การบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 หรือการปฏิบัติงานตามมาตรฐานใดๆ ก็ตามการที่จะทำให้เกิด การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีมาตรฐานเดียวกันได้นั้นจำเป็นจะต้องจัดทำมาตรฐานที่เป็นเอกสาร (ลายลักษณ์อักษร) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติอย่างมีมาตรฐาน ดังนั้นการจัดทำเอกสารมาตรฐานในระดับต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานจะต้องมีการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ระบบการควบคุมเอกสารและบันทึก มีความสำคัญและจำเป็นที่ต้องจัดทำขึ้น เพื่อให้การบริหารงานตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 มีมาตรฐานที่จัดทำเป็นเอกสารมีความถูกต้องทันต่อสถานการณ์พร้อมใช้งาน สอดคล้องกันทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานอย่างมีคุณภาพขององค์กร
ดังนั้น การจัดทำระบบการควบคุมเอกสารและบันทึก จึงมีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001 หรือมาตรฐานการบริหารงานอื่นๆ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร หรือผู้ช่วยพึงมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001 ถูกพัฒนาขึ้นเป็นระบบมาตรฐานสากลเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ ให้บริการได้จัดตั้งและรักษาระบบการจัดการด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยมาตรฐานนี้เกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการให้บริการ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม บริษัทจำเป็นต้องมีความตระหนักและเป้าหมายที่ชัดเจนรวมทั้งหลักฐานของระบบ การจัดการที่มีประสิทธิผล เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการเตรียมตัวตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการด้านคุณภาพถูกนำไปใช้ในองค์กรอย่าง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ใบรับรองมาตรฐานนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็น countermeasure สำหรับแก้ปัญหาเกี่ยวกับ product liability ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001:2000 ประกอบด้วย 8 หัวข้อหลัก
1. การมุ่งเน้นลูกค้า
2. ความเป็นผู้นำ
3. การมีส่วนร่วมของบุคคลากร
4. การเข้าถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบ
5. การจัดการระบบ
6. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
7. การตัดสินใจบนข้อมูลที่เพียงพอ
8. ความสัมพันธ์ในเรื่องผลประโยชน์กับผู้รับเหมาหรือผู้ขาย
การบริหารจัดการด้านคุณภาพนี้ใช้หลักการบริหาร 8 ประการซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
บริษัทต่างๆทุกวันนี้มีหน้าที่จะต้องรักษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในชุมชนของ ท่านและทั่วโลกโดยการจัดทำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางใน การประกอบธุรกิจ ทุกวันนี้ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นระบบซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ โดยระบบมาตรฐาน ISO 14001 มีการกำหนดโครงสร้างขององค์กรและความรับผิดชอบที่มีความจำเป็นในการบริหาร จัดการให้บรรลุตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท นอกจากนี้ระบบ ISO 14001 จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงและต้องมี การนำไปปฏิบัติในทุกระดับขององค์กร
ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับรองระบบมาตรฐาน ISO 14001 มีดังนี้
องค์ประกอบของระบบ ISO 14001
ภาพรวมของการตรวจประเมินระบบมาตรฐาน ISO 14001 ระยะที่ 1 และระยะที่ 2
ระยะที่ 1 – การตรวจสอบทางด้านเทคนิค รวมทั้งการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ
การตรวจสอบทางเทคนิคมีจุดประสงค์เพื่อให้กิจกรรมในหน่วยงานนั้นๆตรงตาม เป้าหมาย ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้จะถูกประเมินและตรวจสอบ
1. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
2. การตัดสินใจขององค์กรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
3. ภาพรวมของระเบียบข้อบังคับต่างๆ
4. คู่มือและระเบียบการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
5. ขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
6. ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ
7. การกำหนดเทคนิคที่สำคัญต่างๆ
8. การพิจารณาเหล่านี้จะต้องทำที่สถานที่จริง หากไม่ได้ทำ ณ สถานที่นั้นการตรวจรับรองจะไม่สามารถทำได้ ซึ่งการเข้าไปตรวจสอบทางด้านเทคนิคจะมีการดำเนินการในระหว่าง 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือนก่อนการตรวจรับรอง
ระยะที่ 2 – การตรวจรับรองระบบ
การตรวจรับรองนี้จะรวมถึงการพิจารณาทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับระบบ ISO 14001 และกระบวนการดำเนินการในแต่ละองค์กร ซึ่งการตรวจสอบนี้ทำขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด ต่างๆ ลูกค้าจะได้รับการแจ้งผลการตรวจสอบในการประชุมครั้งสุดท้ายและในระหว่างการ สรุปการประชุม ลูกค้าจะต้องแสดงรายงานการตรวจสอบและแสดงผลและความคลาดเคลื่อนซึ่งอาจเกิด ขึ้นได้ การสิ้นสุดการตรวจสอบจะต้องไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หรือหากมีเล็กน้อยก็จะได้รับคำแนะนำจากผู้ตรวจสอบ
อ้างอิง
http://www.pimtraining.com/wizContent.asp?wizConID=291&txtmMenu_ID=7
http://www.tuv.com/
ไม่มีความเห็น