อธิบายความหมายเบื้องต้นของการเกิดภพ--ตอนที่ ๑


ปัจจัยการเกิดภพภูมิต่างๆ

จักรพรรดิภูมิ

           ที่กล่าวถึงนี้ได้แสดงไว้ในพระไตรปิฏกหลายที่ เป็นการกล่าวถึงผู้ที่ได้กระทำ   คุณงามความดีต่างๆที่จะส่งไปสู่ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ พระมหาจักรพรรดิ์ พระบรมมหาจักรพรรดิ์ ซึ่งท่านเหล่านี้นั้นได้กระทำคุณงามความดีต่างๆเพื่อที่จะได้รับผิดชอบต่อมวลหมู่มนุษย์ทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งเทวดา พรหมต่างๆด้วย และการกระทำความดีนั้นๆ ก็ส่งให้ท่านเหล่านั้นได้รับผลกรรมดีในการกระทำต่างๆสมบูรณ์ ไปด้วยบุญญาธิการมากมาย ซึ่งมิได้หมายความถึงความเป็นไปในโลกมนุษย์แต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่ส่งถึงภูมิ/สภาวะที่ที่เป็นไปในนิพพานด้วย

 

แผนภูมิวงรอบอิทัปปจยตา หรือ ปัจจยการ ที่แสดงให้เห็นเหตุปัจจัยการเกิดในสรรพสิ่ง

๑. ถ้าเป็นคน สัตว์ ต่างๆที่มีชีวิต  จะมีวิญญาณเข้าครอง เรียกว่า สังขารมีวิญญาณครอง

๒. ถ้าเป็นสิ่งของต่างๆ หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่นภูเขา ก็จะเป็น สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง

ก็จะเหลือเพียง รูปและนาม มีการเกิด ประกอบกันขึ้น  ตั้งอยู่ขณะหนึ่งซึ่งทนในสภาวะเดิมนั้นไม่ได้ แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งตกอยู่ภายใต้ กฎพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ภพนั้นก็เช่นกัน(ภพ  คือ แดนเกิด  มี  ๓  ภพใหญ่ๆ  คือ กามภพ รูปภพ  อรูปภพ)

มีการเกิดโดยการเข้าปรุงแต่งของปัจจัยต่างๆมากมาย เช่นอณูต่างๆในขนาดที่เล็กจนถึงอนุภาคเล็ก ที่เรียกกันส่วนมากว่าอะตอม  ซึ่งจะมีที่เล็กมากกว่านั้นอีกมาก จับตัวโดยอาการจับกันยึดมั่นต่อกัน เป็นภพขึ้น  และมีภูมิแห่งจิตที่ประกอบกรรม แตกต่างกันไปส่งให้จิตวิญญาณนั้นเข้าอุบัติ ที่ใจ ของสัตว์นั้นๆในภพ และภูมิที่เหมาะ

หมายเลขบันทึก: 420936เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบพระคุณเจ้าค่ะสำหรับความหมายของการเกิดภพ ลึกซึ้งถึงรสพระธรรมมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท