EMS and Referral Management


EMS and Referral Management

EMS and Referral Management

 

EMS and Referral Management   การบริการช่วยชีวิตฉุกเฉินและการบริหารจัดการระบบการส่งต่อ

บรรยายโดย รศ.นพ. สมเดช  พินิจสุนทร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สรุปบทเรียนโดย : นวลฉวี  เพิ่มทองชูชัย  นศ. ป.เอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

                ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินหรือมีอาการหนัก ถ้าการช่วยเหลือที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือการส่งต่อที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือพิการได้

      Refer      :    การส่งต่อ

      EMS       :    Emergency Medical service

 ดังนั้น Refer กับ EMS เป็นแนวทางเดียวกันคือการส่งต่อ แต่มีลักษณะต่างกัน

วัตถุประสงค์ของการส่งต่อ

  1. Investigation ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจ Lab, biopsy  
  2. Proper management   การจัดการที่เหมาะสม
  3. Care after Cure มีระบบการส่งต่อ จากระดับปฐมภูมิไปทุติยภูมิและตติยภูมิ หรือจากตติยภูมิไปทุติยภูมิและปฐมภูมิ 
  4. Emergency management 

Investigation 

      Criteria        1. Make diagnosis เช่น MRI

                        2. Confirm diagnosis เช่น ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

                        3. Art management (for proper management) มีการประสานงาน- พูดคุยก่อน  refer

Proper management  เมื่อมีกฎหมายออกมา และกำลังมีร่างการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้รับบริการถ้ามีปัญหาจากการให้บริการ ผลที่ตามมาคือโรงพยาบาลศูนย์ต้องรับภาระมากขึ้นเนื่องจากมีผู้ป่วยถูกส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนเข้ามารับบริการมากขึ้น

Toole and equipment

  1. Vehicle  :  specific / multi purposed การใช้รถอเนกประสงค์
  2. Equipment อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน
  3. Drug supplies

System (จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน และวิธีการให้บริการ งบประมาณการให้บริการ)

        1. UC (Universal coverage) / others ในการ Refer หมายถึงกระบวนการ Refer อยู่ในกระบวนการที่ได้รับเงินจาก สปสช. คือผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย และโรงพยาบาลที่ refer ก็ไม่ต้องจ่าย แต่ สปสช. เป็นผู้จ่ายให้โรงพยาบาลที่รับ refer ซึ่งแยกเป็น Inclusive และ Exclusive

                     Exclusive : โรงพยาบาลที่ refer ต้องตามจ่าย

         2. Rotation / Fix person (ต้อง Train ให้ทุกคนดูแลผู้ป่วยในรถได้)

         3. Financing (การจัดการการเงิน ในเรื่องอุปกรณ์ และค่าตอบแทน)

 

EMS (Emergency Medical service)

การเรียกหน่วยกู้ชีพ 1669 ควรให้ข้อมูลดังนี้

  1. จำนวนผู้ป่วย และอาการบาดเจ็บ
  2. สถานที่และเส้นทางที่สะดวก
  3. หมายเลขโทรศัพท์

EMS มีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลักๆ คือ

  1. เราจะพัฒนาให้คนมีขีดความสามารถพาผู้ป่วยมาได้อย่างปลอดภัยอย่างไร
  2. มีระบบที่ต้องบริหารจัดการ

         -   ระบบของยานพาหนะ

         -   ระบบเรื่องของการสื่อสาร การประสานงาน

วีดีทัศน์ EMS Rally จังหวัดขอนแก่น โดยความร่วมมือของพหุภาคี ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, โรงพยาบาลศรีนครินทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการแพทย์ฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข

EMS Rally จังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยใช้เทคนิคระดับสูงที่หลากหลายในการสร้างการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารประสานงาน

สถานที่                 : บึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น

ผู้เข้าอบรม             : ตัวแทนจากโรงพยาบาลจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 ทีม ทีมละ 10 คน

รูปแบบ                  : Rally เป็นฐานซึ่งแบ่งเป็น

                                ฐานวิชาการ   7  ฐาน

                                ฐานสันทนาการ   12  ฐาน

ข้อสอบวิชาการจำนวน 7 ข้อประกอบด้วย

  1. การช่วยพื้นคืนชีพชั้นสูง โดยใช้หลักการ CPR (Cardio Pulmonary Resuscitate)

                                A       :            clear airway

                                B       :            breathing

                                C       :            cardio

                                D       :            drug

   2.  การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร

   3.  การช่วยเหลือผู้ป่วยคลอดฉุกเฉิน

   4.  การช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กจมน้ำ

   5.  การควบคุมสถานการณ์อุบัติเหตุกลุ่มชน

   6.  การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกแทง

   7.  การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

การประเมินผล ฝ่ายวิชาการได้ออกแบบการประเมินผลดังนี้

  1. วัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันในแต่ละคน
  2. ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ป่วย
  3. การปฏิบัติงานเป็นทีม
  4. การวัดภาวะผู้นำ

และผลการแข่งขันตามฐานต่างๆทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีมจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

กิจกรรมดังกล่าวเป็นนวัตกรรมที่สำคัญยิ่ง เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ มีความปรารถนาที่จะทำงานอย่างถูกต้อง มีคุณธรรม โดยมีแนวคิดว่าถ้าได้ฝึกปฏิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถฝึกระดับคุณธรรมของบุคลากรให้สูงขึ้นมาก จนในที่สุดคุณภาพชีวิตของบุคลากรย่อมนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีขององค์กร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะเพื่อให้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง และแสดงให้เห็นว่า บุคคลที่สามารถปฏิบัติการนี้ได้ต้องผ่านการอบรมจนมีความรู้ความชำนาญ มีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง และแนวทางดังกล่าวจะขยายผลไปถึงบุคลากรในระดับรากหญ้า โดยมีหน่วยกู้ชีพระดับตำบล จนกระทั่งสามารถจัดการแข่งขันในระดับชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ EMS คือบุคคล และทีมงาน ที่เป็นผู้จัดระบบและการบริหารจัดการต่างๆ และปัจจุบันท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นโดยมีรถกู้ชีพในระดับตำบล แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาให้คือองค์ความรู้ ดังนั้นการอบรมความรู้และฝึกทักษะให้ทีมหน่วยกู้ชีพในระดับตำบลจะทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

               

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #EMS and referral management
หมายเลขบันทึก: 418956เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 02:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท