เส้นทางครูเพื่อศิษย์


ครูผู้พัฒนาชีวิต

 

                  ห ลั ง จากที่ได้ตั้งสายตาครูให้ลองมองเด็กให้เห็นความเป็นเขาไปสองคราวแล้ว กิจกรรมในโครงการพัฒนาครูที่ฝ่ายพัฒนาการศึกษา จัดให้มีขึ้นเป็นลำดับถัดมาก็คือ การอบรมครูเพื่อเป็นครูแนะแนว เพื่อให้ครูมีวิธีทำความเข้าใจลูกศิษย์ และมีเครื่องมือในการทำความรู้จักลูกศิษย์ให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม กิจกรรมนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง ๓ ครั้งด้วยกัน คือ ในวันที่ ๑๔ , ๑๙ และ ๒๑ ธ.ค. ๔๙ หลักการสำคัญที่อาจารย์พิไล แย้มงามเหลือ อาจารย์ชุติมา พงศ์วรินทร์ และ อาจารย์รับขวัญ ภูษาแก้ว ได้ให้ไว้ก็คือ คนทุกคนมีความแตกต่างกัน การทำความรู้จักเพื่อให้เข้าใจเด็กนักเรียนเป็นรายบุคคลจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อคุณครูจะได้ทราบปัญหาและความต้องการ และจัดการป้องกัน แก้ไข ส่งเสริม ได้ถูกทาง

                 การที่ครูทุกคนมีทักษะในการมองเด็กอย่างละเอียดอ่อน (ไม่ว่าจะประยุกต์หลักการมาจากแนวของวอลดอร์ฟ จากหลักวิชาของการแนะแนว หรืออื่นๆ ก็ตาม) นอกจากที่หลักการ และวิธีการ ตลอดจนกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้ครูได้รู้จักเด็กอย่างที่เขาเป็นแล้ว ยังจะเป็นเครื่องช่วยให้เด็กได้รู้จัก และเข้าใจตนเอง ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของงานแนะแนว อันที่จริงครูทุกคนสามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี หากทุกคนไม่ท้อถอย และไม่คิดว่าตนทำไม่ได้

 

 

ครู

จึ ง เ ป็ น ผู้ พั ฒ น า ม นุ ษ ย์ อ ย่ า ง เ ป็ น อ ง ค์ ร ว ม

 

 

http://www.princess-it.org/kp9/news/2005/0904_1.html

 

คือการดูแลศิษย์ทั้งทางกาย อารมณ์สติปัญญา และสังคม โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้เด็กรู้จักตัวเอง และการทำให้เรื่องของการพัฒนาชีวิต อยู่ในความสำคัญลำดับแรกของการจัดการศึกษา
เรื่องหลักการแนะแนวนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับหลักการพัฒนาศักยภาพของสมอง ที่คุณหมออุดม เพชรสังหาร ได้กรุณามาพูดให้กลุ่มผู้ปกครองอนุบาลของโรงเรียนฟังเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ ธ.ค ที่ผ่านมา

 

คาถาที่คุณหมอฝากไว้ก็คือ...

Emotion drive attention, and attention drive learning.

การจะเรียนรู้อะไรให้หมดจดนั้น ฉันทะต้องมาก่อน แล้ววิริยะที่จะอยู่กับเรื่องนั้นจะตามมาเอง

 


ดังนั้น หากเด็กทุกคนค้นพบว่าเขารักที่จะเรียนรู้ในเรื่องใด และมีความมุ่งมั่นที่จะรู้เรื่องนั้นให้ถึงที่สุดแล้ว ความสำเร็จทั้งหลายก็เป็นของเขาทุกคนได้อย่างไม่ต้องสงสัยแต่ถ้าไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม และสิ่งเหล่านั้นไม่มีความสัมพันธ์กับเขาเสียแล้ว สมองจะคัดทิ้งไปทันที เพราะจะตีความว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย และไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิ่งที่สมองมีอยู่

ดังนั้น การจัดการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับธรรมชาติของสมองในช่วงปฐมวัยก็คือ การสร้างจุดเชื่อมต่อให้กับโปรแกรมที่จะต้องใช้ในอนาคตเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อที่สมองจะได้มีศักยภาพในการรองรับผัสสะ และประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับเขาในทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับการ install driver ให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ทำความรู้จักกับเครื่องมือต่างๆที่จะต้องเข้าไปเชื่อมต่อนั่นเอง

 

 

http://portal.in.th/teacherforpupil/pages/12530/

 

หมายเลขบันทึก: 419997เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท