การเพิ่มของประชากร


ไม่น่าเชื่อ...

ประชากรโลก (World population)

        ปัจจุบันประชากรโลก ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เกิดจากอัตราการเกิดและการตาย ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน ในทุกประเทศทั่วโลก ด้วยองค์การสหประชาชาติ (UNFPA)ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหรือมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลัก ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ โดยทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง จำนวนประชากรโลกที่มีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2530 องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฏาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลก และในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการประมาณว่าจะมีจำนวนประชากรถึง 6,600 ล้านคน (6,700 ล้านคนในเดือน เมษายน 2552)

          ประชากรโลกนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีวัยเด็กลดน้อยลง โดยจำนวนของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แสดงว่าโครงสร้างของประชากรได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Anging Society) ซึ่งขณะนี้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาค ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอิตาลี กรีซ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ หลายต่อหลายประเทศ จึงพยายามศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศของตนให้มีคุณภาพกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ” ต่อไปในอนาคต

          ชาวเอเชียมีจำนวนสูงถึง 60% ของจำนวนประชากรโลก ซึ่งประเทศจีน เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และตามมาด้วยประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 19 โดยมีประชากรจำนวน 60 ล้านคน (2539) ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี พ.ศ.2562 ประชาชนชาวไทยจะมีจำนวน 70 ล้านคน

          ในประเทศไทย ก็มีแนวโน้มเข้าสังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรไทยลดลง สืบเนื่องมากจากการวางแผนครอบครัว ซึ่งพบว่าปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกไม่เกิน 2 คน อีกทั้งประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2527 คิดเป็นร้อยละ 5.7 และในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 9.6 คาดว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 แสดงว่าในอนาคตประเทศไทย น่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก เพราะฉะนั้นประชากรไทย และประชากรทั่วโลก จะต้องมีแผนการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจเพื่อรองรับระบบสังคมในอนาคตต่อไป

อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรในแต่ละทวีป

10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

1. Chaina 1,369 millions 19.84% of world
2. India 1,201 millions 16.96% of world
3. United States 304 millions 4.56% of world
4. Indonesia 232 millions 3.47% of world
5. Brazil 187 millions 2.80% of world
6. Pakistan 163 millions 2.44% of world
7. Bangladesh 159 millions 2.38% of world
8. Nigeria 148 millions 2.22% of world
9. Russia 142 millions 2.13% of world
10. Japan 128 millions 1.92% of world

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก

ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก

  1. การค้นคว้าทางการแพทย์
    • ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฏจักรของการแพร่เชื้อโรค
  2. ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร
    • ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
  3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
    • ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
  4. ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
    • ผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง

ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

  1. ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทัพยากร
    • เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลัีงพัฒนา
    • การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
  2. ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
    • เมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
    • ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  3. ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
    • เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้น
    • ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
  4. ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศ
    • ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว บางประเทศมีนโยบายระบายประชากรออก เเพื่อแสวงหาอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอาจทำหใ้เกิดการขัดแย้งขึ้นประหว่างประเทศ
    • ก่อให้เกิดปัญหา รุกกล้ำข้ามพรมเดิน หรือ ผู้อพยบเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • International Data Base (IDB), U.S. Census Bureau
  • World population, Wikipedia
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • อัตราการเพิ่มจำนวนประชากร
  • คุณภาพประชากร
  • http://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php
  • หมายเลขบันทึก: 418083เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท