Strategic planning and balanced scorecard


Strategic planning and balanced scorecard

Strategic planning and balanced scorecard

บรรยายโดย

ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

บันทึกโดย: นายชวลิต  กงเพชร การพัฒนาสุขภาพชุมชน ป.โท

 Balanced Scorecard คือการบริหารจัดการให้สมดุลว่า ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน

จะต้องมีการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ขั้นสูงสุดลงสู่ทุกหน่วยงานขององค์กร มีการติดต่อสื่อสารระหว่าง

บุคลากรในองค์กรที่เปิดกว้าง ตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการให้อำนาจแก่พนักงานในการดูแล

รับผิดชอบการปฏิบัติงานของพวกเขาด้วย

จุดเริ่มต้นมาจากการที่ผู้บริหารระดับสูงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทิศทางที่ดีก่อน ระดับล่างจึงจะเปลี่ยนแปลงตามได้การก้าวไปสู่จุดนั้นได้จะต้องผ่าน 5 กลยุทธ์หลักสำคัญที่ " Robert Kaplan " กล่าวไว้ว่า

1.Mobilize ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวน ความคิด เคลื่อนพล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

2.Translate มีการถ่ายทอดแปลความหมาย ผ่านเครื่องมือสำคัญที่เรียกว่าแผนที่กลยุทธ์หรือ Strategy Map

เพื่อให้การบริหารจัดการในองค์กรมีการเชื่อมโยงกันได้

3.Alignment ทำให้ทุกหน่วยงานมีการผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือความรู้สึกเป็นทีม มีความรักองค์กร

4.Motivate มีแรงกระตุ้น ดลใจเพื่อให้ทุกคนทำตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้

5.Govern ดูแลให้ทุกอย่างที่ทำมาแล้วมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                    การวางแผนกลยุทธ์ / แผนยุทธศาสตร์ : หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยนำเอาข้อมูลข่าวสาร (Information)  ในอดีตมากำหนดหรือพยากรณ์อนาคต ดังนั้นแนวคิดของการวางแผนจึงมีลักษณะเป็น  “ศาสตร์” ที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Information)  ที่มีความแม่นตรง และเชื่อถือได้ และจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกันตามลำดับ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผน  มีความรู้ และความเข้าใจที่จะสามารถนำแผนไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จได้

 

                     องค์ประกอบของการวางแผน

                            1 การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ   ซึ่งมีหลายระดับ  คือ

    - จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals)  เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาข้างหน้า ซึ่งมักจะมองในรูปของผลลัพธ์ (Outcomes )  ในอนาคตกำหนดอย่างกว้างๆ

                            -  วัตถุประสงค์ (Objective)   เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงจุดมุ่งหมาย (Goal) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อง่ายในการนำไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์จึงเป็นการกำหนดผลผลิต (Output) ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ๆ แต่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้

                            -  เป้าหมาย (Targets) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงวัตถุประสงค์ให้เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น เป้าหมายจึงเป็นการกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนโดยจะกำหนดเป็นหน่วยนับที่วัดผลได้เชิงปริมาณ และกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุผลสำเร็จนั้นด้วย

    2 วิธีการและกระบวนการ (Means and Process)  เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากการนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และกำหนดเป็นทางเลือก (Alternative)  สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติ  หรือกลวิธี (Strategy)  ให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ จากนั้นจะถ่ายทอดออกมาเป็นแผนงาน (Programs) และโครงการ (Projects) ที่เชื่อมโยงกัน  โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก  คือ

    1) กลวิธีการปฏิบัติ หรือมาตรการ (Strategy)  เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้บรรลุจุดหมาย (Ends)  ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2) แผนงาน (Programs)  และโครงการ (Projects)  เป็นการกำหนดแนวทางการกระทำที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น   ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประเด็นในการเขียนที่ชัดเจน ครอบคลุม   และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

                            3  ทรัพยากร (Resources)  และค่าใช้จ่าย (Cost)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ   ซึ่งได้แก่  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์   ซึ่งผู้วางแผนจะต้องระบุให้ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ “มิใช่เขียนแผนแบบวาดวิมานในอากาศ” หรือ “เขียนแผนแบบเพ้อฝัน”

                            4  การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงกรรมวิธีในการตัดสินใจเลือกแผนงานและโครงการไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามจุดหมาย (Ends) ที่กำหนดไว้  ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องอาศัยกลยุทธ์หลายอย่างทั้งกลยุทธ์ภายในองค์การและกลยุทธ์ภายนอกองค์การ

                            5  การประเมินผลแผน (Evaluation)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการตรวจสอบการควบคุมและการวัดผลการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้ทราบถึง ความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดของแผนนั้น ๆ  เพื่อจะได้ปรับปรุงแผนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

จากการถอดบทเรียนการชม วีดีโอ  การทำแผนแม่บทชุมชน ของชุมชนไม้เรียง

                    จากการศึกษาผ่าน วีดีทัศน์ ก็สามารถบอกได้ว่า ชุมชนไม้เรียงมีนำที่มีความกล้า และคิดวิเคราะห์ปัญหาท้องถิ่นของตนอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนมองเห็นปัญหาร่วมกัน ชุมชนไม้เรียงได้มีเป้าหมายร่วมกันว่า จะพัฒนาระบบชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรมชุมชน เน้นการช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด ลดการพึ่งพาภายนอก ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ หรือที่ชุมชนเรียกกันว่า แผนแม่บทชุมชน

 

คำสำคัญ (Tags): #Strategic planning and balanced scorecard
หมายเลขบันทึก: 416638เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท