ฮูโต๋
นาย อภิชาต ฮูโต๋ อำมาตย์มณี

หัวหน้า กศน.ตำบล กศน.ภูซาง ร่วมประชุม"ขับเคลื่อนงาน นโยบาย 6 เดือน 6 คุณภาพ"


บุคคลที่ทำไม่ได้ตามพูด ย่อมไม่มีประโยชน์อะไร ดุจดังดอกไม้สีสวยแต่ไร้กลิ่น

       เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 คณะครู กศน.อำเภอภูซาง ได้เข้าร่วมการประชุมบุคลากร กศน.เพื่อขับเคลื่อนงาน นโยบาย 6 เดือน 6 คุณภาพ ณ ห้องประชุมอาคารพบกลุ่ม ของ กศน.เมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงาน กศน.จังหวัดพะเยา ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเปิดการประชุมและร่วมแสดงความยินดีกับคณะครู กศน.จังหวัดพะเยาที่ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานราชการ นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้บริหาร กศน.อำเภอ ข้าราชการ และครูอาสาสมัครร่วมแสดงความยินดีด้วย 

      ซึ่งจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในทศวรรษที่สองตามนโยบาย 6 เดือน 6 คุณภาพ (ตุลาคม 2553-มีนาคม 2554) มีดังนี้

        1.เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ โดยจะมีการนำเงินงบประมาณจำนวน 8 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ 2554 ดำเนินการให้ลงไปสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยให้กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดวางระบบและกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาในการพิจารณากรอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นการเริ่มต้นของการมีส่วนร่วมทางการศึกษาระดับรากฐาน ทำให้ชุมชนสนับสนุนการศึกษา

       2.การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง กระทรวงศึกษาธิการประกาศชัดเจนว่าผู้เรียนในแต่ละระดับ ควรมีจุดเน้นในการพัฒนาอย่างไร เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ประชาชนได้เห็นอย่างชัดเจนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป โดยกำหนดจุดเน้นการศึกษาในแต่ละระดับ ดังนี้

       - ระดับปฐมวัย จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสมองเด็กไทยให้ได้รับสารไอโอดีน และมีคุณภาพใฝ่รู้ ใฝ่เรียน

          -    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีการเน้นเป็นช่วงชั้นอย่างชัดเจน เช่น

   1. ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 3 จะเน้นให้มีการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ใฝ่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ

   2. ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - ประถมศึกษาปีที่ 6 จะเน้นให้มี การอ่านคล่อง เขียนคล่อง มีทักษะในการคิดขั้นพื้นฐาน มีทักษะชีวิตเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใฝ่ดี ใฝ่รู้ มีจิตสาธารณะ 

  3. ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีทักษะในการคิดชั้นสูง มีทักษะชีวิต รู้จักการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่อย่างพอเพียง

   4. ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีทักษะในการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิตในการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี การรักการเรียนรู้การค้นคว้าพบตัวเอง การแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระดับนี้คือ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความมุ่งมั่น มีความเป็นพลเมืองดี

  5.ระดับอาชีวศึกษา จะมุ่งเน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ มีความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ

   6.ระดับมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ และ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งเน้นเรื่องสหกิจศึกษา โดยจะให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ให้มหาวิทยาลัยสนองตอบต่อการช่วยเหลือสังคม โดยมี 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด

         3.คุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้ กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต เป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นการเรียนฟรี สำหรับประชาชนวัยทำงาน 30 ล้านคน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนของประชาชนนอกระบบทั้งหมดสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ส่งเสริมเรื่องทักษะชีวิต และความเป็นพลเมือง

          4.คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ เป็นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษานานาชาติจำนวน 500 โรงและสถานศึกษาเอกชน จำนวน 500 โรง โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาสู่มาตรฐาน 500 โรง เป็นสถานศึกษาระดับWorld Class โรงเรียนดีระดับอำเภอ 2,500 โรง เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการส่วนโรงเรียนดีประจำตำบลต้องเน้นด้านคุณภาพ ความเสมอภาค และความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน จำนวน 7,000 โรง โดยยุทธศาสตร์ 777 ดังนี้

            7 แรก ในการดำเนินการแรก คือ การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบล ใน 4 เดือนแรก มีเป้าหมายการดำเนินงาน 7 ประการ ได้แก่

                 1. มีแผนในการพัฒนาอย่างชัดเจน

                 2. มีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน

                 3. โรงเรียนมีการพัฒนาด้านกายภาพที่ชัดเจน มีความสะอาด

                 4. มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น

                 5. มีบรรยากาศอบอุ่น

                 6. มีความปลอดภัย

                 7. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ

           7 ที่สอง คือ การพัฒนาใน 4 เดือนต่อมา จะมีการพัฒนา 7 ประการได้แก่

                 1. มีห้องสมุด 3 ดี

                 2. มีห้องปฏิบัติการ

                 3. มีศูนย์การเรียนรู้อาชีพ

                 4. มีศูนย์กีฬาชุมชน

                 5. มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ

                 6. มีครูที่ใช้แหล่งเรียนรู้และใช้ ICT

                 7. มีการบริหารที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

            7 ประการสุดท้าย จะเป็นคุณภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่

                 1. มีโรงเรียนที่มีชื่อเสียงดี มีความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน

                 2. มีนักเรียนที่ใฝ่รู้

                 3. มีนักเรียนใฝ่เรียน

                 4. มีนักเรียนใฝ่ดี

                 5. มีความเป็นไทย

                 6. มีสุขภาพดี

                 7. รักงานอาชีพ

           5. คุณภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจะมีการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการผลิต วิจัย และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยในครั้งแรกรํฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน 5ล้านบาท คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สนับสนุนให้อีก 75 ล้านบาท ขณะนี้ได้ดำเนินการเปิดบัญชีกองทุนแล้ว โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ดำเนินการ 4 เรื่อง คือ

         - เรื่องกฎหมายในการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

         - การดำเนินการกองทุนให้มีสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน

         - บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มาทำงานร่วมกัน เพื่อที่จะยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

         - จัดกิจกรรมเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาการศึกษาตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง

          6. คุณภาพครู จะมีการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ ทั้งการผลิต การพัฒนาการใช้ การพัฒนาค่าตอบแทน การแก้ปัญหาหนี้สินครู การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถือว่ามีการพัฒนาไปมากพอสมควร ทั้งเรื่องการปรับฐานเงินเดือน การแก้ไขกฎ ก.ค.ศ. เพื่อให้ครูชั้นผู้น้อยได้มีค่าตอบแทนเพียงพอและเหมาะสมกับวิชาชีพ การแก้ไขกระบวนการในการดูแลเรื่องวิทยฐานะของครู โดยในปีงบประมาณ 2554 จะมีการพัฒนาครูอย่างเข้มข้น เช่น การคืนครูให้นักเรียน โดยการจ้างครูธุรการอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาครูแนวใหม่ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูโดยการประเมินวิทยฐานะแบบเน้นผลงาน

        

      

   

   

   

   

    

คำสำคัญ (Tags): #กศน.ภูซาง
หมายเลขบันทึก: 419673เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท