โพชฌงค์กับการจัดการความรู้ ( ตอนที่ ๕)


อนุตรวิมุตติ

อนุตรวิมุตติ

การหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม

 ๑.     โยนิโสมนสิการ – การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือการทำไว้ในใจอย่างดียิ่ง หรือ การทำนิมิตรหมายไว้ในใจอย่างฉลาด

๒.     โยนิโสสัมมัปปธาน -  ทำความเพียรอันนั้นอย่างยอดยิ่ง

เอกายมัคโค

            ทางสายเอก ทางที่เป็นหนึ่งที่มุ่งตรงสู่พระนิพพาน หรือ ธรรมธาตุ นั้นคือ การพิจารณา กายในกาย หรือกายย่อยในกายใหญ่ ในสติปัฏฐาน ๔ เพราะสิ่งที่เรายึดมั่นหมายมั่นในทุกๆสิ่งนั้นเกิดจากเรา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ เกิดจากวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางอายตนะทั้ง ๖) เราก็ไปยึดมั่น จากวัตถุรูป นาม ภายนอกบ้าง ภายในบ้าง เพราะฉะนั้นในการพิจารณา เราก็ทำนิมิตไว้ในใจ ให้ร่างกายเรานี้ เป็นเพียงเม็ด        อัตตาหนึ่ง สิ่งที่เราได้เห็น ได้ยิน  หรือรู้ได้นั้นก็เป็นอัตตา          หนึ่งเท่านั้น   เราก็เพียรทำเรื่อยไป เมื่อมันเหมือนกันแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ ป่าไม้ ภูเขา แสงแดด ทะเล มหาสมุทร ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ไม่มีราคาสำหรับเรา เราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น มันก็ปล่อย เกิดวิมุตติขึ้นมาในใจทีละเล็ก ทีละน้อย ทำเรื่อยไปเหมือน หยดน้ำลงแก้ว พอเต็มเมื่อไร ก็จะเกิดสัญญาณขึ้นมีแสงแว๊บ ซึ่งเป็นลักษณะของผัสสะทางใจขาด ใจเข้าสู่ความเป็นกลาง จากนั้น มันจะปฏิวัติตัวเอง ใจนี้จะสัมผัสกับนิพพาน ที่เรียกกันว่าเห็นพระนิพพาน แต่ไม่ได้เห็นด้วยตา แต่เป็นการที่ใจสัมผัสได้ จะมีข้อธรรมผุดขึ้นมา แล้วจะมีลักษณะเย็นรดใจ แล้วจะปฏิวัติตัวเขาเอง ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา มีสติปัญญาอัตโนมัติพิจารณาธรรมะที่ผุดอกมาตลอดเวลา ไม่มีกลางวันกลางคืน นิวรณ์ ๕ หายไปหมด มีแต่ความสุขเย็นใจ มีการพิจารณาธรรมตลอด(ธัมมวิจย) เองโดยตัวสังขาร(ร่างกาย)ภายนอกนี้ ไม่ได้บังคับหรือไปปรุงแต่งมัน

โพชฌงค์  ๗  --  องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้     มี

๑.     สติ - ระลึกรู้สึกตัวในการพิจารณษธรรม

๒.     ธมมวิจย -  คิดพิจารณาข้อธรรมที่ผุดขึ้นมา(ปฏิจจสมุปบาท)

๓.     วิริยะ - เพียรทำในการคิดพิจารณาไม่มีกลางวันไม่มีกลางคืน ติดต่อกันตลอดในช่วง ๗ วัน

๔.     ปิติ - มีความอิ่มใจ เย็นใจ สบาย

๕.     ปัสสัทธิ - สงบทั้งกาย มีลมหายใจอันละเอียด สงบทั้งใจ

๖.     สมาธิ - ใจตั้งมั่นต่อการพิจารณาธรรมนั้น

๗.     อุเบกขา -  ใจวางเฉยในอารมณ์ทั้งปวงที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

ที่ขอกล่าวเรียกขานว่า “ โพชฌงค์ในโลกุตตรภูมิเต็มขั้น ไม่มีเหนื่อย ไม่มีความเพีย ละเหี่ยใจ

รู้การกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวงในจักรวาลนี้ ที่เรียกว่า          “ สัพพัญญุตญาณ”

            “นิพพาน คือ ธรรมธาตุ ตามธรรมชาติ”     “ไม่ใช่อัตตา และไม่ใช่อนัตตาในความหมายตามโลก” แต่เป็นสภาวะหนึ่งที่อยู่เหนือโลกียภูมิ

คือเมื่อกำเนิดสรรพสิ่งมา (กาแลคซี่) มีสังขาร(มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง) มีนาม มีรูป

          ธาตุดิน       ธาตุน้ำ       ธาตุไฟ       ธาตุลม       วิญญาณธาตุ(จิตธาตุ)       อากาศธาตุ(สุญญากาศ) 

    รวมเรียกว่า       ธาตุ ๖

มีอนุภาค  รูปร่าง  มีตัวตน  ส่วนที่ย่อยเกิดขึ้นมาเรียกว่า  สุญญากาศ

 ๔  อย่างนี้  (ดิน น้ำ ไฟ  ลม) ที่สัมผัสได้ จัดเป็นรูป     ส่วนวิญญาณก็จัดเป็นนาม  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม ประกอบกันในส่วนที่พอเหมาะเกิดพลังงานอย่างหนึ่งที่เรียกว่า วิญญาณธาตุ หรือ จิตวิญญาณ

เพราะฉะนั้น นามรูป จะมี ๒ อย่างคือ

๑.     มีวิญญาณครอง ดิน น้ำ ไฟ ลม ผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม(พอเหมาะ)

๒.     ไม่มีวิญญาณครอง เป็นพวกสิ่งที่ไม่มีชีวิตต่างๆเช่น ภูเขา อากาศ แสงแดด ลม น้ำ ทะเล ฯลฯ

จิต เป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (พลังงานที่เกิดจากการเกิดรูปนาม หรือ สังขาร) ตั้งแต่คราวกำเนิดทุกสิ่งทุกอย่าง

ใจ เป็นที่รู้ที่สัมผัสได้ ที่ต่อ เมื่อเกิดนามรูปตัวนี้แล้วก็จะเกิดเป็นที่ต่อภพต่อชาติ ที่เรียกว่าจิตใจ พอมาเกิดในภพภพหนึ่งก็จะขยายแยกแตกออกเป็น เวทนา สัญญา สังขาร(ความคิด) นั้นคือ สังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นมา ส่วนอสังขตธรรม คือ พระนิพพานหรือธรรมธาตุ นั้นเป็นธรรมชาติที่ไม่มีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะไม่อยู่ในกฎพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ////  อยู่เหนือเหตุเหนือผล ของสิ่งทั้งปวง เพราะไม่เกาะติดยึดมั่นในสิ่งใด ปรากฏอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง/////

“ พระนิพพาน อยู่เหนือเหตุเหนือผลของสิ่งทั้งปวง ไม่เกาะติดยึดมั่นในสิ่งใด"

เมื่อต้มน้ำตาลเชื่อม มีสารละลายอยู่ในนั้น ซึ่งอนุภาคน้ำตาล นั้นไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในนั้น ทิ้งไว้ คือ กาลเวลาผ่านไป เกิดผลึก (รูป นาม ,ธาตุ ๖ ,สังขาร) 

             อนุภาคน้ำตาล                    อนุภาคน้ำตาล

                            จับกันเป็นก้อนผลึก                

อวิชชา หลงยึด ก็เป็นอาการหรือลักษณะอาการเข้าทำปฏิกิริยาสังขาร(ปันให้แก่กัน)การปรุงแต่งเป็นกิริยาการเกิดเป็นสัดส่วนรูปร่างต่างๆขึ้น เกิดเป็นผลึกต่างๆขึ้น

            เมื่ออยู่เหนือสิ่งใดอุปมาดั่งน้ำ ที่ไม่มีส่วนในการเกิดผลึก นั่นก็คือ พระนิพพาน

            เป็นส่วนที่ละเอียดที่สุด ทางดำเนินมีทางเดียวนั้นก็คือ มรรค   ก่อนอื่นต้องรู้จักตัวเราเสียก่อน คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง

            รูป-กาย ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ  - ย่อยไปอีกเป็น ธาตุต่างๆ เช่น คาร์บอน(C) ออกซิเจน(O) ไฮโดรเจน(H) ฯลฯ แต่ละธาตุก็ย่อยเป็นโมเลกุล เล็กลงไปอีกก็เป็น อะตอม(อัตตา) ซึ่สามารถคงตัวเป็นอนุภาคโดยตัวของมันเองได้

            เวทนา- ความรู้สึกต่างๆ เช่น กามตัณหา วิภวตัณหา ภวตัณหา ความพอใจ ความไม่พอใจ สุข ทุกข์ อทุกขสุข  ตามลำดับความหยาบละเอียด ปฏิฆะ กามราคะ

            สัญญา- ความจำได้หมายรู้ จำบุคคลได้จำสีต่างๆได้

            สังขาร- ความคิดปรุงแต่ง ให้เกิด เป็นอุปาทายรูป คิดดี คิดชั่ว ปนเปกัน

            วิญญาณ – ความรู้แจ้งทางอายตนะ ทั้ง ๖  ความรู้แจ้งอารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย ธรรมารมณ์นั่นเอง

ทั้งหมดนี้คือ รูป และนาม หรือ ปรมัตถสัจจะ (ความจริงอันสูงสุด)  เมื่อเรามีอุปาทานยึดมั่น ในใจอยู่ ก็เกิดสมมุติบัญญัติขึ้น (การที่ใจไปบัญญัติเอาเอง) ว่าของเราตัวเรา ตามสมมุติสัจจะ คือความจริงตามสมมุติมีตัวเรา พ่อแม่ บิดามารดา ภูเขา ต้นไม้ สิ่งต่างๆนั้นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว

            การพิจารณาต้องรู้จักในสิ่งเหล่านี้ เราจะละนั้น ก็คือ ละอุปาทานยึดมั่น ภายในใจ ในสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ไปละสมมติสัจจะ มันจะกลายเป็นหลงสังขารโดยไม่รู้ตัว เกิดวิปลาสขึ้นมา

กฎพระไตรลักษณ์(สามัญญลักษณะ) หรือกฏธรรมชาติ

๑.     อนิจจัง ความไม่เที่ยง ปรวนแปรตลอดเวลา

๒.     ทุกขัง สภาพทนนิ่งอยู่ไม่ได้ สภาพทนได้ยากลำบาก

๓.     อนัตตา ความไม่ใช่อยู่เป็นสภาพตัวตนของเราของใคร หรือเป็นตัวเป็นตนในสภาพนั้นๆ

### พิจารณาในไตรลักษณ์เพื่อไม่ยึดมั่นในตัวตนและสิ่งทั้งหลายทั้งปวง###

สังโยชน์ ๑๐

๑.     สักกายทิฏฐิ – ความเห็นแก่ตัว เห็นว่าขันธ์ ๕  เป็นเรา  เราเป็นขันธ์ ๕  แล้วไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนอื่น ไม่มีจิตสาธารณะ คดโกงผู้อื่น

๒.     วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัยในธรรมะ ในการตรัสรู้จริงของพระพุทธเจ้า และสงสัยว่าจะหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้จริงหรือไม่ อันเป็นเหตุให้หลงผิด ไม่ประพฤติปฏิบัติในธรรม

๓.     สีลัพตปรามาส – การลูบคลำศีล เป็นการปฏิบัติแบบไม่ค่อยจะเต็มใจต่อการปฏิบัติ ทั้งในศีล สมาธิ ภาวนา หรือแม้กระทั่งการรับสมาทานศีล ๕ เฉพาะต่อหน้าพระหรือในวันสำคัญตามประเพณี หรือตามสังคมที่นิยมกัน แล้วก็ไม่คงรักษาให้มีให้เกิดภายในจิตใจ

๔.     กามฉันทะ – ความกำหนัดติดย้อมใจหรือพอใจ ในกามคุณทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสกาย

๕.     พยาบาท –ผูกโกรธต่อในกามคุณทั้ง ๕ ที่มากระทบต่ออายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้ว ส่งต่ออารมณ์ผัสสะไปยังใจ แล้วไม่พอใจผูกอาฆาต

๖.     รูปราคะ – ความกำหนัดติดใจในรูป หรือ ความอยากมีอยากเป็น หรือ ความติดในรูปฌาน

๗.     อรูปราคะ – ความกำหนัดติดใจในอรูป หรือ ความไม่อยากมีอยากเป็น หรือ ความติดใจในอรูปฌาน

๘.     มานะ – ความสำคัญมั่นหมายในตัวตนว่า เป็นนั่นเป็นนี่ หรือ มานะทิฏฐิในใจเราที่ถือตัวถือตน ข่มผู้อื่น ซึ่งมีอยู่ ๙ อย่างหลักๆ

๙.     อุทธัจจะ – ความฟุ้งของจิต  ซึ่งนำมาจากเจตสิก ไปรับรู้อารมณ์จากภายนอก

๑๐.อวิชชา – การไม่รู้จริง หรือ ไม่รู้รอบในสังขารทั้งปวง

 

อ้างอิง  : --

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - หน้าที่ 196

[๒๘๔]  โอรัมภาคิยสังโยชน์  [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง

๑. สักกายทิฏฐิ                           [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]

๒. วิจิกิจฉา                               [ความสงสัย]

๓. สีลัพตปรามาส                       [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย

ศีลหรือพรต]

๔. กามฉันทะ                            [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]

๕. พยาบาท                             [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]

[๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์  [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง

๑. รูปราคะ                               [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]

๒. อรูปราคะ                             [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]

๓. มานะ                                  [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]

๔. อุทธัจจะ                             [ความคิดพล่าน]

๕. อวิชชา                               [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]

หมายเลขบันทึก: 420969เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการพระคุณเจ้า

ได้เรียนรู้ธรรมะจากพระคุณเจ้ามากทีเดียว อ่านหลายรอบเพื่อทำความเข้าใจ แต่ที่ใช้เตือนตัวเองอยู่ตลอดคือ กฎแห่งธรรมชาติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พยายามทำความดีที่เรามีความสุขไว้ในปัจจุบัน เพราะไม่แน่นอนว่าวันข้างหน้าเราจะมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำได้หรือไม่

กราบนมัสการค่ะ พระคุณเจ้า ที่แสดงความคิดเห็นและโพสต์มาเยี่ยมชมค่ะ

    ธรรมะของพระคุณเจ้าทำให้เข้าใจและนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการมีสติตลอดเวลาในการทำงานต่างๆอย่างมีสติ รู้ผิด รู้ชอบ ประพฤติปฏิบัติทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้เกิดความสุข เป็นเสบียงบุญต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท