EMS and referral management


EMS and referral management

EMS and referral management

(ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน)

 บรรยายโดย

รศ.ดร.สมเดช พินิจสุนทร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

บันทึกโดย: นายชวลิต  กงเพชร การพัฒนาสุขภาพชุมชน ป.โท

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(Emergency Medical Services - EMS)
ซึ่งเป็นระบบให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย และผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุก่อนนำส่งโรงพยาบาล(Pre-hospital Care) ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและพิการได้จริง ซึ่งในเวลานี้ นอกเหนือจากประเทศในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำด้านนี้ ประเทศในเอเชียหลายประเทศก็ได้นำระบบนี้ไปใช้ และประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ในประเทศไทย แม้จะมีความพยายามในเรื่องดังกล่าวมา 10-20 ปี แต่ก็กล่าวได้ว่ายังไม่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐานการบริการเดียวกันทั่วประเทศได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับ หลักสูตรอบรมผู้ช่วยเหลือ และความตื่นตัวของประชาชนยังมีไม่พอ การช่วยเหลือในความคิดของคนทั่วไปจึงคงมุ่งไปที่การเคลื่อนย้ายคนป่วยส่งโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งเรียกได้ว่าถ้าไม่ถึงห้องฉุกเฉินก็จะไม่มีการรักษาพยาบาลใดๆ ซึ่งอาจจะทำให้คนป่วยมีอาการแย่ลง หรือผู้บาดเจ็บบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นจากการเคลื่อนย้ายที่ผิดวิธี

ในที่สุด จึงได้มีความพยายามของหน่วยงานบางกลุ่มที่จัดตั้งระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บของตนเองขึ้น โดยกำหนดมาตรฐานของตนในด้านต่างๆขึ้นมาเอง

การส่งต่อ (refer) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่  

1) Investigation 2) Proper Management 3) Care After Cure และ 4) Emergency Management ซึ่งการส่งต่อจะต้องมีประสานงานล่วงหน้า เพื่อสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด

EMS (Emergency Medical Service) ปัจจุบันประชาชนสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1669 (โทรฟรี) เรียกหน่วยกู้ชีพได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วน เช่น เกิดเหตุการณ์อะไร มีอาการบาดเจ็บอย่างไร มีจำนวนผู้ป่วยเท่าใด สถานที่และเส้นทางที่สะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้แจ้ง เพื่อความสะดวกในเตรียมการช่วยเหลือที่เหมาะสม

สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน คือการสร้างการทำงานเป็นทีมในการออกไปให้บริการประชาชน ในภาวการณ์ที่แตกต่างกัน และความชำนาญการรวดเร็วในการปฏิบัติงาน จึงได้มีการจัดการแข่งขัน  EMS RALLY ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีโดยฐานและเกณพิจารณาจากความถูกต้องในการปฏิบัติการช่วยเหลือ EMS ทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ 1) ช่วยฟื้นคืนชีพชั้นสูง 2) อุบัติเหตุจราจร  3) คลอดฉุกเฉิน 4) เด็กจมน้ำ 5) ควบคุมกลุ่มฝูงชน 6) แผลถูกแทง และ 7)ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

ในอนาคตการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องพลักดันให้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และจัดทำระบบรองรับการบริการประชาชน อย่างน้อยที่สุดมีระบบส่งต่อที่ปลอดภัยและรวดเร็วได้ตามมาตรฐาน

คำสำคัญ (Tags): #EMS and referral management
หมายเลขบันทึก: 416637เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท