โกรธแล้วน่ะ


ความโกรธมีได้ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่เราจะเลือกตอบสนองก้บความโกรธนั้นอย่างไร

โกรธแล้วน่ะ ทำอย่างไรดี

การดำรงชีวิตประจำวันเป็นปกติต้องพบปะกับความรู้สึก โกรธ เศร้า เป็นธรรมดา หากไม่ใช่ผู้ที่บรรลุแล้วย่อมมีเป็นธรรมดาของปุถุชน แต่ภาวะที่เกิดขึ้นในจิตใจและความคิดภายในนั้นเป็นตัวการสำคัญ ในการผลักดันให้เราตอบสนองต่อความโกรธ ให้ออกมาในรูปแบบใด เช่น หากคนพูดไม่ดีกับเรา เราอาจด่าว่า ตอกกลับ โมโห โวยวาย ถามเหตุ อธิบายผล ใช้เป็นแรงขับ เปิดอกคุย แก้ไขข้อมูล ไม่ตอบสนองอยู่เฉยๆ หรือนับ1-10 หรือเดินหนีก็ยังได้ ทางเลือกนั้นยังมีมากกว่านี้นัก ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน  ตัวอย่างอีกแบบที่น่าสนใจของแบบการตอบสนอง เช่น

แบบหนังจีนกำลังภายในแค้นนี้ต้องชำระ ใครทำให้เราโกรธ ทำร้ายเรา ต้องเอาคืน ต่อให้สิบปี ยี่สิบปีหรือจนตายก็ยังถ่ายทอดมอบส่งต่อให้ลูกหลานต้องสานต่อภาระกิจนี้ให้สำเร็จ ภายในใจจะกลุ้มใจข้นแค้นไม่เป็นสุข ตราบจนได้แก้แค้นไปแล้ว แม้แต่แก้แค้นไปแล้วบางทีความแค้นก็ยังไม่จางหายไป สภาพแบบนี้ก็คงต้องทนไป

แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แบบการตอบสนองออกมาทันใด ใครมาพูดผิดหู ว่าด่า หรือทำอย่างไดอย่างหนึ่งก็ตอบสนองไปอย่างทันทีทันได ระเบิดอารมณ์ดั่งปรมณูไม่สนใจอะไรทั้งนั้น เผาไหม้เร็วหากสะใจแล้วก็หายไปหรือบางรายก็เก็บไว้เป็นเชื้อฟื้นเผาไหม้ ก็คงเป็นตัวไฟควันรมหัวใจกันต่อไป

แบบเก็บกด ไม่ตอบสนอง ไม่โต้แย้ง ไม่แก้แค้น แต่เก็บความรู้สึกไว้ในใจ มีความเศร้าทุกข์ หรือโกรธโมโหอยู่ในใจแต่ไม่แสดงออกมาให้เห็น แต่ก็ยังทุกข์เก็บฝังไว้ในใจหรือเรียกเป็นแค้นฝังหุ่นอยู่ภายใน

แบบพุทธะ คือการให้อภัย เป็นการให้อภัยที่ไม่แค้นไม่เคืองปล่อยว่างไปสบายกายสบายใจ ไม่ใช่แค่คำพูดว่าให้อภัยแต่ภายในยังขุ่นมัว กวนอยู่ภายใน แต่เป็นความรู้โปร่งโล่งสว่างไสว สภาพแบบนี้จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนและไม่ต้องทนทุกข์ไปกับความโกรธ

ลองมองใจเราเองก็เป็นเหมือนวัตถุอย่างหนึ่ง  มีสิ่งต่างๆมาแวดล้อมย่อมมีทั้งร้อนทั้งเย็น ย่อมมีอารมณ์กระเพื่อมขึ้นลงได้เป็นธรรมดา ความรู้สึกตัวหรือความมีสติที่ไวพอจะจับหรือรับรู้อารมณ์หรือความรู้สึกนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ความโกรธนั้นมีได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือเราสามารถเลือกได้ที่จะทำอย่างไรกับความโกรธนั้น และเลือกที่จะตอบสนองกับมันอย่างไร แต่ละคนสามารถเลือกได้โดยไม่จำเป็นต้องตกเป็นทาสของมัน

ปล.พูดง่าย เขียนง่าย แต่ทำยาก

หมายเลขบันทึก: 419384เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ หนูชื่อเปี้ยวค่ะ

 เมื่ออ่านเเล้วก้ทำให้คิดว่า เราไม่คารตกเป็นทาสของอารมณ์เเละให้อภัย จะดีกว่าเก็บความโกรธไว้ จะเกิดผลเสียกับใจเราเอง

เวลามีความโกรธเกิดขึ้นทุกครั้ง ตัวเราเองมีทางเลือกแค่ทางเดียวคือแบบพุทธะ แล้วใจเราจะสบายมากๆ บางครั้งลืมไปเลยว่าเราเคยจะโกรธคนนี้ด้วยเหรอ คนที่เค้าพูไม่ดี โดยเฉพาะการว่ากล่าวหาผู้อื่นที่ไม่เป็นความจริงจะยิ่งทำให้ความไม่ดีกลับตกอยู่กับคนที่พูด ...positive thinking.... heart+brain>>>>++++++

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

เพิ่งไปเมนท์บันทึกหนึ่งมา

เมนท์เรื่อง หลักทางศาสนาพุทธ อย่างเช่น ปฏิจจสมุปบาท และอิทัปปัจจยตาค่ะ

ถูกใจมากค่ะ มรรค...สำหรับแก้ความโกรธ การให้อภัย(แต่พวกเขาก็ยั่วไม่หยุดเลยนะเนี่ย ท้าทายการให้อภัยสุดๆ)

ยิ่งถูกใจมากตรงปล.พูดง่าย เขียนง่าย แต่ทำยาก

ถึงได้หัวเราะนำมา เพราะต้องจัดการความโกรธของตัวเองเป็นระยะๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท