ความผิดพลาดในการทดลอง


การทดลองที่ผิดพลาด ไม่รัดกุม การนำเสนอผลการทดลองที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผลงานออกมาไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือ

สวัสดีครับ

วันนี้ผมขอนำเสนอภาพบางส่วนจากการทดลองที่ไม่รัดกุม วัตถุประสงค์ของการนำเสนอหัวข้อนี้ คือ ต้องการแสดงข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการทดลอง มาทำให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขและพัฒนาต่อไป 

 

 

ความผิดพลาด ความบกพร่อง ผมเองถือว่าเป็นครูที่ดีประเภทหนึ่ง ให้เก็บเอาไว้ดูเป็นตัวอย่าง แล้ว อย่า ทำตามตัวอย่างที่ผิดพลาดเหล่านั้น 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างการสรุปผลการทดลองที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์ คือ ต้องการเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระยะทางระหว่างหลอดเอกซเรย์ วัตถุ และฟิล์มว่ามีความแตกต่าง หรือ ความสัมพันธ์กันอย่างไร?

 

 

 

ในภาพ... ท่านเห็นว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่?ระหว่าง ภาพที่ 1 และ ภาพที่ 2

 

 

 

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

จะเห็นว่า...

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

1. การวางแบบจำลองในลักษณะที่แตกต่างกัน (ภาพวัตถุที่อยู่ในแบบจำลอง อยู่ในตำแหน่งต่างกัน) ผลกระทบ Heel effect จากหลอดเอกซเรย์ อาจส่งผลต่อความดำของภาพแตกต่างกัน

 

 

2. ความดำ (Density) ของภาพ มีความแตกต่างกัน เนื่องจากตั้งค่า Exposure Factor ไม่เหมาะสม ทำให้การมองดูรายละเอียดของภาพที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน ทำให้เปรียบเทียบยากขึ้น

 

 

3. ความเที่ยงตรงของแนวของลำแสงเอกซเรย์ (Alignment) อาจส่งผลต่อความบืดเบือนของภาพวัตถุที่ใช้เปรียบเทียบ

 

 

จากตัวอย่างเหล่านี้ ถือว่าเป็น ตัวแปร ที่ทำให้คุณภาพของภาพมีความแตกต่างกันออกไป

 

 

ดังนั้นในการทดลอง เพื่อต้องการทำให้เกิดผลการทดลองที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ต้องพยายาม ลดตัวแปร(หรือควบคุมตัวแปร) ที่เกี่ยวข้องให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้ (หรือจัดให้อยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันกัน) เพื่อให้สิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบอยู่ในสภาพที่เหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด

 

 

 

เพิ่มเติม

 

การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการทดลอง หากต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่าง เมื่อใช้ FFD และ OFD แตกต่างกัน  ในภาพแสดงเป็นตัวเลขเพียงอย่างเดียว

 

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำ :

ถ้าได้นำภาพของ Linepair/mm แสดงให้เห็นด้วย จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชัดเจนและเห็นภาพสอดคล้องกับข้อมูลมากขึ้น เพราะบางคนอาจจะไม่ทราบว่าตัวเลขที่บอกว่ามีกี่ Line pair/mm มีความแตกต่างกันอย่างไร

  

ตัวอย่าง 

ตารางแสดงจำนวนรายเส้นที่มีขนาดเล็กใหญ่ที่สอดคล้องกับตัวเลขที่แสดงไว้

 

 

สรุป

การเปรียบเทียบระหว่างสิ่งต่างๆที่สนใจ ควรควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาวะคล้ายๆกัน ใกล้เคียงกันมากที่สุด

 

 

 

ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการทดลองแต่ละครั้ง เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ เพื่อกำจัดหรือลดความผิดพลาดในครั้งต่อไป

 

 

 

   

ผิดเป็นครู ถูกก็เป็นครู

รู้ผิด รู้ถูก รู้ผูก รู้แก้ 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 421468เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2011 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับที่อาจารย์ให้คำชี้แนะ สงสัยอาจารย์ต้องให้ออกไปนำเสนอมากๆ เพราะบางที่เราไม่ได้นึกถึงสิ่งที่คาดไม่ถึง กำลังไปให้ความสนใจในรายละเอียดด้านอื่นๆ โดยคิดไม่ถึงครับ

ขอบคุณครับที่อาจารย์ค่อยให้คำชี้แนะอยู่ตลอดเวลาผมจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

ขอบคุณมากๆ ครับอาจารย์ ได้ความรู้มากครับ กลุ่มของพวกเราจะปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท