ท่านวิทยากรบอกว่า  ไม่บาปนั้น  ถ้าหากอธิบายเพิ่มเติมว่า  เมื่อสุนัขตัวนั้นถูกไม้ที่เราขว้างไปแล้วตายทันที  โดยไม้มีความเจ็บปวดก่อนตาย ไม่อาฆาตพยาบาท

     จริงๆ แล้ว  กรรมที่เราสร้างขึ้นโดยเจตนา  เราต้องรับผลของกรรมนั้น  และกรรมที่เราสร้างขึ้นโดยไม่เจตนา  เราไม่ต้องรับผลกรรมนั้นใช่ไหม่  รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยตอบให้ผมเกิดความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วยเถิดครับ

ขอบคุณครับ 

สมภพ

หมายเลขบันทึก: 422937เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะคะ มิบังอาจตัดสินชี้ขาดว่าบาปหรือไม่ เพราะหากจะวิเคราะห์เรื่อง "กรรม" ซึ่งบอกว่า กรรมคือการกระทำ หรือ กรรม เกิดจากการกระทำ ก็ตาม เราต้องรับผลของการกระทำนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเจตนา และที่สำคัญคือ ผู้รับผลของการกระทำนั้นๆ หรือผู้ถูกกระทำจะอาฆาตพยาบาทจองเวรกับผู้กระทำหรือไม่ แน่นอนหากเขาได้รับทุกขเวทนาจากการกระทำของเรา และอาฆาตพยาบาทจองเวรกับเราแล้วไซร้ เท่ากับเรามีเจ้ากรรมนายเวรขึ้นมาแล้ว 1 ราย ซึ่งเราต้องชดใช้อย่างมิต้องสงสัย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรยังไงคะ กรณีที่เราไม่เจตนา กรรม ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ส่วนต้องชดใช้หรือไม่ ขอแนะนำว่า ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศล และขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรของเรา ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา เพื่อให้เขาอโหสิกรรมให้ หนักก็จะได้กลายเป็นเบา......ไม่ทราบว่า พอจะเข้าเค้าหรือไม่คะ

น่าอ่านและนำไปปฏิบัติจังเลยครับ

ขอบคุณครับ  คุณธวัลรัตน์

         เป็นความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากครับ  และเรื่องของกรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจริงๆ การขออโหสิกรรมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดความหนัก - เบา ของผลกรรมได้ บางครั้งกรรมที่ผู้อื่นกระทำกับเรา แล้วเราได้อโหสิกรรมให้แล้ว แต่ยังคงได้รับผลของกรรมหรือการกระทำนั้นอยู่ แต่ผลของกรรมอาจจะน้อยลง อโหสิกรรมจึงมีความสำคัญมากในการขอขมาต่อเจ้ากรรมนายเวรครับ

 

      ผมขออนุญาต กรรมหนักที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ 3  ประการ คือ 

๑.นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เป็นกรรมที่รุนแรงที่สุด และให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ทั้งหมด

๒.อนันต ริยกรรม ๕ ประการ โดยความรุนแรง รองจาก นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม โดยทรงตรัสว่า ในอนันตริยกรรม ๕ อย่างนี้ เริ่มต้นแต่ สังฆเภทกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่หนักที่สุด ,รองมาคือ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ,รองมาคือ ฆ่าพระอรหันต์, รองมาคือ ฆ่ามารดา และสุดท้ายคือ ฆ่าบิดา

๓.อัตตวินิบาตกรรม ได้แก่ การฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผลรุนแรงมาก รองจาก อนันตริยกรรม
 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท