KRUJOY (ครูจ่อย)
นาย ทรงศักดิ์ เสือ ภูเก้าแก้ว

การประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (เกณฑ์ใหม่)


ใช้สำหรับการขอมีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ ทุกสายงาน

 

 

 

 การประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะเชิงประจักษ์

 

     จากการที่มีข่าวเกี่ยวกับการจ้างทำผลงาน ทางวิชาการ คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะอยู่เป็นระยะๆ และมีการกล่าวกันว่าครูที่มีเทคนิคและวิธีการสอนที่ดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู มุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาและสร้างให้นักเรียนประสบความสำเร็จใน ชีวิต ไม่มีเวลาในการทำผลงานทางวิชาการ หรือเข้าข่ายสอนเก่งแต่เขียนหรือเรียบเรียงไม่เก่ง ทำให้ครูเหล่านี้ไม่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะและขาดขวัญกำลังใจเป็นอย่างมาก

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ)   ในฐานะประธาน ก.ค.ศ. จึงมีนโยบายที่จะสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยไม่ต้องทำผลงานทางวิชาการเต็มรูปแบบ จึงมอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่มานำเสนอต่อ ที่ประชุม ก.ค.ศ. ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบในแนวคิดและหลักการในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้า ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ ประจักษ์ มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ดังนี้

   1.หลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงาน ดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะนี้ ใช้สำหรับการขอมีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ ทุกสายงาน

   2.ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้เสนอขอ

   3.ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการนี้ ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิทยฐานะมีภาระงานการสอน/การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด ปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ 2 ปีติดต่อกัน ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำไม่เกิน 1 ขั้น(รายละเอียดการได้รับเงินเดือนจะมีการปรับเปลี่ยนเมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.เงินเดือนฯ อย่างเป็นทางการ) และต้องมีผลงานดีเด่นที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และผลงานเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณภาพตามมาตรฐานวิทยฐานะเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพโดยต้องมีผลงานดีเด่นใน ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ หรือเป็นที่ยอมรับจากส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมขึ้นไปและมีผลการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับผลงานที่ดีเด่นนั้น

   4.ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องจัดทำผลงานทางวิชาการในรูปแบบเอกสารเต็ม รูปแบบ โดยให้เขียนรายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จนั้น ตามหัวข้อคือ ปัญหาคืออะไร ปฏิบัติอย่างไร ผลเป็นอย่างไรต่อไปจะทำอะไร ไม่เกิน 50 หน้า กระดาษเอ 4

   5.ต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน จากกรรมการ 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 กรรมการ 3 คนประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 และชุดที่ 2 กรรมการ5 คนประเมินด้านที่ 3 ณ สถานที่ปฏิบัติงาน

   6.ใช้เกณฑ์การตัดสินเช่นเดียวกับการประเมินตาม ว 17 ซึ่งการประเมินทั้ง 3 ด้าน ไม่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงได้ เว้นแต่รายงานเกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จสามารถปรับปรุงให้ สมบูรณ์ได้ 

                                                        

                                             โดย ศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เพื่อใคร
หมายเลขบันทึก: 422759เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2011 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน คุณครูจ่อย ผมน้องใหม่ผมอยากให้คุณฝากแนวคิดให้ผมบ้าง และอยากมีดพื่อร่วมคิดชาวอีสาน เป็นพระคุณยิ่งครับ

•ขอบคุณครับคุณประทีป วัฒนสิทธิ์

•สำหรับมิตรภาพ

•ยินดีที่ได้รู้จักกันครับ

  • ขอบคุณครับ"ครูจ่อย"
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ
  • เช่นกันครับคุณปณิธิ
  • โชคดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท