เตรียมความพร้อมสำหรับคนสอบบบรรจุครู


ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุดที่ 1 (42 ข้อ) ถาม -ตอบ พ.ร.บข้อมูลข่าวสาร 2540

ข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

ข้อสอบ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีผลบังคับเมื่อใด (ภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
2. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้อมมูลข่าวสารของข้าราชการ พ.ศ. 2540 (นายกรัฐมนตรี)
3. ข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติของราชการที่หากเปิดเผยออกไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หน่วยงานของรัฐ จะต้องเก็บไว้นานเท่าใด ( 20 ปี)
4. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่หากเปิดเผยออกไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หน่วยงานของรัฐจะต้องเก็บไว้อย่างน้อยกี่ปี ( 75 ปี)
5. ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือส่งวัสดุเอกสาร ตามคำสั่งของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารจะมีโทษอย่างไร หรือไม่ ( มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท)
6. ข้อมูลข่าวสารของราชการต่อไปนี้ ไม่ต้องตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (สัญญาสัมปทาน)
7. ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยเป็นการเฉพาะ คือ (ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล)
8. ข้อมูลข่าวสารต่อไปนี้ จะต้องตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา( 1.มติคณะรัฐมนตรี 2.โครงสร้างและการจัดองค์การในการดำเนินงาน 3.สถานที่ที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
9. ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ได้แก่ ( 1.มติคณะรัฐมนตรี 2.โครงสร้างและการจัดองค์การในการดำเนินงาน 3. คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน)
10. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา จะต้องดำเนินการอย่างไร (มอบให้แก่หอจดหมายเหตุ)
11. การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐสามารถกระทำได้หรือไม่ (1.เปิดเผยได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน 2. เปิดเผยได้ หากข้อมูลนั้นนำไปใช้ประโยชน์การศึกษาวิจัย
12. ข้อมูลข่าวสารราชการหมายถึง (ข้อมูลที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับรัฐหรือเอกชน
13. พระราชบัญญัตินี้ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( 90 วัน)
14. เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ( ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ)
15. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยกี่ข้อลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ( 5 ข้อ)
16. ข้อมูลชนิดใดที่ไม่ใช่ข้อมูลที่ต้องส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ อาชญากรรม)
17. หน่วยงานราชการจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารไว้เอง เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยจะต้องตกลงกับหน่วยงานใด ( หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
18. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่ไม่ใช่คณะกรรมการโดยตำแหน่ง คือ ( ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
19. ใครเป็น คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของข้าราชการ(1.เลขาฯคณะกรรมการกฤษฎีกา 2. เลขาฯสภาผู้แทนราษฎร)
20. ใครเป็นคนแต่งตั้งเลขาฯและผู้ช่วยเลขาฯ ๕ระกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
21. ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลง ( 30 วัน)
22. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัด หรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด ต้องระวางโทษเท่าไหร่ (จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
23. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องโทษอย่างไร ( จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
24. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาจากภาครัฐและภาคเอกชนมีจำนวนกี่คน ( 9 คน )
25. ใครเป็นประธาน ๕ระกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ( เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
26. กรณีมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการฯให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ( 30 วัน)
27. กรณีการเปิดเผยข้อมูลอาจกระทบถึงผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่แจ้งผู้นั้นไม่น้อยกว่ากี่วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ( 15 วัน)
28. บุคคล หมายถึง( บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่อยู่ในประเทศไทย)
29. ใครเป็นผู้เสนอรายชื่อแต่งตั้ง คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ)
30. เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเพราะมีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกี่วัน( 15 วัน)
31. ประเภทข้อมูลข่าวสารจำแนกได้กี่ประเภท ( 4 ประเภท)
32. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ตั้งอยู่ในสำนักงานใด (สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี)
33. กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมด แล้วต้องไม่เกินกี่วัน ( 60 วัน)
34. ข้อมูลข่าวสารของราชการใดมีสภาพบุบสลายง่าย และมีผู้ขอข้อมูลดังกล่าวมาจะทำอย่างไร ( อาจจัดทำสำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล)
35. ผลการพิจารณา หรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชนรวมทั้งความเห็นขัดแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัย เป็นข้อมูลแบบใด ( ข้อมูลที่วัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้)
36. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา คือ ( โครงสร้าง และการจัดการในการดำเนินงาน)
37. กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของทางราชการ (ตาม ม.14) ให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเมื่อครบกี่ปี (75 ปี)
38. กรณี (ตาม ม.15 ) ให้ส่งข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเมื่อครบกี่ปี (20 ปี)
39. ผู้ใดพบว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาสามารถทำการใดได้บ้าง ( ร้องเรียนคณะกรรมการข้อมูลของข่าวสาร)
40. กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอให้ผู้นั้นมีสิทธิ ( อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร)
41. คนต่างด้าวมีสิทธิขอเข้าตรวจดูข้อมูลที่เก็บไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามที่กำหนดไว้อย่างไร( กฎกระทรวง)
42. กรณีข้อมูลที่ไม่ต้องเปิดเผย กรณีอื่นตามที่กำหนดไว้อย่างไร ( พระราชกฤษฎีกา

 

หมายเลขบันทึก: 416731เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2010 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ ขอชุดอื่นด้วยนะครับ ...

ขอบคุณมากนะคะท่านรองฯ ได้ความรู้ดี ๆ เพิ่มอีกเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท