ตัวเลขกับพฤติกรรมพยากรณ์ มนุษย์มีเหตุผลที่ไร้เหตุผลได้อย่างไร


คณิตศาสตร์

ในหนังสือชื่อ พฤติกรรมพยากรณ์ PREDICTABLY IRRATIONAL เขียนโดย DAN ARIELY ผู้แปลคือ พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ

มีข้อคิดเกี่ยวกับตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของมนุษย์ที่บางครั้งทำอะไรโดยที่มนุษย์นั้นคิดว่ามีเหตุผล แต่จริงๆแล้วมนุษย์นั้นมีเหตุผลหรือไม่ โดยหนังสือได้ยกตัวอย่างหนึ่งให้เราลองสังเกตดูดังต่อไปนี้

 ในโฆษณารับสมัครสมาชิกนิตยสาร THE ECONOMIST มีรายละเอียดดังนี้

ยินดีต้อนรับสู่ศูนย์รับสมัครสมาชิก THE ECONOMIST กรุณาเลือกประเภทสมาชิกที่คุณต้องการสมัครหรือต่ออายุ

๐สมัครสมาชิกเว็บไซต์ Economist.com-59 ดอลลาร์ สำหรับสมัครสมาชิก Economist.com เป็น ระยะเวลา 1ปี โดยได้รับสิทธิ์ ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์ทั้งหมดของ THE ECONOMISTตั้งแต่ปี 1997

๐สมัครสมาชิกสิ่งพิมพ์ -125 ดอลลาร์ สำหรับสมัครสมาชิก นิตยสาร THE ECONOMIST ฉบับสิ่งพิมพ์เป็นระยะเวลา 1 ปี

๐สมัครสมาชิกสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ -125 ดอลลาร์ สำหรับสมัครสมาชิก นิตยสาร THE ECONOMIST ฉบับสิ่งพิมพ์เป็นระยะเวลา 1 ปี และได้รับสิทธิ์ ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์ทั้งหมดของ THE ECONOMISTตั้งแต่ปี 1997

 

จากโฆษณาข้างต้นพวกเราจะเลือกสมัครแบบใด ผมลองให้นักเรียนในห้องเรียนยกมือเลือกการสมัครแบบที่ชอบ ปรากฏว่ามี 6 คนเลือกสมัครแบบที่ 1 ส่วนการสมัครแบบที่ 2 ไม่มีใครเลือกเลย และมีอีก 25 คนเลือกแบบที่ 3 คราวนี้ผมได้ทดลองอีกครั้งหนึ่งโดยตัดวิธีสมัครแบบที่ 2 ออกจะได้โฆษณาใหม่เป็น

๐สมัครสมาชิกเว็บไซต์ Economist.com-59 ดอลลาร์ สำหรับสมัครสมาชิก Economist.com เป็น ระยะเวลา 1ปี โดยได้รับสิทธิ์ ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์ทั้งหมดของ THE ECONOMISTตั้งแต่ปี 1997

๐สมัครสมาชิกสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ -125 ดอลลาร์ สำหรับสมัครสมาชิก นิตยสาร THE ECONOMIST ฉบับสิ่งพิมพ์เป็นระยะเวลา 1 ปี และได้รับสิทธิ์ ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์ทั้งหมดของ THE ECONOMISTตั้งแต่ปี 1997

 

คราวนี้ให้นักเรียนกลุ่มเดิมลองเลือกสมัครแบบที่ตนเองชอบอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า นักเรียน 15 คนเลือกแบบที่ 1 และอีก 16 คนเลือกแบบที่ 3

ท่านผู้อ่านเห็นอะไรบ้างไหมครับจากเหตุการณ์ข้างต้น มีเรื่องสนุกๆกับตัวเลขกับความรู้สึกของเราไหมครับ ลองร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ครับ คราวหน้าจะมาแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้กันต่อครับ

 

หมายเลขบันทึก: 418184เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2011 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดว่าเป็นเรื่องค่าเสียโอกาสค่ะ ตอนแรกมีตัวเลือก 3 แบบ ทำให้คนส่วนใหญ่ซึ่งน่าจะคิดอย่างมีเหตุมีผล เปรียบเทียบแบบที่ 2 กับ ที่ 3 แล้วเห็นว่าได้ประโยชน์จากแบบที่ 3 มากกว่า จึงเลือกแบบที่ 3 ส่วนคนที่เลือกแบบที่ 1 น่าจะเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณหรืออาจรสนิยมส่วนตัวที่เป็นคนประหยัด ใช้จ่ายน้อย จึงมีคนบางส่วนเลือกแบบที่ 1

ต่อมา เมื่อมีตัวเลือกแค่ 2 แบบ ใช้นักเรียนกลุ่มเดิม มีการตัดสินใจมาเลือกแบบที่ 1 มากขึ้น เพราะเงินที่จะใช้ไป แลกกับประโยชน์ที่จะได้รับ คิดแล้วค่าเสียโอกาสของแบบที่ 1 ก็มากพอๆกับแบบที่ 3 จึงมีคนเลือกทั้งสองแบบ พอๆกัน แล้วแต่รสนิยมด้วยว่าชอบเงื่อนไขไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท