การเรียนรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากชุมชนต้นแบบสู่พื้นที่สูง ตอยแม่สลอง


วันนี้ ยังมีอาการเพลียที่เดินทางไปจังหวัดเชียงรายเป็นการเดินทางที่ไม่เคยมีความสุขแบบนี้ เพราะว่าประธานจำเป็น(เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกกองทุนตำบลที่เป็นเครือข่าย ฯ ให้ความไว้วางใจในการเป็นผู้นำสมาชิกกองทุนสวัสดิการของเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท จังหวัดลำปาง) เพราะประธานคนเดิมได้อยู่ครบตามวาระแล้ว จึงมีการเลือกตั้งใหม่ ก็เริ่มประเดิมงานให้ความรู้เรื่องสวัสดิการชุมชน

เมื่อวันที่ 8  มกราคม 2554 ได้มีเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่ 12 จังหวัดเชียงรายได้เชิญไปเป็นวิทยากรให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล ในวันที่ 25 มกราคม 2554ที่เข้าร่วม 23 ตำบล เป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น โดยการนำเสนอรูปแบบของการออมวันละหนึ่งบาท เครือข่ายจังหวัดลำปาง

ตอนเย็นเวลาทานอาหารค่ำ จะมีการแสดงของชาวเขาเผ่าอาข่าที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวเขา เป็นการแสดงที่ได้บรรยากาศมากเพราะเป็นแสดงแสง สี เสียง ที่ใช้พื้นที่จริงในศูนย์การแสดงกลางอากาศที่หนาวเย็น ใช้ผู้แสดงชาวเขา ประมาณ 100 คน จนเลิกก็มีการรื่นเริงต่อ แต่วิทยากรขอเข้าที่พักก่อนเพราะเหนื่อยทั้งวันที่เดินทางมา ตื่นเช้าต้องเตรียมการนำเสนองานของกลุ่มต้นแบบให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ เริ่มจาก

ประธานจำเป็นจึงได้อธิบายถึงการคิดเริ่มก่อตั้ง การรวมกลุ่ม การบริหารจัดการ สู่การทำกิจกรรมที่ทำกันอย่างต่อเนื่อง การทำงานร่วมกับท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีต่างๆ การพัฒนาสู่ความยั่งยืนของกองทุนฯ และการขยายเป็นเครือข่ายฯ ใช้เวลาอธิบาย ประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า หลังจบการอธิบาย จึงใช้เวลาที่เหลือนั้นเป็นขอแลกเปลี่ยน และซักถามปัญหา หรือสิ่งที่ท้องถิ่นอยากรู้ และอยากทำงานเกี่ยวกับกองทุนสว้สดิการชุมชน มีผู้ร่วมซักถามมาก ส่วนมากเป็นเรื่องที่เคยผ่านสภาพปัญหานี้อยู่แล้ว เลยไม่หนักใจที่จะตอบ

ขอสังเกตที่เห็นคำถาม ส่วนมากท้องถิ่นยังไม่เข้าใจถึงเรื่องสวัสดิการ และการรวมกลุ่มที่มาจากชาวบ้าน การขาดข้อมูลข่าวสารที่สภาพพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกล และชาวบ้านส่วนมากจะเป็นชาวเขา คนที่จะทำงานเรื่องนี้ต้องเป็นคนมีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะมีน้อย การสนับสนุนจากท้องถิ่นยังไม่มีบทบาทเท่าที่ควร และหน่วยงานยังต่างคนต่างทำ จึงไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน เจ้าหน้าที่ต้องรอคำสั่ง ถึงจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการให้ความรู้ แต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่เริ่มจาก ศูนย์พัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่มีต้นแบบอยู่ที่ 3 ตำบล และขยายพื้นที่อีกหลายตำบล ใช้เวลาแลกเปลี่ยนจนเลยเวลาทานอาหารกลางวัน ไป 12.30 น. จึงเป็นเวลาอันสมควรที่วิทยากรต้องเดินทางกลับลำปาง (เถิน)

เหนื่อยแต่ก็มีความสุขที่ได้เผยแพร่ให้ผู้ไม่รู้ ได้รู้ ผู้ที่อยากทำได้เริ่มต้น ผู้ที่อยากช่วยก็เริ่มเห็นทิศทาง

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

หมายเลขบันทึก: 422607เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2011 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท