เรื่องของปลากัด


ปลากัดหม้อ

ประวัติปลากัด

ปลากัด (Betta splendens Regan)

 

 

นับแต่การสร้างชาติไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัย การชนไก่ กัดปลา เป็นเกมการพนันที่ได้รับการจารึกว่า เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมาแต่โบราณ อันที่จริงแล้ว เกมกีฬาการกัดปลาของชาวไทยนั้น นอกจากปลากัดแล้วยังมีปลาอีกสองชนิด ที่นำมากัดแข่งขันกันคือ ปลาหัวตะกั่ว และปลาเข็ม แต่ก็ไม่แพร่หลาย ติดใจคนทั่วไปเหมือนปลากัด ทั้งนี้เนื่องมาจากสัตว์น้ำชนิดนี้นอกจากจะมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้เป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว ลีลาการต่อสู้ก็เต็มไปด้วย ชั้นเชิงและศิลปะ และเหนือสิ่งอื่นใดนักรบจิ๋วเหล่านี้จะสง่างามยิ่งในระยะเวลาที่เข้าต่อสู้ ความสวยงามตามธรรมชาติของปลากัดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทำให้คนนิยม ปลาชนิดนี้จึงเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงสวยงามและนักกีฬาตัวโปรดของคนไทย

 

เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish

การเลี้ยงปลากัดหม้อ

 

 

ปลากัดหม้อเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายแต่ปลาจะชอบทานอาหารที่มีชีวิต เช่นลูกน้ำ,ไรแดง หนอนแดง  เป็นต้นแต่ถ้าหิวมากๆก็สามารถกินอาหารเม็ดได้เช่นกันซึ่งการเพาะพันธ์ปลาเก่งนั้น เราจะต้องหาพ่อพันธ์แม่พันธ์ปลาเก่ง ที่กัดชนะมานำมาเป็นพ่อพันธ์แม่พันธ์ นำมาเทียบกัน ประมาณ  1เดือน โดยดูว่าตัวเมียท้อง ป่อง หรือมีลายชะโดและไข่นำออกมาสีเหลืองจึงนำมาผสมกันในอ่างรัดซึ่งกว้างประมาณ12นิ้วเป็นอ่างดินเผาจะดีที่สุดเพาะลูกปลาจะรอดสูงกว่าพลาสติกใส่ ผักบุ้ง หรือใบตองเล็กน้อย
ใส่น้ำสูงประมาณ3นิ้วนำผามาปิดกันลมและพ่อปลาตกใจ กินไข่ตัวเอง2วันมาเปิดดูเห็นมีไข่ในหวอด ให้จับแม่ปลาออก ปล่อยพ่อปลาอนุบาลลูกอีก4วันช่วงนี้ไม่ต้องให้อาหารลูกปลามีอาหารติดมาเมื่อครบกำหนด จึงนำไปปล่อยในบ่ออนุบาลช่วงนี้หาลูกไรแดงกรองมาให้ปลาทาน พอครบ1เดือนจึงเปลี่ยนเป็นลูกน้ำ   ครบ4เดือนจะเปลี่ยนให้ปลวก  หอยกาบ   ฝึกปากปลา...จนถึง6เดือนปลาเริ่มแกร่ง เขี้ยวเริ่มมีมากเอามาประลองคัดตัวไปจน 8เดือนจึงเริ่มนำมาเลี้ยงแบบพิเศษต่อไป

 

 

 

โรคปลากัด

1.โรคจุดขาว
- จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
2.โรคสนิม
- โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัว
ต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว
3.โรคเชื้อรา
- โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้น
ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน
4.โรคราที่ปาก
- โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้
3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน

คำสำคัญ (Tags): #ประวัติปลากัด
หมายเลขบันทึก: 422811เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2011 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท