สรุปผลการวิเคราะห์การใช้ภาษาในงานสื่อสารเชิงสารัตถคดี


งานสื่อสารเชิงสารัตถคดี ได้แก่ รายงาน โครงการ สารคดี บทความ คำขวัญ เป็นต้น

สาร             --ใช้เขียนสารให้ความรู้

รูปแบบ         --เป็นร้อยแก้ว ในรูปตำรา บทความหรือเรื่องราวเชิงบรรยาย หรืออธิบาย

การตั้งชื่อ      --ตำรา และบทความวิชาการ จะตั้งชื่อตรงตามประเด็นสำคัญที่จะกล่าวถึง

                      ในเรื่อง หรือตั้งชื่อโดยใช้ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อเหตุการณ์ ชื่อสิ่งแปลก

                      ใหม่

                  --ถ้าเป็นบทความกึ่งวิชาการและตำราไอทีอาจตั้งชื่อด้วยคำที่กระทบใจได้

การขึ้นต้น     --มักแนะนำให้รู้จักสิ่งที่กำลังจะกล่าวถึงเป็นการปูพื้นฐาน

                   --ถ้าเป็นบทความอาจขึ้นต้นด้วยคำถามหรือข้อความอื่นๆ อย่างไม่เป็น  

                   ทางการ (กึ่งทางการ หรือภาษาปากที่สุภาพ) ได้

การลงท้าย /สรุป  --สรุปได้หลายแบบ

                        --โดยทั่วไปนิยมสรุปเนื้อหาที่กล่าวมาแล้วให้เข้าใจชัดเจนขึ้น

                        --ถ้าเป็นบทความอาจสรุปแบบไม่เป็นทางการ เช่นสรุปด้วยคำถาม

                           เป็นต้น

กลวิธีการนำเสนอ --นำเสนอแบบตนเองเป็นผู้สอนหรือผู้เล่า เหมือนพูดกับผู้อ่านโดยตรง

                        หรือแบบบรรยายโดยไม่ใช้ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง

การดำเนินเรื่อง --ดำเนินเรื่องได้ทุกแบบ ได้แก่ ตามลำดับเวลา, ตามลำดับทิศทาง,

                     ตามลำดับขั้นตอน (เช่น ยากไปหาง่าย), ตามลำดับความสำคัญและ

                     ตามลำดับเหตุผล

การใช้คำ         --ใช้คำเรียบๆ ที่เข้าใจง่าย หรืออาจเข้าใจยากก็ได้ถ้าเป็นตำราชั้นสูง

                    --มีศัพท์เฉพาะวิชา และศัพท์บัญญัติ อาจมีวงเล็บศัพท์เดิมหรือไม่มีก็ได้

                    --มีศัพท์ต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก อาจเขียน

                      เป็นภาษาไทยแล้วมีการวงเล็บภาษาเดิม หรือสะกดเป็นภาษาเดิมโดย

                      ไม่มีภาษาไทย

การใช้วลี, ประโยค, ย่อหน้า  -วลีและประโยคมักจะยาว ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจดี

                     ยิ่งขึ้น แต่บางครั้งกลับทำให้เข้าใจยาก 

                   --ย่อหน้ามักจะยาว มีการใช้ย่อหน้าทุกแบบ ได้แก่ แบบบรรยาย (รวมทั้ง

                     แบบอธิบายและพรรณนา), แบบให้คำจำกัดความ, แบบยกตัวอย่าง,

                     แบบเปรียบเทียบหรือแบบแนวเทียบ, และแบบวิเคราะห์(หรือแบบให้

                     เหตุผล)

สำนวน, โวหาร, ภาพพจน์  --สำนวนการเขียนเรียบง่าย ไม่มีการเล่นสำนวนมากนัก

                   --อาจยกคำคมหรือสุภาษิต คำพังเพยมาประกอบพอให้เข้าใจง่ายขึ้น

                   --โวหารใช้บรรยายโวหารเป็นส่วนใหญ่  อาจมีสาธกโวหารบ้าง

                   --ภาพพจน์มักเป็นชนิดง่ายๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่นอุปมาและอุปลักษณ์

ระดับภาษา, ระดับความยากง่าย, น้ำเสียง --ถ้าเป็นตำราทั่วไป และบทความวิชาการ 

                         ภาษาจะอยู่ในระดับทางการ น้ำเสียงเคร่งขรึมเป็นงานเป็นการ

                      ส่วนความยาก ง่ายแล้วแต่ระดับความรู้ของผู้รับสารที่ผู้ส่งสารคาดหวัง

                      --ถ้าเป็นบทความกึ่งวิชาการอาจใช้ภาษาระดับกึ่งทางการลงมาจนถึง

                      ภาษาปากที่สุภาพ จะอยู่ในระดับสนทนาเป็นอย่างต่ำที่สุด ไม่ถึง

                      ระดับกันเอง

ข้อเท็จจริง, ข้อคิดเห็น  --ถ้าเป็นตำราจะมีข้อเท็จจริงมากกว่าข้อคิดเห็น

                            --ถ้าเป็นบทความอาจมีทั้งชนิดที่มีข้อเท็จจริงมากกว่า, ชนิดที่มี

                      ข้อคิดเห็นมากกว่า, และชนิดที่มีเท่าๆ กัน

การอ้างอิง, ความน่าเชื่อถือ  --ถ้าเป็นตำราทั่วไป และบทความวิชาการเต็มรูปแบบจำเป็น

                     ต้องมีการอ้างอิงตามแบบแผน

                --ถ้าเป็นตำราไอที ซึ่งสอนจากประสบการณ์ และบทความกึ่งวิชาการ

               เช่นบทความท่องเที่ยว เกี่ยวกับสุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม อาจไม่มีการอ้างอิง

               --ความน่าเชื่อถือโดยมากอยู่ที่เอกสารอ้างอิงและตัวผู้เขียนเอง ซึ่งอาจระบุ

               ไว้ในบทความ หรือที่ปกของตำรา หรือในเชิงอรรถว่าเป็นใคร มีความ

               เชี่ยวชาญทางใด

อวัจนภาษา   --ตัวอักษร ถ้าเป็นตำราทั่วไป หรือบทความในวารสารวิชาการจะพิมพ์

                ด้วยตัวอักษรเรียบๆ ลักษณะเป็นทางการ เช่นแบบอังสนา หรือคอร์เดีย

                 --ถ้าเป็นตำราไอที หรือบทความกึ่งวิชาการอาจมีการใช้ตัวอักษรศิลปะ

               แทรกเพื่อให้น่าสนใจ  (แต่มักไม่ทั้งหมด)

                --ภาพประกอบ โดยปกติจะเป็นภาพจริง คือภาพถ่ายมากกว่าภาพวาด ถ้า

                เป็นภาพวาดมักจะอยู่ในรูปแผนที่หรือแผนภูมิ

                --ถ้าเป็นตำราไอทีมักมีภาพจริงที่ถ่ายมาจากหน้าจอประกอบทั้งเล่ม อาจมี

                ภาพการ์ตูนแทรกบ้างแต่ไม่มากนัก

สารที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงผู้อ่าน  --ถ้าเป็นตำราจะให้ความรู้ในสาขาวิชาที่ระบุ ถ้าเป็น

                บทความอาจมีสารรองแทรกอยู่ด้วยซึ่งต้องพิจารณาเอง               

ประโยชน์และคุณค่า (ประเมินค่า)  --คุณค่าโดยตรงคือความรู้ในสาขาที่ระบุ ส่วนคุณค่า

                 โดยอ้อมคือตัวอย่างวิธีการใช้ภาษาสารัตถคดีที่สละสลวย (แต่ไม่ใช่ตำรา 

                  ทุกเล่มหรือบทความทุกเรื่องจะเป็นตัวอย่างได้)


อ้างอิง

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2546). “ประเภทและลักษณะงานเขียน.” เอกสารประกอบ

                         การสอนวิชาการเขียนสารคดี. นครปฐม : ภาควิชาภาษาไทย

                         คณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง

                         สนามจันทร์.

ศุภรางศุ์ อินทรารุณ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบคำสอนรายวิชาปัญหาการใช้ภาษา

                         ไทย. ชลบุรี : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ

                          สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

หมายเลขบันทึก: 418029เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท