เครื่องมือปฏิบัติธรรม


เครื่องมือปฏิบัติธรรม

เครื่องมือใช้ปฏิบัติธรรม คือ 5 ข้อห้าม 38 ข้อให้


     ศีล 5 ชาวพุทธที่โตแล้วทุกคนควรท่องได้ ส่วนจะเข้าใจ ทำได้กี่ข้อ ก็ลองตรวจสอบดู และมงคลชีวิต 38 ข้อ
1. ไม่คบคนพาล ( คบ คือการพูดคุยกัน เกินกว่า 5 ประโยค พาลคือคนที่ไม่รู้ ผิด ถูก ชั่ว ดี บาป บุญ คุณ โทษ )
2. ให้คบคนดี ( อย่างน้อยต้องรู้จักรักตนเอง รักพ่อแม่ )
3. บูชาสิ่งที่ควรบูชา ชาวจีนจะ
. บูชาฟ้าและดินก่อน เพราะไม่ว่าจะไปที่ใด ก็เสมือนอยู่บนดิน และใต้ฟ้า จะทำอะไร แม้ไม่มีใครรู้ ใครเห็น แต่ฟ้าดินก็รู้ (ให้รู้จักกลัวบาป) และ
. บูชาบรรพชน ยกย่อง นับถือดุจเทพเช่นวีระบุรุษ วีระสตรี ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต กตัญญูรู้คุณ เสียสละ มีเมตตาสูง กล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร เช่นเจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ ปลูกฝังให้ลูกหลานได้ซึมซับ ความเป็นบุคคลตัวอย่างที่ดี เตรียมพร้อมที่จะเป็นบรรพชนที่มีคนกราบไหว้บูชาได้อย่างเต็มใจ ในรุ่นต่อ ๆ ไป
. พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ผู้ที่มีพระคุณ ก็คือ บุคคล ที่เราควรให้ ความเคารพรัก นับถือ กราบไหว้ บูชาเช่นกัน ( ที่เหลือ อีก 35 ข้อลองหาอ่านดู ) ถ้าเน้นมงคลไปใส่วัตถุหมด จะได้
. วัตถุมงคล ( แต่ชีวิตจะไร้ มงคล )
. ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ ก่อนการสร้างกรรมต่างๆ ( คิด พูด ลงมือทำ ) คือ
. สว่าง
. สอาด
. สงบ
. สมาธิ
. สติ
. ปัญญา
. เรียนรู้ ( ฟัง อ่าน ถาม เขียน คิด )
. สร้างทางเลือก
. ตัดสินใจ
. ลงมือทำ
. วิเคราะห์ แก้ไข
. วิจัย
. พัฒนา


โดยมีหลักธรรม ( ความดี ) เป็นแนวทาง และหลักชัยของชีวิต


. สว่าง คือเห็นชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่มองผิดเป็นถูก เห็นอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่าง
. สะอาด เป็นความสะอาดระเบียบ ทั้งสถานที่ สิ่งแวดล้อม จิตใจ เมื่อมองดู เห็นเป็น ลานเดียว ตู้เดียว กลุ่มเดียว ฯลฯ สมองไม่ต้องทำงานสับสน ไปสู่สมาธิง่าย
. สงบ คือ สงบที่ใจ หรือ สิ่งแวดล้อมที่สงบ จะช่วยให้ใจสงบง่ายขึ้น
. สมาธิ มีผู้คิดค้นหลายร้อยวิธี หลายรูปแบบ วิปัสสนา กรรมฐาน กำหนดลมหายใจ เดิน จงกลม การสวดมนต์ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ) ก็ช่วยให้เกิดสมาธิได้ และฯลฯ จะนั่ง นอน ยืน เดิน วิ่งสมาธิ ทำงาน เรียน เล่น หากจิตนิ่งได้ไม่วอกแวก เรียกสติได้เร็วแสดงว่ามีสมาธิดี การทำสมาธิทุกวิธี คือการหยุดพัก อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง เครียด เกลียด กลัว ฯลฯ เพื่อให้ เกิดความ โล่ง ว่างในจิตใจ ให้
. สามัญสำนึก ( คิดได้เอง แบบไม่ถูกผสม ปรุงแต่งด้วยอารมณ์ ความคิดพื้นฐาน ธรรมดา ปัญญาหลักเบื้องต้นเสมือนโปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป เช่นการหากิน นอน ถ่าย สืบสายพันธุ การอยู่อาศัย ป้องกันหนีภัย ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ) ได้ทำงานเองบ้าง ( เป็นภวังค์ คล้าย ๆ ความฝัน หลายครั้งจะทำให้เกิดความคิดช่วยคลายปัญหา หลบภัยได้เอง ฯลฯ ) เมื่อจิตใจโปร่งใส ไม่ขุ่น ไม่หนัก ไม่แน่น ก็มี
. สติ ( การรู้ตัว ) ใช้เพื่อควบคุมอารมณ์ จากตันหา คือความอยาก และความกลัว ฯลฯ ให้มีเหลือน้อยสุด เมื่อใช้สติ ร่วมกับ
. ปัญญา ( ความคิด นึกข้อมูลเดิม จากที่เคยจำไว้ มาประมวลเพิ่ม ) และต้องตามด้วย
. หลักพุทธธรรม รู้ แยกแยะถูก ผิด ชั่วดี เลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้
. กรรม ( การกระทำ ด้วย การคิด พูด และการใช้อวัยวะต่างของร่างกาย ลงมือทำ ) จากธรรมมะปัญญา มีผลเป็น
. บุญ กุศล สั่งสมเป็น
. บารมี ( บุญสมทบ บุญสะสม ) ให้ลูกหลาน บริวาร ที่ปฏิบัติดี ได้เบิกใช้บารมีได้ ตามควร เมื่อบุตร ที่เคย
. บวชเรียน ( สมัยโบราณไม่มีโรงเรียน ครู อาจารย์ ) อ่านออก เขียนได้ รู้ ฝึกปฏิบัติธรรมเป็น แยก บาป บุญ คุณ โทษได้ มี
. ศีลธรรม ( ศีลคือข้อห้าม ธรรม คือข้อให้ ปฏิบัติ ) ฝังติดในจิตใจ มักทำแต่ความดี หลีก เลี่ยง ละเว้นการทำความชั่ว พ่อแม่ จึงหมดห่วง มีแต่ความสุขใจ เสมือนได้
. ขึ้นสวรรค์ ( กุศโลบาย ให้คนเห็นจากภาพ ให้ดูแตกต่าง ตรงข้ามกับภาพความเจ็บ ปวด ทุกข์ทรมาน จากนรก ผสมกับศิลปะ ชดเชยส่วนขาด นางฟ้าจึงต้องมีรูปร่างดี และ เปลือยอก เหาะเหินแบบนั่งลอยไป แบบสบาย ๆ ฝรั่งนอนเหาะ ลู่ลม ผมปลิว จีน เหาะแบบยืนบนเมฆ เน้นสง่างาม ไม่ต้องหุงหาอาหาร อิ่มทิพย์ ฯลฯ แล้วแต่จินตนาการ )
. ธรรมมะปัญญา ( ความดี+ความรู้คู่ความคิด ช่วยให้เก่ง และดี ) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ใช้คู่กับสติ เพื่อให้รู้ตัว อยู่ตลอดเวลา ว่า สิ่งที่ คิด พูด ทำ จะก่อให้ ตนเอง หรือผู้อื่น เป็น ทุกข์ เดือดร้อน กาย ใจ หรือไม่ เป็นการให้ ( ทาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ) หรือเป็นการเอา ( โลภ เห็นแก่ตัว การเบียดเบียน) มีผลทำให้ ผู้อื่น ตลอดจนสรรพสัตว์ อยู่ดี มีสุข หรือ ทุกข์เพียงไร และกรรม ( การกระทำ ) ต่าง ๆ มีส่วนผสมของศีลธรรม มากน้อยเพียงไร หัวข้อหลักธรรมนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
. ขั้นอนุบาล ต้องมี รูป ภาพ อุปกรณ์ พิธีกรรม
. กุศโลบาย ( อุบาย+กุศล ) นิทาน มากหน่อย ( แต่ระวังอย่าเพลินกับอุปกรณ์ หรือพิธีกรรมมากเกินไป อย่าให้ความอยากนำ จะหลงทิศผิดทาง ) ถ้าถึง
. ขั้นอุดม ( มหาวิทยาลัย ) มักไม่ได้ใช้พิธีกรรม อุปกรณ์เสริม ฯลฯ มากนัก ลองสังเกตุดู จะรู้ ว่าใคร อยู่ระดับไหน เราจึงต้องไป
. วัด กันบ่อย ๆ เพื่อ "วัด" ความก้าวหน้าทางธรรม กับตนเอง ที่ผ่านมา และ "วัด" กับผู้อื่น ว่า เรามีหลักธรรม ได้ใช้
. ประโยชน์ธรรม ( จากทรัพย์สินทางปัญญา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ) มาก น้อย เพียงไรเพื่อนำไปใช้ "วัด"
. ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ที่เป็นประโยชน์ต่อ ครอบครัว ถึงสังคมประเทศ ต่อสิ่งแวดล้อมโลก อย่าให้
. ค่าของมูล ( มูลค่า ) มากกว่า
. ค่าของคุณ ( คุณค่า คุณภาพ คุณประโยชน์ ) บางคนมุ่งเน้นศึกษาโดยเริ่มที่ประวัติพระพุทธเจ้า จึงกลายเป็นเรียนประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งเป็นนักวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นนักปรัชญาไป
. พอเพียง คือ การจัดหา รวบรวม หรือนำทรัพยากร ที่มีอยู่แล้ว เช่นที่ดิน แหล่งน้ำ พันธุพืช สัตว์เลี้ยง เครื่องมือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด พัฒนา ฯลฯ มาผสมผสาน ลงมือทำให้สอดคล้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเต็มที่ กับบุคคล อาชีพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็จะมีกิน มีใช้ได้อย่าง พอเพียง ยั่งยืน ส่วนที่เกินพอ จะนำไปแบ่งปัน แลกเปลี่ยน หรือขาย ก็ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน
. ใช้ทุกอย่างเท่าที่มีอยู่ หรือจะจัดซื้อ จัดหาเพิ่มเติม เท่าที่จำเป็นจริง ๆ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านดี ได้กว้าง ได้มาก เท่ากับเข้าใจ และใช้หลักพอเพียงเป็นแล้ว ( ไม่ใช่ 30 50 ไร่ ตามตัวอย่างในพระราชดำรัส พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ) ไม่มีที่ดิน ไม่ทำเกษตร ก็ใช้ทฤษฎีพระราชทานนี้ได้ ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงค์ชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน ( ไม่คุ้มทุน ถ้าไม่มีความสามารถในการทำกำไรอย่างสูงด้วยการผูกขาด เพราะต้นทุนต่าง ๆ ถูกบวกกำไรมาก หลายทอด ดอกเบี้ยแพง และ คอยกัดกินทุนตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด ) อย่าให้ค่าของมูล (มูลค่า) มากกว่าค่าของคุณ (คุณค่า) มี 100 บาท 1,000,000 บาท หรือแสนล้าน ก็มีสุข มีทุกข์ผสมปนอยู่เหมือนกัน สุขทุกข์อยู่ที่บุญและะบาป จากการทำดี หรือทำเลว ไม่ใช่อยู่ที่ปริมาณของเงิน วัตถุ ทรัพย์สิน สิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าโลกาจะอภิวัฒน์ขนาดใด ปัจจัย5 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่แท้จริงของมนุษย์เหมือนเดิม
"พอเพียง" จึงเหมาะกับทุกสาขา อาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาลสมัย ทุกประเทศทั่วโลก อีกข้อ สำคัญ
. ความจน นอกจากไม่เคยทำร้ายใครแล้ว จุดเกิดอัจฉริยะเอก และ ทุกภูมิปัญญาท้องถิ่น นวรรตกรรม การพัฒนา ในทางที่ดีงาม มีคุณค่า คุณประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ และ สรรพสิ่งในโลก ล้วนเกิดจาก บุคคลที่ไม่ร่ำรวยวัตถุทั้งสิ้น ( มารวยภายหลัง ) เพียง ควรความกลัว "จนปัญญา" มากกว่า
. รู้จักพอ ก็เป็นสุข หากไม่รู้จักพอ ไม่เคยพอ เท่าไรก็ไม่พอ แม้มีทรัพย์กี่แสนล้าน ก็ต้องทุกข์ ทรมานตลอดไป ไม่สิ้นสุด การกินไม่ได้ นอนไม่หลับ สุขภาพเสื่อมถอย ก่อนวัยอันควร ก็เปรียบดั่ง นรก เช่นกัน
. การฝันคือการที่ สามัญสำนึก และ
. จิตนอกสำนึก ( จิตที่ทำงานได้เอง โดยอัตโนมัติ หลังจากผ่านการฝึกฝนมาแล้วจนชำนาญ เช่นกิน เดิน ฯลฯ จนเป็นนิสัยถาวร ) ทำงานร่วมกัน
. ปลุกให้ร่างกายตื่น เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ขณะนอนหลับ เช่นนอนกดทับเส้นเลือด ปวดปัสสาวะ หิวจัด หนาวจัด ฯลฯ โดยการนำเรื่องราว ที่เคยได้พบ อ่าน ฟัง จากความจำ มาสร้างผสมกันเป็นเรื่องราว ทั้งเรื่องทางดี และทางร้าย น่ากลัว น่าเกลียด ตื่นเต้น ฯลฯ เปลี่ยนเรื่อง ผสมกันไปเรื่อย ๆ หลายสิบเรื่อง เรื่องที่ปลุกให้ตื่น และจำได้ คือเรื่องที่เราเคยให้ความสำคัญมากที่สุด มีทั้งดีใจ เศร้า เสียใจ ตกใจสุด ๆ ( โรคไหลตาย หรือหลับตายในรถ ร่างกายอาจได้รับสารพิษ อากาศพิษ อ่อนเพลียมาก ส่วนหนึ่งเลือดข้นมาก เพราะขาดน้ำ เมื่อความฝันปลุกไม่ตื่น ขาดอ๊อกซิเจน หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เซล์ลสมองตาย สั่งการไม่ได้ทั้งระบบ จึงเสียชีวิต ) ส่วน
. จิตในสำนึก ( ซึ่งมักเป็นเรื่องใหม่ ทั้งดี และเลว ต้องตั้งใจ ตั้งสติ ให้รู้ตัว ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ใช้พลังงานในการสั่งการมาก จึงมักรู้สึกอ่อนเพลีย มากกว่าปกติ เช่นฝึกขับรถใหม่ ๆ ฝึกว่ายน้ำ ฯลฯ ) จิตในสำนึก จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หากเราทำซ้ำ จนเกิดความเคยชิน ชำนาญจะทำให้
. จิตนอกสำนึก สร้าง อัตโนมัติ ทำได้โดยไม่ต้องใช้จิตสั่งทั้งระบบ เป็น
. นิสัยถาวร ( สันดาน ) ต่อไป จนกว่าจิตในสำนึกจะสามารถสร้างนิสัยถาวรใหม่มาทดแทน
. การสูบบุหรี่ พิษภัยมากกว่า 4 พันรายการ แต่ไม่ได้ทำให้ผู้เสพชัก ตาย เดี๋ยวนั้นทันที กว่าจะมีอาการรู้สึกรับไม่ได้ เจ็บ ปวด อึดอัด ทรมานสุด ๆ มักสายเกินไป ส่วนใหญ่การตรวจพบ จะอยู่ในช่วงที่ปอด ถุงลม เหลือสภาพใช้งานได้ไม่ถุง30 % เพราะความดีของระบบการทำงานอวัยวะภายในในร่างการมนุษย์ ที่ปรับสภาพ เสริมสภาพได้อย่างอดทนมาก ๆ ๆ ยอมถูกทำลายแบบไม่ฟ้อง จนถึงนาทีสุดท้าย
. การออกกำลังกายที่ดี การนอนหลับสนิท การได้กินอาหาร-น้ำที่ดี อากาศดี ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ผลบุญทำให้อารมณ์แจ่มใส ฯลฯ จะมีการหลั่งสารสุขตามธรรมชาติ ทำให้เกิดพลังกาย พลังใจเต็มเปี่ยม ผิวดี หน้าตาสดชื่นแจ่มใส การทำสมาธิ ให้จิตว่าง การมีวินัย ความเคยชินที่ดี ช่วยลดการใช้พลังจิต จึงไม่อ่อนเพลีย หรือเกิดอาการอยากเสพสารสุขมากนัก
. การเสพสุขแบบบังเอิญ เช่นการกินอาหารที่มีสารระคายเคือง เช่นพริก มะนาว ร้อนจัด เย็นจัด ฯลฯ หรือได้รับสารพิษต่าง ๆ ทำให้ร่างการต้องปรับตัวเพื่อต่อต้าน ทำลายพิษ โดยการขับสารสารหลายชนิด เพื่อย่อยสลาย ทำลาย รวมถึงหลั่งสารสุขเพื่อช่วยลดอาการระคายเคือง เผ็ด ร้อน เจ็บปวด คัน ต่าง ๆ
. สารเสพติด ทุกประเภท เช่นหมากพลู ชา กาแฟ กัญชา ฝิ่น ยาบ้า เหล้า เบียร์ บุหรี่ เสพบุญปลอม เสพคำยกยอ ละครน้ำเน่า โฆษณาหลอกลวงฯลฯ ทำให้เกิดการหลั่งสารสุขแบบถูกบังคับ ตามปริมาณ สารพิษ ภาพ วาจาเคลือบพิษนั้น เป็นสารสุขแบบมักง่าย ทำลายร่างกาย จิตใจทุกด้านมากกว่าสารสุขที่ได้รับ จึงเกิดการขาดดุลย์ เมื่อเสพบ่อยจะเกิดความเคยชิน เกิดการเสพติด ร่างกายปรับสภาพเสมือนเป็นส่วนหนึ่งจนขาดไม่ได้ ลด ละ เลิกไม่ได้ เพราะพลังกาย พลังใจถูกทำลายจนอ่อนแอ ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจ ใฝ่ดี มีพลังจิตใจเข้มแข็งมั่นคงจริงจัง จึงจะสามารถเอาชนะได้แบบถาวร รวมถึงพิษภัยของการดื่มเหล้า ความหายนะจากการเล่นการพนันทุกประเภท ที่มีมูลค่าความสูญเสียทั้งชีตวิตและทรัพย์สินมากมายมหาศาล แม้บางข้อจะไม่มีใน ศีล 5
แต่ถ้าเราสามารถเข้าถึงขั้นปัญญา คิดออก แยกเป็น เลือกได้ ห้ามใจอยู่ ย่อมเป็นเสมือนเกาะป้องกัน กรรมเลวต่าง ๆ ไม่ให้เกิดกับเรา กับคนที่เรารัก และคนใกล้ชิดที่ติดเชื้อความดีไปด้วย
. สงคราม อาชญากรรม ทั้งหมด ปล้น จี้ ตี ชิง ข่มขืน ฆ่า วางเพลิง การพนัน ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ทุจริต คดโกง ลวงทรัพย์ เสพติดเงินทอง และ อำนาจ ฯลฯ ฉ้อราษฎร์ บังหลวง รวมถึงเรื่อง
. อัปมงคล ( ไม่เป็นมงคล ) ต่าง ๆ ล้วนเกิด จากโรค
. ขาดธรรมะ ทั้งสิ้น
. ผู้นำ ผู้ใหญ่ กระแสสังคม สื่อภาพ เสียง สิ่งพิมพ์ สิ่งแวดล้อม พระสงฆ์ ครู อาจารย์ วิชาการ ความรู้ หลักธรรม ฯลฯ ล้วนมีอิทธิพล ต่อการรับรู้ ในการปลูก ฝัง จิตสำนึก ของทุกผู้คน โดยเฉพาะ เด็ก เยาวชน หากทุกคน มีพุทธธรรมที่แท้จริง
. ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ ใช้ความรู้ สติ ปัญญา คิดแยก ถูก ผิด บาป บุญ คุณ โทษ ฯลฯ ได้ เลือกทำเป็น แก้ปัญหาได้คิด พูด และ ทำ ในเรื่องดี กรรมที่เป็นบุญ กุศล จากการทำความดีนั้น จะส่งผลให้เกิด สันติสุข ในทุกสังคม ของ มนุษย์ ได้อย่างถาวร
. เป้าหมาย ธรรมมะ ของทุกศาสนา มีจุดหมายคล้าย ๆ กัน คือให้ทำดี อย่างต่อเนื่อง แตกต่างที่ขั้นตอน พิธีกรรม ที่ทำให้มีสติ รู้ และใช้ปัญญา ศรัทธาทำในสิ่งดี ๆ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุข ต่อ ตนเอง และมวลมนุษย์ชาติ และสรรพชีวิตในโลก เพื่อสันติภาพ สันติสุข ที่แท้จริง ตลอดไป
. ถ้าไม่รีบวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งโรคให้เจอ และรีบรักษาให้ทันเวลา โดยความร่วมมือ ของทุกฝ่าย เมื่อหลายโรคแทรก รุมเร้า ยากที่จะเยียวยา รักษา ถึงเวลานั้น อัจฉริยะหมอสุดยอด เก่งกาจเพียงไร ก็ยากที่จะรักษาให้รอดได้ และ
. ความทุกข์ ยาก แสนเข็ญ ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงหาทางดับให้แล้วนั้น จะยิ่งกระจาย ความเดือดร้อน แพร่ระบาด มากมาย รวดเร็ว และทั่วถึง เกินกว่าที่
เคยคาดคิด


ที่มา: พุทธธรรม ในมุมมองด้วยความปารถนาดี
กิจศิริ เลิศบุญสุข ปรับปรุง ๕ ธค. ๒๕๕๐

คำสำคัญ (Tags): #กศน.ตำบลโคกม่วง
หมายเลขบันทึก: 421945เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2011 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หากคุณชอบบทความนี้

ดู "ประโยชน์ธรรมในคำกลอน"

ต่อที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3439

ให้ข้อคิดดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท