ศาสตร์แห่งการเลือกใช้คน


นายชั้นยอดเลือกครูเป็นผู้ช่วย

ศาสตร์แห่งการเลือกใช้คน       

            ได้อ่านคอลัมน์ ชักธงรบ ของ กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ หนึ่ง กล่าวถึง ศาสตร์แห่งการเลือกใช้คน บทที่ว่าด้วยการประเมินบุคลากร กล่าวว่า 

                คนปกติช่างพูด  หยาบคาย เป็นที่เอือมระอา ควรใบ้ให้ไปสกัดโจรผู้ร้ายตามด่าน เพื่อขจัดเภทภัย คนชอบว่างอำนาจ ชอบมีเรื่องราว นอนดึกตื่นเช้า เหนื่อยยากก็ไม่บ่น เป็นได้แค่ ทัพของภรรยา

                คนไม่มีความลับ แจ้งล่วงหน้าในเรื่องที่ต้องสอบค้น ใจอ่อน ดีงาม ตักเตือนและให้กำลังใจผู้อื่นกลับตัว ซื่อสัตย์ ใจกว้าง พูดน้อย สงบเสงี่ยม ถึงคราวแบ่งปันสิ่งของ จะเฉลี่ยให้อย่างเท่าเทียม  ได้เป็นแม่ทัพของคนสิบคน

                คนที่ต่อหน้าเบื้องบน ช่างเจรจาประจบ แสร้งเคารพ ต่อหน้า เบื้องล่าง ไม่ฟังคำเตือนที่หวังดี เอะอะก็ลงโทษทัณฑ์ ถึงขั้นเลือดตกยางออก แม้เป็นญาติก็ไม่ไว้หน้า เป็นได้แค่แม่ทัพคนร้อยคน

            คนชอบเอาชนะการโต้แย้ง ชอบแสดงความเข้มแข็ง ชอบอาฆาตมาดร้ายคู่อริ ชอบลงทัณฑ์ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในระเบียบวินัยและเชื่อฟัง คนประเภทนี้เป็นได้แค่แม่ทัพของคนพันคน

                คนพูดน้อย ละเอียดรอบคอบ สนใจชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจความทุกข์ยากของเบื้องล่าง คนประเภทนี้เป็นแม่ทัพของคนหมื่นคน

                คนที่ดูหวั่นไหว คล้ายยืนอยู่ริมหน้าผาเหวลึก  คล้ายย่ำบนธารน้ำแข็งบาง นับวันยิ่งสุขุมรอบคอบมากขึ้น สามารถเข้าถึงปัญญาชนและอัจฉริยบุรุษ รับฟังความคิดผู้อื่น สันทัดในการปฏิบัติตาม รู้จักใช้คน ไม่ยโสโอหัง ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุ่มเทกายใจ ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ คนประเภทนี้เป็นแม่ทัพของคนแสนคน

                คนที่อ่อนโยน ดีงาม เคร่งมรรค  มีเจตจำนงแน่วแน่ พบปราชญ์คิดสนับสนุน ยึดมั่นในนิติธรรม เที่ยงตรง ไม่ปรักปรำผู้อื่น คนประเภทนี้เป็นแม่ทัพของคนล้านคน

                ผู้มีเกียรติคุณเลื่องลือ พำนักอยู่ในพระราชวังโอฬาร กลับคนหาสามัญชนได้โดยไม่รังเกียจ รักษาสัจจะ ใจกว้าง รู้จักให้อภัย รู้แจ้งในศาสตร์แห่งผู้นำ ทำเรื่องยากให้ลุล่วง เมื่อเผชิญสถานการณ์คับขันก็พลิกจากแพ้เป็นชนะได้

รู้ดาราพยากรณ์ ชำนาญภูมิประเทศ สามารถทำให้ราษฎรทั่วแผ่นดิน ยินดีปรนนิบัติรับใช้ นี้คือ  กษัตริยราช แบบฉบับวีรบุรุษโดยแท้

                ในตอนหนึ่งกล่าวว่า    ผู้มีสิติปัญญาดั่งต้นธารประพฤติตนเป็นแบบอย่างดีงามแก่คนทั้งปวง ผู้นั้นเป็นครู มีสติปัญญาสามารถให้คำปรึกษาและให้กำลังใจผู้อื่น ผู้นั้นเป็นสหาย  ยึดมั่นในนิติธรรม รักษาหน้าที่ ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ผู้นั้นเป็นข้าราชการ ผู้ที่นายว่า ว่าตาม ผู้นั้นเป็นทาส

                ด้วยเหตุนี้ นายชั้นยอดเลือกครูเป็นผู้ช่วย นายชั้นกลางเลือกสหายเป็นผู้ช่วย นายชั้นต่ำเลือกข้าราชการเป็นผู้ช่วย และนายที่ใกล้พินาศ เลือกทาสเป็นผู้ช่วย

                จากหลักการดังกล่าวนี้หากผู้ใดจะเลือกเป็นเจ้านายแบบไหนหรือลูกน้องแบบไหนก็ลอกเลือกดูให้เหมาะสมก็แล้วกัน

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์ึ7
หมายเลขบันทึก: 422327เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2011 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท