saknarin sirburom


บุคคลออทิสติก ( Autistic Disorder )หรือ ออทิสซึม (Autism )

บุคคลออทิสติก ( Autistic Disorder )หรือ ออทิสซึม (Autism )เป็นโรคทางจิตเวช ที่สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก   ซึ่งยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน โดยเด็กจะมีลักษณะชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังคล้ายมีโลกของตัวเอง  ขาดการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยจะพบความผิดปกติ 4 ด้าน คือ 
                 1.พฤติกรรมซ้ำๆ 
                 2.พัฒนาการด้านสังคมผิดปกติ 
                 3.พัฒนาการด้านการสื่อความหมาย การพูด การใช้ภาษาผิดปกติ 
                 4.ขาดจินตนาการ
             สาเหตุ เชื่อว่ามีสาเหตุทางชีวภาพ เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติทางสมอง ภาวะการตั้งครรภ์ และการคลอดที่ผิดปกติ
       การวินิจฉัย   จากการวินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ครั้งที่ 4 ได้  กล่าวไว้ว่า
     เป็นความผิดปกติของพัฒนาการอย่างรุนแรง แสดงก่อนอายุ 3 ปี ประกอบด้วย

        1. ผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยพบลักษณะ 
            - ไม่สบตา ไม่แสดงสีหน้า ท่าทาง 
            - สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนตามวัยไม่ได้ 
            - ไม่อยากเล่นกับใคร 
            - แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม
         2. ผิดปกติทางการสื่อความหมาย โดยพบลักษณะ
            - พูดช้า หรือ ไม่พูด 
            - โต้ตอบยาวๆไม่ได้ 
            - พูดซ้ำๆ
            - เล่นสมมุติไม่ได้
          3. มีพฤติกรรมและความสนใจซ้ำๆโดยพบลักษณะ 
            - พฤติกรรมซ้ำๆทำอยู่สิ่งเดียว 
            - ไม่ยอมให้เปลี่ยนกิจวัตร ทำตามขั้นตอน ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง 
            - หมุนตัว โยกตัว เขย่งปลายเท้า เคลื่อนไหวซ้ำๆ
            - สนใจบางส่วนของของเล่น เช่น ล้อรถ

 

         การดูแลรักษา บุคคลออทิสติก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา ที่จำเพาะเจาะจงให้หายขาด  ได้แก่   สามารถที่จะช่วยเหลือให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โดยมีแนวทางในการดูแลรักษาผู้เป็นบุคคลออทิสติกดังนี้ 
          1. การส่งเสริมศํกยภาพของครอบครัว ( Family Empowerment ) สถาบันครอบครัวมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการดูแลเด็ก  เนื่องจากเด็กจะอยู่กับครอบครัวมากที่สุด การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ปกครอง   และพี่น้องของผู้ที่เป็นบุคคลออทิสติกเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากจะลดข้อสงสัยการประเมินปัญหา แล้วยังช่วยส่งเสริมให้กระบวนการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น            
          2 .การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention )
    การส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ ในระยะแรกเริ่มควรให้ตั้งแต่เด็กอายุน้อยหรือแรกพบความผิดปกติ   โดยทำอย่างเหมาะสม  และต่อเนื่องกิจกรรมที่จัดควรให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กด้วย   เด็กควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน  เพื่อให้เกิดความสมดุล   จะทำให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
          3.พฤติกรรมบำบัด ( Behavioral Therapy ) พฤติกรรมบำบัดเป็นการฝึก  ปรับ พฤติกรรม ( Behavioral Modification Procedure )และการวิเคราะห์ พฤติกรรมแบบประยุกต์ ( Applied Behavion Analysis )  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  และสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ เน้นการฝึกตัวต่อตัว 
          4.การฝึกและแก้ไขการพูด ( Speech Therapy )การพูดเป็นวิธีการสื่อความหมาย
 ที่สำคัญที่สุด แต่ถ้ายังไม่สามารถพูดได้ก็จำเป็นต้องหาวิธีการอื่นมาทดแทนการพูด เพื่อให้สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ซึ่งเรียกวิธีการเหล่านี้ว่า
 การสื่อความหมายทดแทน( Augmentative and Alternative Communication ;AAC ) เพื่อใช้ทดแทนการพูดเป็นการชั่วคราว 
          5.การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน ( Activity of  Daily Living Training )     
  การฝึกให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องกิจวัตรประจำวัน   มีความสำคัญมาก เพื่อให้เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เต็มตามความสามารถของตนเอง  หรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นน้อยที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์

            -  เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ตามศักยภาพ
            -  เพื่อลดการดูแลของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง            
            -  เพื่อส่งเสริมให้เด็กปรับตัวเข้าหาสังคมได้
            -  เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใน เพื่อเขาสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวของเขาเอง 

          6.การฝึกฝนทักษะทางสังคม ( Social skill Training ) ทักษะทางสังคมเป็นความบกพร่องที่สำคัญของบุคคลออทิสติก การฝึกทักษะสังคมนี้สามารถทำได้      โดยจำลองเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางสังคมต่างๆให้    เพื่อให้ทดลองปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ หรือการสอนโดยจดจำรูปแบบสนทนา ในสถานการณ์ต่างๆ     นำมาใช้โดยตรง

 

            7. การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program )   เป็นการจัดทำ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล      เพื่อเป็นการวางแผนในการฝึกทักษะให้เหมาะสมกับความต้องการเด็กแต่ละคน
           8.การรักษาด้วยยา ( Pharmacotherapy )   เด็กในกลุ่มนี้บางกรณีจำเป็นต้องอาศัยการใช้ยาโดยการวินิจฉัยของแพทย์ควบคู่ไปกับการบำบัดฟื้นฟู      โดยทั่วไปจะพบการใช้ยาใน  3 กลุ่ม อาการ  คือ
            1. ยาควบคุมพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การทำร้ายตนเอง การทำร้ายผู้อื่น ( thioridazine ,haloperidol , Riseridone )
            2. ยากันชักเพราะมีภาวะลมชักร่วมด้วยซึ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย
    ( sodium valproate , carbamazcpine )
            3. ยาควบคุมสมาธิในเด็กที่มีสมาธิสั้นร่วมด้วย ( Methylphenidate )

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 417697เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2011 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท