Health Information Management


Health Information Management

Health Information Management 

Health Information Management การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

บรรยายโดย รศ.นพ. สมเดช  พินิจสุนทร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สรุปบทเรียนโดย : นวลฉวี  เพิ่มทองชูชัย  นศ. ป.เอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

         ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทในทุกสาขาอาชีพ  การติดต่อสื่อสารในทุก ๆด้านสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลาไม่จำกัดด้วยระยะทาง  ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างปราศจากขอบเขต  ดังนั้น  ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น  ข้อมูลที่ดีต้องมีการจัดการข้อมูลได้รวดเร็ว ง่าย สะดวก โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ได้พัฒนาในด้านของความครอบคลุมในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ  โดยปรับให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ 

          ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ซึ่งสุขภาพจะมีองค์ประกอบทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ถ้ามองกว้างขึ้นจะเป็นระบบสุขภาพ (Health system) ซึ่งจะมีบุคคลหรือปัจจัยอื่นเข้ามากระทบต่อสุขภาพมากขึ้น

          ดังนั้นข้อมูลข่าวสารสุขภาพ อาจหมายถึงข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์และอนามัย ข้อมูลสถานะสุขภาพ ข้อมูลสถานบริการ การให้บริการ   ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ รวมถึงข้อมูลด้านการเงิน การคลัง แต่ถึงอย่างไรความต้องการด้านสุขภาพก็ยังมีข้อมูลประกอบอื่น ๆ  ที่ไม่ใช่มาจากงานสาธารณสุขโดยตรง เช่น ข้อมูลทางด้านประชากร  เศรษฐกิจ  สังคม  และสิ่งแวดล้อม 

ความสำคัญของข้อมูลข่าวสาร
        ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ   ในปัจจุบันมีจุดแข็งคือมีความชัดเจน  ลดความซ้ำซ้อน ประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์รายงาน   มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น   ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต่อการระบุปัญหา  ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลสนับสนุน ควบคุมกำกับและประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพของงานสาธารณสุขในทุกระดับ  ลักษณะที่ดีของข้อมูลสารสนเทศ

1. ต้องมีความเที่ยงตรง 
2. ทันเวลาการใช้งาน
3. ตรงตามความต้องการ

ทุกระดับมีความต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป การตัดสินใจว่าจะจัดเก็บข้อมูลข่าวสารสุขภาพด้านใดบ้าง จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      ข้อมูลที่จะจัดเก็บนั้นต้องมีคุณค่าเพียงพอแก่การจัดเก็บ  วิธีการจัดเก็บ การรายงาน การวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์เมื่อได้รับข้อมูลนั้นมา 

แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
1.    แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources)   ได้แก่ การเก็บข้อมูลด้วยตนเอง อาจมาจาก
        -    การจดทะเบียน  เช่น  การแจ้งเกิด  แจ้งตาย  การย้ายที่อยู่  
        -    การแจงนับหรือการสำรวจโดยตรง   เช่น สำรวจประชากร ครัวเรือน การสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน  
        -    ข้อมูลจากการส่งแบบสอบถามไปให้กรอก เป็นเฉพาะเรื่อง ๆ  
2.    แหล่งทุติยภูมิ  (Secondary  sources)  ได้แก่แหล่งที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล  แต่ไม่ได้ทำการเก็บรวบรวมในขั้นแรกนั้นด้วยตนเอง  

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ 

การนำข้อมูลที่จัดเก็บบันทึกเองหรือนำมาจากแหล่งอื่นมารวบรวมประมวลผล นำเสนอ วิเคราะห์และแปรผล   เพื่อนำไปประกอบการวางแผน   กำหนดยุทธศาสตร์  กำหนดตัวชี้วัด  (KPI) กำหนดเป้าหมายในการประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข และใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับการดำเนินงานข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญในการตัดสินใจ   (Decision making)  

 

Health Information Management

ตัวอย่างการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ : การสำรวจสุขภาพไทยโดยการตรวจร่างกาย

Health Resource : ทรัพยากรเกี่ยวกับสุขภาพ

  1. Personal (คน)
  2. Material รวมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ รถยนต์ ฯลฯ
  3. Supply เช่นงบประมาณ ยา เวชภัณฑ์ หรือสิ่งสนับสนุนอื่นๆ
  4. Social and Environment เช่นเครื่องมือวิถีชุมชน community study ซึ่งเครื่องมือแต่ละ ชนิด จะทำให้ทราบชีวิตความเป็นอยู่ และการดำเนินชีวิตของประชาชน

Information

  1. Only few doctor, nurse and other staff
  2. Not enough budget
  3. Lock of resources building ward, equipments, drug
  4. A lot of conflicts

National Health Examination survey (NHES4) โดยมีวัตถุประสงค์

  1. Wealth  ดูความมั่งมี เช่น ดูHouse, Property, Water, Toilet etch อาศัยเครือข่ายชาวบ้านคือ อสม.เป็นผู้สำรวจ
  2. Health : Physical, Mental, Well being
  3. Behavior (Health or not)  Social and Physical

Methods in the field

  1. Find target sample (by health staff and volunteers)
  2. Pre survey and Iodine test
  3. Appointment with documents
  4. Registration

         -  name list, consent and pre survey (by staff)

         -  Identify card , urine in the container (by target)

  5. Physical exam : BP and other measurement เช่นชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง         วัดสายตา

  6. Blood examination

  7. Interview by GN (questionnaire)

  8. Health education by team leader

สถานที่  : วัด, PCU, Hospital, School, Collage, Village, Country, Rice flied, Hotal

สิ่งที่ต้องเตรียม : Tent, Table, Chair อื่นๆ

Summary การลงมือดำเนินงานต้อง

  1. Clear objective
  2. Clear tasks, clear activity
  3. Team work
  4. Cooperation
  5. Love and spirit 

Purpose ของการจัดการข้อมูล       

  1. Situation analysis เช่นวิเคราะห์

      1.1    Personal

      1.2    Material

      1.3    Supply

      1.4    Social and Environment เช่น social ที่เกี่ยวข้องกับ Health system

  2.  Planning

  3.  Data management เช่น QA, HA 

  4.  Monitoring การกำกับติดตาม

คำสำคัญ (Tags): #health information management
หมายเลขบันทึก: 418952เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท