ทราบหรือไม่ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนั้น มีอัตราการตายและภาระโรค แตกต่างกันอย่างไร (ข้อมูลปี 2547)


ถ้าถามว่า ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนั้น มีอัตราการตายและภาระโรค
แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ข้อมูลจาก 2547, ความไม่เท่าเทียมทางภาระสุขภาพ การศึกษาภาระโรคระดับเขตของประเทศไทย
สามารถตอบคำถามท่านได้ครับ

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ภูมิภาคของของท่าน อยู่ในเขตใดในระบบสาธารณสุข

ภาคกลาง
เขต 1   นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สมุทธปราการ
เขต 2   สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครนายก สุพรรณบุรี
เขต 3   ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด จันทบุรี ระยอง
เขต 4   ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทธสาคร สมุทธสงคราม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขต 8   นครสวรรค์ อุทัยธานี ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร
เขต 9   พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์
เขต 10 ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน แม่ฮ่องสอน

ภาคใต้
เขต 11  นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่
เขต 12  สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

แล้วมาดูกันต่อตามตารางว่าในแต่ละภูมิภาค มีอัตราการตายและภาระโรคที่แตกต่างกันอย่างไร
...

ตารางแสดงประชากรและอัตราตายของประชากร จำแนกตามภูมิภาคและเขตสาธารณสุขของประเทศไทย พ.ศ.2547

ที่มา: 2547, ความไม่เท่าเทียมทางภาระสุขภาพ การศึกษาภาระโรคระดับเขตของประเทศไทย

...

เมื่อพิจารณาอัตราการตายจากตาราง จะพบว่า
ประชากรในเขต 10 มีอัตราการตายสูงที่สุด รองลงมาคือ เขต 2 และ เขต 9 ตามลำดับ
ซึ่งอัตราการตายในเขตสาธารณสุขที่ 10 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศประมาณ 1.5 เท่า

โดยอัตราการตายของประชากรในเขต 10 แยกเป็นเพศได้ดังนี้
ประชากรชาย 1,093 คน ต่อประชากรชายหนึ่งแสนคน
ประชากรหญิง 796 คน ต่อประชากรหญิงหนึ่งแสนคน

...

ในด้านสุขภาวะ ภาระด้านสุขภาพ
DALYs ต่อประชากร จำแนกตามเขตสาธารณสุขของประเทศไทย ปี พ.ศ.2547

ที่มา: 2547, ความไม่เท่าเทียมทางภาระสุขภาพ การศึกษาภาระโรคระดับเขตของประเทศไทย
...

จากภาพ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยภาระโรคของประเทศไทย
ประชากรชายในเขตสาธารณสุขที่ 2, 9, 10 และ 12 มีภาระโรคสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาระโรคของประเทศไทย
สำหรับประชากรหญิง พบว่า ทุกเขตในภาคเหนือ และเขตที่ 2 และ 4 มีภาระโรคสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
นอกนั้นในทุกเขตที่ไม่ได้กล่าวถึง มีภาระโรคที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
โดยกรุงเทพมหานคร ประชากรทั้งชายและหญิง มีภาระโรคต่ำที่สุด นั่นคือมีสุขภาพดีที่สุด


สำหรับสาเหตุของความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาระโรคและการตายก่อนวัยอันควรนั้น
มีรายละเอียดดังนี้ครับ

ในปี 2547 ปัจจัยใดเป็นสาเหตุทำให้ประชากรไทยเกิดภาระโรคมากที่สุด... คลิก

และ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาระโรคในประชากรโลกมากที่สุดคือ ? (ข้อมูลปี 2547)... คลิก

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

 

...

 

หมายเลขบันทึก: 417826เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2011 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท