แผนสังคมบูรณาการอิสลาม


แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการใช้จ่ายเงิน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 2 ชั่วโมง
 
ครูผู้สอน อาจารย์นาดียา  หมิเถาะ                                     ปีการศึกษา 2553
******************************************************************
1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ส ๓.๑    เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง   เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ตัวชี้วัด ส ๓.๑ ป.๓/๒  ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิต  ประจำวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ของการออม
 
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                1.  รู้และเข้าใจแหล่งที่มาของรายได้ ของตนเองและครอบครัว วางแผนการใช้จ่ายโดยการบันทึกรายรับและรายจ่าย  รู้คุณค่าของเงินและประหยัด
                2. นำหลักมารยาทและคุณธรรมของการใช้จ่ายไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                3. มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนในการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามแนวทางของอิสลาม
 
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถบอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัวได้ (C)
                2. นักเรียนสามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายของตนเองได้ (P)
                3. นักเรียนเห็นประโยชน์ของการออม โทษของการใช้จ่ายเกินตัว (A) และสามารถบอกผลดีที่เกิดจากการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมและการเก็บออมได้ (C)
                4. นักเรียนสามารถนำหลักมารยาทและคุณธรรมของการใช้จ่ายไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม (A)
                5. นักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนในการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามแนวทางของอิสลาม (A)
 
4. สาระสำคัญ
                ปัจจุบัน การจับจ่ายใช้สอยถือเป็นกระบวนการพื้นฐานที่มนุษย์ถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้มีเงินเหลือเก็บออม และมีเงินให้จ่ายในยามจำเป็น  ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังมารยาทอันดีงามในการจับจ่ายใช้สอยในแนวทางของอิสลาม
               
5. สาระการเรียนรู้
                1. การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันเพื่อซื้อสินค้าและบริการ
                2. ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินที่ไม่เกินตัว
                3. ประโยชน์ของการออม
                4. โทษของการใช้จ่ายเงินเกินตัว
                5. วางแผนการใช้จ่าย
 
6. การบูรการ
                1. บูรณาการอิสลาม
                มารยาทของการใช้จ่ายในอิสลาม เช่น การใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย การบริจาคหรือการให้ทานในหนทางของอัลอิสลามที่ถูกต้อง โดยไม่มีความตระหนี่ขี้เหนียว
                บูรณาการอัลกุรอาน อาทิ ...
                                1. ซูเราะห์ที่ 25 อัลฟุรกอน อายะห์ที่ 67
 
 
                ความว่า : และบรรดาผู้ซึ่งเมื่อใช้จ่ายพวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่าย และไม่ตระหนี่ แต่เขาดำรง (ลักษณะการใช้จ่ายปานกลาง) ระหว่างนั้น
                                2.  ซูเราะห์ที่ 35 ฟาฏิรฺ อายะห์ที่ 29
                ความว่า : แท้จริงผู้อ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด และการใช้จ่ายทรัพย์สินบางส่วนที่เราได้ให้เป็นโชคผลแก่พวกเขาทั้งในที่ลับและในที่เปิดเผย โดยพวกเขามุ่งหวังการค้า ที่ไม่มีวันสูญสลาย
                                3.  ซูเราะห์ที่ 47 มุฮัดมัด อายะห์ที่ 36-38
                อายะห์ที่ 36 ความว่า : อันที่จริงชีวิตทางโลกนี้ เป็นเพียงความสนุกและความเพลิดเพลิน (ชั่วคราว) เท่านั้น และหากพวกท่านมีศรัทธาและยำเกรงพระองค์ แน่นอนพระองค์จะทรงประทานรางวัลแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่เคยขอทรัพย์สินต่างๆ ของพวกเจ้า (ไปในทางไร้สาระเลย นอกจากทรงบัญญัติให้ใช้จ่ายอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีเป้าหมายอันดีงาม)
                อายะห์ที่ 37 ความว่า : หากว่าพระองค์ทรงขอทรัพย์สินจากพวกเจ้าและพระองค์ทรงมุ่งขอทรัพย์ทั้งหมดของพวกเจ้า แน่นอนพวกเจ้าก็ย่อมตระหนี่ (ไม่บริจาคตามที่พระองค์ทรงขอ) และความตระหนี่นั้นจะทำให้ความพยาบาท (ในศาสนาอิสลาม) ของพวกเจ้าแสดงออกมาทันที
                อายะห์ที่ 38 ความว่า : พึงตระหนักเถิด! พวกเจ้าเหล่านี้ถูกเรียกร้องให้ทำการเสียสละ (ทรัพย์สินไปในหนทางของอัลลอฮ์) ซึ่งบางคนจากพวกเขาเป็นผู้ที่มีความตระหนี่ (ไม่ยอมบริจาค) และผู้ใดก็ตามที่ตระหนี่ แน่นอนที่สุด เขาตระหนี่จากตัวของเขาเอง ส่วนอัลลอฮ์นั้นพระองค์ทรงมั่นคงยิ่งนัก และพวกเจ้าเป็นพวกยากไร้ และหากพวกเจ้าหันหลังให้ (จากหลักอิสลาม) แน่นอนพระองค์จะทรงทดแทน กลุ่มชนอื่นนอกจากพวกเจ้า (แทนที่พวกเจ้า ซึ่งจะถูกทำลายล้างให้สูญสิ้นไป) หลังจากนั้นพวกเขาก็จะไม่เป็นเสมือนเช่นพวกเจ้าอีกต่อไป
                บูรณาการกับอัคลากอิสลาม
อิสลามกำหนดให้วายิบ (จำเป็น) ต้องละทิ้งคุณลักษณะ 5 ประการดังนี้
1.   อย่าออกนอกศาสนาอิสลาม
2.  ไม่ทำลายตนเอง
3.  ไม่ฟุ่มเฟือยหรือสุรุ่ยสุร่าย
4.  ไม่ทำตนให้เป็นที่อัปยศอดสู
5.  ไม่ถือเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน
                อุปนิสัยของท่านนบีมูฮัมหมัด
1.  มีความละอายแก่ตนเองที่จะละเมิดข้อห้ามของอัลลอฮฺ
2.  ให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ที่มาขอ  หรือยากจน
3.  ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ที่ขัดสนยากจน
4.   เมื่อพบปะเพื่อนฝูงรีบให้สลาม
5.  ไม่เย่อหยิ่ง  จองหอง อวดดี
6.  ไม่ถือตัว ไม่ยกตนข่มท่าน
                หะดิษของท่านศาสดามูฮัมหมัด
ความตระหนี่ถี่เหนียวมีรากเหง้ามาจากการหลงรักในทรัพย์สินและถือว่าทรัพย์สินคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ซึ่งผลร้ายของความตระหนี่ถี่เหนียวนั้นจะทำให้ศรัทธาของบุคคลอ่อนแอและได้รับความวิบัติในบั้นปลาย ดังปรากฏในอัลหะดีษว่า :
خَصْلَتَانِ لاَتَجْتَمِعَانِ لِمُؤمِنٍ ، الْبُخْلُ ، وَسُوءُ الْخُلُقِ
“2 ประการจะไม่ร่วมอยู่ด้วยกันสำหรับผู้ศรัทธา  คือ ความตระหนี่และการมีมารยาทที่เลวทราม”
(รายงานโดยติรมีซี)
 
และอัลหะดีษที่ระบุว่า
وَاتَّقُواالشُّحَّ فإنَّه أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ ... الحديث
“และพวกท่านจงป้องกัน (ตัวของพวกท่านให้ห่างไกล) ความตระหนี่
เพราะแท้จริงความตระหนี่ได้ทำให้ผู้คนในยุคก่อนหน้าพวกท่านวิบัติมาแล้ว”
(รายงานโดยมุสลิม -2538-)
 
ดังนั้นการยับยั้ง (ไม่ยอมจ่าย) ทรัพย์สินจากด้านที่จำเป็นต้องจ่าย ถือว่าเป็นความตระหนี่ และการจ่ายทรัพย์สินไปในด้านที่จำเป็นต้องยับยั้ง (ห้ามจ่าย) ถือเป็นความสุรุ่ยสุร่าย และระหว่างกรณีทั้งสองนั้นคือทางสายกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยและไม่ตระหนี่ถี่เหนียว
                2. บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
 
7. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                1) ความสามารถในการคิด
                2) ความสามารถในการแก้ปัญหา
 
8. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                1)  มุ่งมั่นในการทำงาน
                2)  ซื่อสัตย์ สุจริต
                3)  มีวินัย
                4)  ใฝ่เรียนรู้
                5)  อยู่อย่างพอเพียง
 
9. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
                1)  ครูให้นักเรียนอ่านซูเราะห์อัลฟาติหะและดุอาอ์ก่อนเรียนพร้อมกันกับครู 1 เที่ยว
                2)  ให้นักเรียนร้องเพลง “เมื่อเราตกใจ ... อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ”  ทำท่าทางประกอบเพื่อเตรียมความพร้อม
                3)  ครูสนทนาในเรื่อง หากเราไม่ทำงานเราจะมีเงินใช้จ่ายหรือไม่ เพราะเหตุใด
 
ขั้นการสอน
                1)  ครูสุ่มนักเรียนเล่าเรื่องอาชีพในครอบครัว 2 – 3 คน  แล้วตั้งคำถาม เช่น
                     -  ใครประกอบอาชีพบ้าง
                      -  รายได้พอใช้หรือไม่  เพราะเหตุใด
                2)  นักเรียนที่หารายได้พิเศษออกมาเล่าให้เพื่อนฟังหน้าชั้น  ครูซักถามในเรื่อง
                     -  ทำไมถึงต้องหารายได้
                     -  มีความรู้สึกอย่างไร
                3)  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่มาของรายได้
                4)  ครูเล่าเรื่องการวางแผนการใช้จ่ายใน  1  เดือน นักเรียนออกมาเล่าเรื่อง การวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง
                5)  นักเรียนร่วมกันวางแผนเรื่อง  การใช้จ่ายให้พอกับรายรับและการเก็บออม
                6)  นักเรียนนำเสนอแผนที่ร่วมกันคิด ครูซักถาม นักเรียนนำไปใช้วางแผนของตนเองนำส่งครูทุกวันจันทร์ของเดือน
                7)  นักเรียนดูภาพ สินค้าประเภทต่าง ๆ จากแผ่นพับ  นักเรียนปฏิบัติดังนี้
                      -  แบ่งกลุ่ม  5 กลุ่ม
                      -  ครูสมมติให้แต่ละกลุ่มมีเงิน  500  บาท
                      -  เลือกซื้อสินค้า 1 ชิ้น โดย กำหนดให้
                             -  บอกเหตุผลที่เลือกซื้อ
                             -  ต้องเหลือเงินเก็บออม
                8) นักเรียนนำเสนอหน้าชั้น ครูและนักเรียนร่วมสนทนาซักถาม
                9)  ครูและนักเรียนช่วยกันนำเสนอหลักมารยาทและคุณธรรมในการใช้จ่ายในอิสลาม เช่น การใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย การบริจาคหรือการให้ทานในหนทางของอัลอิสลามที่ถูกต้อง โดยไม่มีความตระหนี่ขี้เหนียว
                                9.1 การใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย หรือสุรุ่ยสุร่าย  
                                9.2 การบริจาคหรือการให้ทานในหนทางอิสลามที่ถูกต้อง  
                                9.3 การไม่ตระหนี่ ขี้เหนียว
ดังที่อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ใน...อัลกุรอาน
   - ซูเราะห์ที่ 35 ฟาฏิรฺ อายะห์ที่ 29
   - ซูเราะห์ที่ 47 มุฮัดมัด อายะห์ที่ 36-38
          
      จากนั้น ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะที่อิสลามวายิบ (จำเป็น) ต้องละทิ้ง 5 ประการดังนี้   และอัคลากของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.)
      แล้วครูก็อธิบายเพิ่มเติม โดยเชื่อมโยงกับสังคมในปัจจุบัน
ขั้นสรุปบทเรียน
                1)  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง การวางแผนการใช้จ่ายเงินตามแนวทางของอิสลาม โดยการสนทนาซักถาม และยกตัวอย่างหะดิษของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.)
                หะดิษของท่านศาสดามูฮัมหมัด
ความตระหนี่ถี่เหนียวมีรากเหง้ามาจากการหลงรักในทรัพย์สินและถือว่าทรัพย์สินคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ซึ่งผลร้ายของความตระหนี่ถี่เหนียวนั้นจะทำให้ศรัทธาของบุคคลอ่อนแอและได้รับความวิบัติในบั้นปลาย ดังปรากฏในอัลหะดีษว่า :
خَصْلَتَانِ لاَتَجْتَمِعَانِ لِمُؤمِنٍ ، الْبُخْلُ ، وَسُوءُ الْخُلُقِ
“2 ประการจะไม่ร่วมอยู่ด้วยกันสำหรับผู้ศรัทธา  คือ ความตระหนี่และการมีมารยาทที่เลวทราม”
(รายงานโดยติรมีซี)
และอัลหะดีษที่ระบุว่า
وَاتَّقُواالشُّحَّ فإنَّه أَهْلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ ... الحديث
“และพวกท่านจงป้องกัน (ตัวของพวกท่านให้ห่างไกล) ความตระหนี่
เพราะแท้จริงความตระหนี่ได้ทำให้ผู้คนในยุคก่อนหน้าพวกท่านวิบัติมาแล้ว”
(รายงานโดยมุสลิม -2538-)
 
          ดังนั้นการยับยั้ง (ไม่ยอมจ่าย) ทรัพย์สินจากด้านที่จำเป็นต้องจ่าย ถือว่าเป็นความตระหนี่ และการจ่ายทรัพย์สินไปในด้านที่จำเป็นต้องยับยั้ง (ห้ามจ่าย) ถือเป็นความสุรุ่ยสุร่าย และระหว่างกรณีทั้งสองนั้นคือทางสายกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยและไม่ตระหนี่ถี่เหนียว
                2)  ครูและนักเรียนอ่านซูเราะห์อัลอัศร์และดุอาอ์กิฟารัต พร้อมกัน 1 เที่ยว
 
10. ร่องรอยการเรียนรู้
      10.1    ผลงานหรือชิ้นงาน
 1)    การวางแผนการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่กลุ่มสนใจเป็นสินค้า 1  ชนิด การบริการ 1 อย่าง
 2)    ผลงานกลุ่มของนักเรียนเรื่อง  การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
      10.2    กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
 1)     การวางแผนการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่กลุ่มสนใจเป็นสินค้า  1  ชนิด การบริการ 1 อย่าง
 2)    ผลงานกลุ่มของนักเรียนเรื่อง  การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
      10.3   พฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                 ความรับผิดชอบ  ความเสียสละ  ความมีระเบียบ  การตรงต่อเวลา  การมีส่วนร่วมจากกระบวนการกลุ่ม
      10.4   ความรู้ความเข้าใจ
                1)    จากการเรียนรู้ด้านความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง  การเลือกซื้อสินค้าและบริการ   จากการตอบคำถาม
2)   ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเรื่อง   การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
 
11. สื่อ  / แหล่งเรียนรู้
                11.1    แผ่นพับการโฆษณาสินค้า / หนังสือแบบเรียน
                11.2    แบบฝึกทักษะเรื่อง การวางแผนการใช้จ่ายเงิน
                11.3    แหล่งความรู้ต่าง ๆ
                11.4    ดัชนีอัลกุรอาน
                11.5    อัลกุรอานแปลไทย
12. แนวทางการวัดผลและประเมินผล
12.1 วิธีการประเมินผล
              
ด้านผลงาน
1)    การวางแผนการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่กลุ่มสนใจเป็นสินค้า  1  ชนิด  การบริการ  1 อย่าง
2)    ผลงานกลุ่มของนักเรียนเรื่อง    การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
                ด้านกระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                1)    สังเกตพฤติกรรมการทำงานจากการศึกษาเรื่อง  วางแผนการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่กลุ่มสนใจเป็นสินค้า  1   ชนิด การบริการ   1   อย่าง
                2)    สังเกตพฤติกรรมการทำงานจากการศึกษาเรื่อง   การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
ด้านคุณลักษณะพึงประสงค์
                -    ประเมินผลงานกลุ่มด้านความรับผิดชอบ  ความเสียสละ  ความมีระเบียบ การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมจากกระบวนการกลุ่ม
                ด้านความรู้ความเข้าใจ
1)    ประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง  การเลือกซื้อสินค้าและบริการ จากการตอบคำถาม
2)    ประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเรื่อง   การวางแผนการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด
 
12.2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล
                1)    แบบประเมินผลงานกลุ่มด้านความรับผิดชอบ ความเสียสละ การตรงต่อเวลา ความมีระเบียบและการมีส่วนร่วม
                2)    แบบสังเกตพฤติกรรมในกระบวนการทำงานกลุ่ม ในด้านการวางแผน  การเสนอแนวคิดและข้อคิด เช่น การฟังความคิดเห็น เป็นต้น
                3)    แบบประเมินการนำเสนองานในด้านการเตรียมความพร้อม เนื้อหาสาระ รูปแบบการนำเสนอ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม การรักษาเวลา และความสนใจของผู้ฟัง
 
13. กิจกรรมเสนอแนะ
                13.1    กิจกรรมฝึกการคิดวิเคราะห์
                          การวางแผนการใช้กับการไม่มีการวางแผนการใช้มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
ขั้นตอนการปฏิบัติ
        1.    ขั้นรวบรวมข้อมูล
         -    ศึกษาข้อดีข้อเสียของการวางแผน/ไม่วางแผนการใช้จ่าย
                       2.     ขั้นวิเคราะห์
                               -    ทำไมคนเราจึงไม่นิยมการวางแผนการใช้จ่าย / นิยมวางแผนการใช้จ่าย
                      3.    ขั้นสรุป
                              -    บันทึกลงในกระดาษ
                      4.    ขั้นนำไปประยุกต์ใช้
                             -     แลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน
                13.2    กิจกรรมการบูรณาการ
                            ครูสามารถบูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระ  การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกำหนดภาระงาน ศึกษาวิธีการที่ทำให้ตนเองมีรายได้ที่เหมาะกับตนเอง
                                คณิตศาสตร์  โดยการทำบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง
                               
ภาระงาน “ศึกษาวิธีการที่ทำให้ตนเองมีรายได้ที่เหมาะกับตนเอง”
การบูรณาการ                       ง   1.1
จุดประสงค์การเรียนรู้             รู้และเข้าใจวิธีการทำให้ตนเองมีรายได้
ผลงานที่ต้องการ                  วิธีการทำให้ตนเองมีรายได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.   ศึกษาวิธีการของการทำให้มีรายได้
2.   เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง 1 วิธี
3.   ปฏิบัติตามวิธีการที่เลือกระยะเวลาหนึ่ง
เกณฑ์การประเมิน
-   เป็นวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง
 
แบบฝึกทักษะเรื่อง  การวางแผนการใช้จ่าย
 
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบันทึกการใช้จ่ายของตนเองใน 1 สัปดาห์  เป็นเวลา  1 เดือน ส่งครูทุกสัปดาห์  โดยการออกแบบสมุดบันทึกเอง
 

 
14. บันทึกหลังสอน
บันทึกหลังสอน
(บันทึกเฉพาะประเด็นที่มีข้อมูลสารสนเทศชัดเจน)
ประเด็นการบันทึก
จุดเด่น
จุดที่ควรปรับปรุง
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. การใช้สื่อการเรียนรู้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. การประเมินผลการเรียนรู้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. การบรรลุผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
บันทึกหลังการสอนเพิ่มเติม
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
_________________________________________________________________
ลงชื่อ___________________ผู้สอน                                     
      (นางสาวนาดียา  หมิเถาะ)                                           
                                                                                                             
  
แบบประเมินผลงานกลุ่ม
ชื่อกลุ่ม ...............................................................ชั้น .........../.........
 
ที่
              พฤติกรรม
 
ชื่อ – สกุล
ความรับผิดชอบ
ความเสียสละ
การตรงต่อเวลา
ความมีระเบียบ
ผลการประเมิน
3
2
1
3
2
1
3
2
1
3
2
1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ลงชื่อ ............................................... ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน     3  - ปฏิบัติสม่ำเสมอ    2- ปฏิบัติเป็นบางครั้ง     1- ไม่เคยปฏิบัติ
เกณฑ์การตัดสิน
                11  -  12  คะแนน            ดีมาก
                9    -  10  คะแนน              ดี
                6    -  8  คะแนน                 พอใช้
                ต่ำกว่า   6   คะแนน           ปรับปรุง

 
แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลของนักเรียนในกระบวนการกลุ่ม
ชื่อกลุ่ม ........................................................ เรื่อง ................................................ชั้น .........
ที่
              พฤติกรรม
 
ชื่อ – สกุล
ความร่วมมือ
การแสดงความคิดเห็น
การยอมรับฟังผู้อื่น
ความตั้งใจ
ผลการประเมิน
3
2
1
3
2
1
3
2
1
3
2
1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเหตุ  ครูมอบให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติงานกลุ่มของสมาชิกเป็นรายบุคคล
เกณฑ์การให้คะแนน     3  - ปฏิบัติสม่ำเสมอ    2- ปฏิบัติเป็นบางครั้ง     1- ไม่เคยปฏิบัติ
เกณฑ์การตัดสิน
                11  -  12  คะแนน               ดีมาก
                9    -  10  คะแนน               ดี
                6    -  8  คะแนน                พอใช้
                ต่ำกว่า   6   คะแนน             ปรับปรุง

 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
เรื่อง ..............................................................
ชื่อกลุ่ม .....................................................ชั้น ..............................
สมาชิกในกลุ่ม
  1. ...........................................................
  2. ...........................................................
  3. ...........................................................    
  4. ...........................................................
  5. ............................................................
 
 
ที่
 
รายการประเมิน
คะแนน
 
ข้อคิดเห็น
3
หมายเลขบันทึก: 420077เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท