สรุปการไปออกชุมชนที่ หมู่ 9 ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 โรงพยาบาลพระปกเกล้า


ความรู้ ประสบการณ์ ความผูกพันกับชาวหมู่ 9 ความประทับใจ ไม่มีวันลืมเลือน

วันที่ 6-28 เดือนธันวาคม พศ. 2553 เรานิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 โรงพยาบาลพระปกเกล้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปออกชุมชน หมู่ที่ 9 ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี พวกเราได้ไปเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ค้นหาปัญหาชุมช หาสาเหตุ ค้นหาวิธีแก้ไข ดำเนินการ ประเมินผล และส่งต่อโครงการ

จากที่เราได้ไปในชุมชนทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ นอกห้องเรียนมากมาย เรียนรู้การทำงานเป็นทีม communication การดูแลผู้ป่วยแบบ holistic การนำความรู้ทางการแพทย์ไปประยุกต์ใช้จริง Evidence Base Medicine และที่สำคัญคือ "การเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมในฐานะต่างๆ"

ในวันที่ 29 ธันวาคม พวกเราก็ได้นำเสนองานที่ได้ทำมาต่อคณะอาจารย์ ซึ่งมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ อาจารย์แพทย์จาก รพช และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งท่านก็ได้ชี้มุมมองในสิ่งที่นิสิตยังมองไม่เห็น ก็ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมานะที่นี้ด้วย

นี่คือ VDO ที่เรารวบรวมกิจกรรมที่ทำมา

Strawberry live in Lamsing -Part 1

Strawberry live in Lamsing -Part 2

Strawberry live in Lamsing -Part 3

ซึ่งทำเพื่อการศึกษามิใช่การค้าแต่อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 418473เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 ขอชื่นชม ภาพยนต์ที่นำเสนอ

ทำให้เห็นภาพการทำงาน ความยากลำบาก ความพยายาม ได้ชัดเจน

ยกนิ้วให้เลย

ในการนำเสนอช่วงแรกที่พยายามจะบอกข้อมูลก่อน แต่รายละเอีอดส่วนหนึ่ง

อยู่ใน VDO ทำให้คนฟังไม่กระจ่าง และถามมาก

มีวิธีการนำเสนอรูปแบบใดที่จะทำให้ ทั้ง ข้อมูลและวิธีการเก็บ รวมทั้งบรรยากาศ

ประมวลเป็นหนึ่งเดียว ต่อเนื่อง กระจ่าง จนไม่มีช่องว่างให้ผู้ชมซักถาม?

 อยากทิ้งไว้ให้ตอบ และถามคำถามต่อไป

แต่เกรงจะไม่มีคนอ่านแล้ว ขอต่ออีกประเด็น

ไม่ทราบว่ารู้สึกสบายใจในการที่จะตอบคำถามเมื่อครู่นี้ไหม?

(คำถามเป็นปลายเปิด กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่)

ต่างจากคำถามที่เกิดในห้องนำเสนอ(ส่วนใหญ่เป็นคำถามเพื่อความกระจ่าง)อย่างไร?

ขอบใจน้องๆที่ให้เกิดความรู้สึกดีๆ อีกปีหนึ่ง

bye bye ด้วยสคส.จ้ะ

 

รายวิชานี้เป็นหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันร่วมผลิตแพทย์ทั้งหลายไม่ว่า โรงพยาบาลภูมิพล ชลบุรีและพระปกเกล้า

จะรับประมวลรายวิชานั้นๆมา ส่วนการจัดการเรียนการสอน สามารถจัดตามบริบทของพื้นที่โดยต้องบรรลุวัตถุประสงค์ตามประมวลรายวิชา

(ประเด็นนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์จากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ของจุฬา

ที่เปิดโอกาสให้มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายตามศักยภาพของพื้นที่)

 

การจัดการเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า ในปัจจุบันจัดทางแนวทางที่อาจารย์รุ่นบุกเบิกได้วางรากฐานไว้ โดยยึดกระบวนการแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชนเป็นหลัก ส่วนรายละเอียดกิจกรรม กลวิธีในการแก้ปัญหาก็เป็นไปตามปัจจุบันโลก โดยทุกปีก่อนจัดการเรียนการสอน จะมีการระดมสมองจาก อาจารย์จากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดจันทบุรีและโรงพยาบาลแกลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าจากพระปกเกล้า เพื่อให้การเรียนการสอน สามารถตอบโจทย์ทางด้านการทำงานชุมชนในปัจจุบันได้

 

ผลลัพธ์ คงดังที่ปรากฎในบล็อกของทั้ง 3 กลุ่ม ในผลที่ปรากฎนี้จะเห็นว่า นิสิตแพทย์ไม่เพียงแต่ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตาม กระบวนการแก้ปัญหาอนามัยชุมชนเท่านั้น นิสิตยังได้เรียนรู้ชีวิต การอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ(อย่างใกล้ชิด) เรียนรู้วิถีชุมชน รับรู้ เข้าใจการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานในชุมชน ในการเรียนทั่วๆไป เรามุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีความต้องการ คาดหวังอะไร ได้ตามนั้นหรือไม่ บรรลุวัตถุประสงค์ตามประมวลรายวิชาหรือไม่ แต่การเรียนแพทย์ (รวมหลายๆวิชาชีพหรืออื่นๆด้วย) นอกจากนิสิตแพทย์ได้อะไรแล้ว ชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ ก็ได้ด้วย อาจารย์เองก็ได้มุมมองใหม่ๆทุกปี เพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนในปีต่อๆไป

 

 

 

สิ่งที่ขาดในช่วงนี้คือ ขาดอาจารย์ใหม่ๆ มาเติมเต็ม

 

นิสิตแพทย์คนไหนสนใจติดต่อได้นะคะ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท