ธรรมะในโพชฌงค์โลกุตตระ


นิพพาน ญาณทัสสนวิมุตติ

ธรรมะในโพชฌงค์โลกุตตระ 

อวิชชา คือ ความไม่รู้เท่าทัน หรือ ความไม่รู้ความเท่ากัน เหมือนกันไม่มีความแตกต่างกัน  ของสังขารทั้งปวง แล้วไปหลงยึด 

สังขารคือความคิดปรุงแต่ง  ความคิดแตกต่าง สภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอย่างหยาบกลางละเอียด สภาพการปันให้แก่กันและกัน อย่างหยาบก็คือ แกแลคซี่ จักรวาล โลกอย่างกลางๆ ร่างกายของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ พืช ภูเขา

อย่างละเอียด คือ จิตใจ ความคิด ความรู้สึก นึกรู้

อวิชชา เป็นปัจจัยหรือ เหตุให้แก่สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยหรือ เหตุให้เกิดอวิชชา

จุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เหมือนกันทั้งนั้น เพียงแต่จะมีลักษณะ หยาบกลางละเอียดไปเท่านั้น

 

 กำเนิดจักรวาล กาแลคซี่ ก็มาจาก วงสายอิทัปปัจจยตานี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นแบบนี้ เช่น

ผู้ชายเป็นอวิชชาหลงยึด ผู้หญิงเป็นสังขารปันใจให้แก่กันและกัน เกิดบุตร ซึ่งประกอบด้วยรูปและนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  ขันธ์ ๕ นี้เอง เมื่อกำเนิดเกิดขึ้นก็มีใจ ซึ่งประกอบด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ก่อภพก่อชาติ ซึ่งไปยึดมั่นถือมั่นต่างๆมาเป็นตัวตนของเรา มีตัวมีตนขึ้นมาที่เรียกว่า สมมติ

            ตัณหา กามตัณหา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เราต้องรู้จักมัน ทำความรู้จักมัน เพราะเมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้ว เกิดจากการสังขารปรุงแต่งออกมาแล้วเป็นปัจจัยเป็นเหตุมาแล้ว ย่อมจะมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

            เปลือกข้าว เป็นอวิชชา เมล็ดข้าวเป็นสังขาร นำไปหว่านเกิดต้นข้าว แตกหน่อ เจริญเติบโต แตกออกรวงเป็นเมล็ดข้าวออกมา เกิดวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ เป็นสังงขารที่ไม่มีวิญญาณครอง

            เป็นผงแป้ง นำมาโรยบนพื้นสะอาดเกลี้ยงปกติแล้ว แป้งก็จะไม่ยึดติดกัน แต่เมื่อนำเอาน้ำมาหยดลงแป้งนั้นก็จะเป็นก้อนขึ้นมา

อวิชชาเป็นสาเหตุให้เกิดสังขาร คือ โง่ไปหลงยึดสังขาร สังขารเป็นสาเหตุ ปันส่วนให้อวิชชา เกิดเป็นรูปธรรม นามธรรมขึ้นมา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นมาแล้ว ก็เกิดใจขึ้นมา เทียบได้กับเทียน เมื่อมีใส้เทียน มีเทียน(เนื้อเทียน) มีพลังงานความร้อนออกมา มี O2 (ออกซิเจน) ก็เกิดเป็นเปลวเทียนแสงสว่างขึ้น    

ถ้าดูจากรูปแผนภาพ   สามารถทำความเข้าใจได้ดีขึ้น

            ไฟ – คือ ความร้อน

            ดิน ,น้ำ – คือ เชื้อเพลิง

            ลม – คือ ออกซิเจน (O2 )

นั้นคือ อย่างหยาบ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้จะมีลักษณะที่เหมือน แต่จะต่างกันออกไปตามสภาพที่ถูกปรุงแต่งมาไม่เท่ากันแล้วเท่านั้น

อย่างละเอียดก็คือ ใจเรานั้นเอง เมื่อเกิดอุปาทานความยึดมั่น ก็มีที่เกาะ มีภพ ก็มีอวิชชา คือ การเกิด ต่อไปอย่างหาที่สุดมิได้

                  เมื่อเกิดรูปธรรมนามธรรม คือ ขันธ์ ๕ ขึ้นมาแล้ว ก็เกิดใจ – กาย – ลิ้น – จมูก – หู – ตา  ครบเป็นมนุษย์ สัตว์ขึ้นมา ถ้าเป็นสังขารที่ไม่มีวิญญาณ(ใจ)ครอง (คือเกิดรูปขึ้นมา นามก็คือ การเรียกขานในสิ่งนั้น) ก็เกิดอย่างเช่น ภูเขา ทะเล มหาสมุทร ต้นไม้ อากาศ เมื่อแยกกันออกไปก็จะเป็นดินน้ำลมไฟ ออกเป็น คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน(H) ไนโตรเจน(N) ฯลฯ

เมื่อแยกออกจากกันไปอีกก็จะมีเพียงแต่ โมเลกุล – แยกออกไปอีก ก็จะเป็นอะตอม

แบบจำลอง อะตอม

            N คือ นิวตรอนจะอยู่ตรงกลาง

            P+ คือ โปรตรอนสมบัติเป็น + จะอยู่ห่อหุ้ม N

            e- คือ อิเลคตรอนสมบัติเป็น – จะวิ่งวนอยู่รอบๆ

 

เมื่อทำใจให้สงบนิ่งปราศจากนิวรณ์ ๕ เหลืออยู่แต่ใจ จิตล้วนๆ จะเกิดอำนาจ พลังงานมหาศาล ทำอะไรได้ตามความนึกคิด เมื่อเกิดอายตนะคือที่ต่อ  มี  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ก็มี วิญญาณ คือประสาทสัมผัส ที่เรียกว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ (อารมณ์ คือสิ่งที่มากระทบได้ทาง  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  วิญญาณก็เป็นสาเหตุให้มีผัสสะ คือความสัมผัสถูกต้องได้

ผัสสะก็เป็นเหตุให้เกิด เวทนา คือ ความรู้สึกได้ อย่างละเอียด ก็เป็นความพอใจ และความไม่พอใจ เฉยๆ หยาบมาหน่อย ก็เป็น ปฏิฆะ(ความขัดใจ) กามราคะ (พอใจในกามคุณ ๕ = รูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัสทางกาย) หยาบอีก  ก็เป็น  โกรธ  โลภ หลง แต่ที่ละเอียดมากๆที่คนมักจะไม่ค่อยคิด ค่อยรู้กัน ก็คือ ความสงบ และอุทธัจจะกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เล็กๆ น้อยๆ)

            เวทนาก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหา แล้วก็ไปยึดในตัณหานั้น  เกิดภพ เกิดชาติเป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจขึ้นมาทันที ซึ่งจะเกิดขึ้นเร็วมาก ตามความเร็วของประสาทสัมผัส

หมายเลขบันทึก: 420861เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • นมัสการค่ะ พระอาจารย์
  • ตาม ดร. ขจิตมาค่ะ
  • โพชฌงค์โลกุตตระ  หมายถึงอะไรคะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ๆย่อมจะมี เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้ๆมันจึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

มันเป็นกฎของสรรพสิ่งจริงๆครับพระคุณเจ้า

ตอบคุณครู Thongmai ครูนอกระบบ นะครับ

โพชฌงค์โลกุตตระ ก็คือ ภาวะแห่งการรู้แจ้งในสภาวะธรรมที่อยู่พ้นจากโลก หรือเหนือกาลเวลา เป็นอกาลิโก ไปแล้ว ซึ่งก็คือ การรู้แจ้งธรรมนั้น จะเป็นไปทั้งในสภาวะที่กำลังจะเดินมรรค และเมื่อสิ้นสุดของมรรคแล้ว คือ เข้าสู่ผลอย่างสมบูรณ์

อนุโมทนาบุญคุณครูด้วย และขออภัยที่ตอบเนินช้ากว่า 6 ปีแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท