Roles of civil society organization (CSO)


Roles of civil society organization (CSO)

Roles of civil society organization (CSO)

บรรยายโดย 

ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

บันทึกโดย: นายชวลิต  กงเพชร การพัฒนาสุขภาพชุมชน ป.โท

 

                ประชาสังคม เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากตะวันตก เป็นส่วนร่วมของสังคมที่ไม่ใช่รัฐ ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ความเป็นปัจเจกหรือความเป็นส่วนตัว แต่เป็นส่วนของสังคมที่เชื่อมอยู่ระหว่างภาครัฐกับภาคปัจเจกบุคคล เช่น กลุ่ม องค์กร สมาคม มูลนิธิ กลุ่มอาชีพ วัด โรงเรียน สถาบันต่าง ๆ  ที่ซึ่งไม่ได้ถูกครอบงำโดยรัฐ  เมื่อมีการนำแนวคิดประชาสังคมเข้ามาใช้ในบริบทของสังคมไทยซึ่งมีพัฒนาการที่แตกต่างจากทางตะวันตก (เป็นอย่างมาก) ความหมายและวัตถุประสงค์ จึงแตกต่างไปตามผู้ใช้ เช่น

     1.       พลังประชาชนที่เข้มแข็งทางการเมือง ที่มีอำนาจในการต่อรองกับรัฐ คนกลุ่มนี้ควรจะร่วมกันด้วยจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง  ควรแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีอารยะ หรือ การแก้ไขในแบบสังคมที่เจริญแล้ว

     2.       พลังแห่งความสามัคคีและสมานฉันท์ ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบของสังคม การร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพียงเพื่อทุกฝ่ายทำงานร่วมกันด้วยความราบรื่น ในลักษณะหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน ถักทอทั้งแนวดิ่ง อันหมายถึง โครงสร้างอำนาจที่เป็น ทางการ และ แนวราบซึ่ง หมายถึงพันธมิตร/เพื่อน/เครือข่ายเข้าหากัน

     3.       พลังชุมชุน จากแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่ว่า การทำงานร่วมกันจะต้องประกอบด้วย เบญจภาคีทั้ง 5 นั่นคือ ราชการ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชน และนักวิชาการ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีรากฐานมาจากชุมชนที่เข้มแข็งด้วย ดังความหมายของการเป็น "ชุมชน" ในที่นี้ ว่า "การที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมี วัตถุประสงค์ร่วมกัน มีอุดมคติร่วมกันหรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสารกัน หรือมีการรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความรัก มีมิตรภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการ ปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างและมีระบบการจัดการในระดับกลุ่ม" (ประเวศ วะสี 2539)

               ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ประชาสังคม Civil Society เป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มคนเพื่อแก้ปัญหา ภายใต้จิตสำนึกร่วมในการแก้ปัญหาสังคมให้หมดไป  เน้นการแก้ปัญหามวลรวมของสังคมเป็นใหญ่ โดยไม่สนว่าจะสร้างความพอใจหรือไม่  โดยมุ่งเน้นถึงประโยชน์ระยะยาวของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ เมื่อใดที่มวลชนเกิดความคิดว่า พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาอำนาจของรัฐหรือผู้ปกครอง เพราะความไม่มีระบบในระบอบการปกครองของผู้นำ หรือความไม่มีเหตุผลของผู้กุมอำนาจ หรือด้วยสาเหตุใดก็ตาม จากความคิดกลายเป็นแรงผลักดัน จากแรงผลักดันเมื่อถูกกระตุ้น ก่อให้เกิด พลังมวลชนที่มีอำนาจต่อรองกับรัฐ ด้วยความกล้า ... กล้าที่จะต่อสู้ด้วยสันติวิธี ... มุ่งเน้นทำประโยชน์เพื่อประชาชน สังคม โดยไม่หวังผลกำไล หรือผลตอนแทน มีการบริหารงานอิสระไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ มีสภาพความคล่องตัวสูง ที่สำคัญมีการทำงานโดยเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมประสานระหว่างภาครัฐ และประชาชน

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างองค์กรภาคเอกชนที่มีผลการทำงานเป็นประโยชน์ทั้งในและต่างประเทศ

-       สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

-       สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (สวรส.)

-       สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

-       สำนัดงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

-       The United Nations Children's Fund – UNICEF

-       องค์การสหประชาชาติ UN

-       World Health Organization ตัวย่อ WHO

-       องค์กรภาคเอกชน เช่น ประชาสังคม ร่วมถึงองกรค์ อิสระมากมาย

แต่ละองค์กรมีการทำงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริการประชาชน,ให้ทุนอุดหนุน,ช่วยเหลือในด้านการศึกษา การทำวิจัย การบูรณะซ่อมแซม,ให้บริการด้านสุขภาพ พัฒนาระบบ และฟื้นฟู

 

                จากกี่เรียนรู้ผ่าน วีดีทัศน์ ของมูลนิธิขวัญข้าว : ทำให้เห็นถึงความตั้งใจในการให้ความรู้แก่เกษตรกร ที่ไม่ใช่แต่เพียงบอกว่าอันไหนดี ไม่ดี แต่มีการร่วมเข้าไปเรียนรู้ระยะยาวถึง 3 เดือน ต่อหนึ่งการอบรม เริ่มตั้งแต่ให้ความรู้ในห้องเรียนถึงวิธีการทำนา โดยดึงเอาประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวทุกคนออกมา แล้วมาเพิ่มพูนเทคนิคการปลูกข้าวแบบไร้สานเคมี ร่วมถึงการลงมือปฎิบัติทั้งการเปรียบเทียบการปลูกแบบเดิมที่เคยทำมากับแบบไร้สารเคมี คนได้ผลออกมาวิเคระห์ และที่สำคัญมีระบบพี่เลี้ยงมาคอยดูแล พี่เลี้ยงก็คือรุ่นพี่ที่เคยอบบรมไปแล้ว ถือว่าเป็นการทำงานที่เห็นผล และได้ประโยชน์จริงๆ ของภาคประชาสังคมหรือองค์กรอิสระ

คำสำคัญ (Tags): #Roles of civil society organization (CSO)
หมายเลขบันทึก: 416639เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท