โวยวาย และโลกชายหาด


"วาย" คือสมาชิกในวงค์หมึกยักษ์ ในชื่อภาษาอังกฤษก็คือ Octopus
      ใครเห็นหัวเรื่องวันนี้ต้องถามว่า โวยวาย คือ อะไร   ใครกันที่โวยวาย แล้วไปโวยวายอะไรที่ชายหาด ซึ่งในวันนี้ได้หยิบหนังสือนิตยสารสารคดีซึ่งทางโรงเรียนบ้านสระเกษ ได้รับนิตสารฉบับนี้จากผู้บริจาคทุกเดือน   ในคอลัมน์นี้ นิตยสารสารคดี ได้พาเราไปรู้จักกับโวยวาย หรือ  "วาย" คือสมาชิกในวงค์หมึกยักษ์ ในชื่อภาษาอังกฤษก็คือ Octopus   มีถิ่นอาศัยอยู่แถบชายทะเลภาคใต้ โดยเฉพาะตามแนวหาดปะการังที่คลื่นยักษ์ซัดถล่มเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วมา มันคือแหล่งพรางตัวชั้นดีของโวยวาย
    บนชายหาดพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรซึ่งน้ำงวดและเต็มไปด้วยก้อนกรวดโขดหิน การปรับตัวของสัตว์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ควบคุมโดยจังหวะของกระแสน้ำ คลื่นลม แสงอาทิตย์ร้อนแรง อาหารที่ไม่แน่นอน ที่หลบภัยที่จำกัด ขณะเดียวกันก็ได้ซึมซับวิถีการปรับตัวและดำรงอยู่ด้วยการพึ่งพาธรรมชาติของคน
    โวยวายอาศัยหลบภัยตามเนินปะการัง ที่มีแอ่งน้ำขังใหญ่ น้อยทั่วบริเวณ  น้ำทะเลใสสะอาด มีเศษปะการัง ก้อนหินและโพรงหินซึ่งเปรียบเหมือนคอนโดมิเนียมให้เข้าอยู่ได้ทันที พร้อมทั้งอาหารให้เลือกหลายประเภท  วิธีการตกโวยวายคือ  การแหย่ทางมะพร้าวหรือก้านหวายที่เสียบเศษปูไว้ตรงปากรู ทิ้งไว้จนทางมะพร้าวไหว แสดงว่า หมึกเริ่มแยงหนวดออกมาและโผล่ส่วนของร่างกายออกมามากขึ้น แล้วก็ขยับทางมะพร้าวเพื่อยั่ว ให้หมึกถลำตัวออกมา แล้วคนล่อก็จะใช้เหล็กแทงแล้วรีบงัดตัวมันออกมาจากรูทันที เพื่อไม่ให้มันใช้หนวดดึงโพรงหินไว้จนตัวขาดหรือหลุดมือไปได้  อาหารที่ทำจากหมึกโวยวายก็คือ วายคั่วกะทิ
จากการภาพที่สารคดีนำเสนอ เป็นภาพที่หมึกถูกจับขึ้นจากนำ้มันจะสู้ตามสัญชาตญาณนักล่าตวัดหนวดรัดแขนของคนจับและอาจกัดเพื่อให้บอกให้รู้ว่ามันต้องการอยู่รอด  ก็เลยมานึกว่าไม่ว่าคนหรือสัตว์ก็มีสัญชาตญาณการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของตัวมันเอง  ซึ่งในปัจจุบันนี้สภาพสังคมบ้านเราถูกพายุ พิษเศรษฐกิจทำลายความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทรต่อกัน   ประเพณีอันดีงามแทบจะหายเลือนลางไปจากสังคม แต่สิ่งดีงามที่เห็นและเกิดขึ้นในงานวันเด็กก็คือ เด็กตัวน้อยๆเข้าแภวเพื่อรับของแจก ของรางวัล มีผู้ปกครองบางคน กลัวบุตรหลานตัวเองไม่ได้ต้องไปคอยจับลูกหลานแทรกตรงนั้นตรงนี้ เด็กคนที่แทรกแถวเข้าแภวไปพร้อมกับหน้าตาที่ไม่เบิกบาน มองหน้าเพื่อนข้างๆไม่ติดเพราะตัวเองแทรกแภว และมันเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นก่อนสืบทอดให้คนรุ่นหลังซึ่งต้องปรับตัวใหม่เข้ากับสังคมใหม่
คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 419375เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

         อ่านชื่อบันทึก คิดว่าเป็นการแสดงออกของคน  เมื่ออ่านไปก็รู้ว่าพระเอกเรื่องนี้เป็นปลาหมึกยักษ์  เรื่องจริงไม่ใช่นิทานมันโหดร้ายอย่างนี้เลยนะคะ ... เศร้าใจค่ะ

         วันเด็ก....เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่ มีความกล้าในทางที่ถูก มีผู้ใหญ่คอยดูแลเป็นกำลังใจ  เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นอนาคตของชาติ....อยู่ที่ว่าผู้ใหญ่ในวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีพอให้เด็กหรือไม่ 

                         

                   วันเด็กที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูนค่ะ

                                    

เห็นบรรยากาศวันเด็ก แบบย้อนยุค แล้วก็ปลื้มใจ (เอะรึว่าเราแก่ไปหรือเปล่า ) วัฒนธรรมประเพณีไทยควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท