Approaches to Health Development


Approaches to Health Development

Approaches to Health Development

แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพประชากร บรรยายโดย

ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

บันทึกโดย: นายชวลิต  กงเพชร การพัฒนาสุขภาพชุมชน ป.โท

 

สุขภาพตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (WHO,1940) หมายถึงภาวะความสมบูรณ์

 (สุขภาวะ หรือ Well Being) ของร่างกายและจิตใจ และความเป็นอยู่ทางสังคม มิได้หมายถึงแต่เพียงปราศจากโรคทางกายและทางจิตเท่านั้น แต่  สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ ทางปัญญา(จิตวิญญาน) และสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล สุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่กว้างขวางและครอบคลุมมิใช่เป็นแต่เพียงเรื่องโรค ยา และโรงพยาบาลอย่างที่เข้าใจกันแคบๆ แต่หมายรวมถึงคุณภาพชีวิตนับแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต (เชิงตะกอน) ซึ่งควรมีลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

(1) เกิดและเติบโตขึ้นในครอบครัวที่มีความพร้อมและอบอุ่น

(2) ได้รับการพัฒนาทั้งทางกาย ทางใจ และสติปัญญาดีพอที่จะปรับตัว และอยู่ในโลกที่

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถตัดสินใจในการบริโภคและมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการมี

สุขภาพดี มีจิตใจสบาย สงบ

(3) มีหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่สมเหตุสมผล สะดวก คุณภาพดี โดยมี

ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและเป็นธรรม

(4) อยู่ในชุมชนที่เข้มแข็ง มีการรวมพลัง และมีความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลสุขภาพของ

ตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ

(5) ดำรงชีวิติและประกอบอาชีพ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย

(6) มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ไม่เจ็บป่วยอย่างไม่สมเหตุสมผล และตายอย่างสมศักดิ์ศรีของ

ความเป็นมนุษย์

 

ระบบสุขภาพของไทยเป็นอย่างไร

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้ชื่อว่ามีระบบการรักษาพยาบาลที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในเอเชียและกำลังพัฒนาสู่ “ความเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในภูมิภาค” เพื่อรับลูกค้าจากต่างประเทศ อัน

สามารถนำเงินรายได้เข้ามาพัฒนาประเทศได้ดี แต่หากย้อนมองดูระบบสาธารณสุขในประเทศแล้ว ก็จะ

พบว่ายังมีปัญหาทั้งทางด้าน ความเสมอภาค คุณภาพ และการเข้าถึง การรักษาพยาบาล แม้ว่าเราจะมี

ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วก็ตามความทุกข์ของคนไทยในการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลยังไม่ได้รับการแก้ไขในหลายๆ ด้าน หากท่านไม่เจ็บป่วยก็คงจะไม่รู้ว่าความทุกข์ในการรักษาเป็นเช่นใด ทุกข์จากการรักษาพยาบาลเริ่มต้นจากการรอคอย เนื่องจากระบบสุขภาพที่เน้นการพึ่งพาแพทย์ไม่ว่าเจ็บป่วยเล็กน้อยเพียงใดก็ต้องพบแพทย์ ยิ่งรักษาฟรียิ่งกระตุ้นให้มีจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นในขณะที่แพทย์และสถานบริการมีจำนวนจำกัด แพทย์คนหนึ่งอาจต้องตรวจคนไข้ถึงวันละ 100-200 คน แพทย์อาจใช้เวลาตรวจวินิจฉัยคนไข้เพียงคนละ 1 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีทุกข์เพิ่มขึ้นจากความไม่รู้ว่าจะหายหรือไม่หายและต้องทำอย่างไรต่อไป ทุกข์ทางใจที่แพทย์ไม่รู้ เพราะแพทย์จะมุ่งรักษาโรคมากกว่ารักษาคนนี่คือทุกข์ของโครงสร้างระบบการให้บริการสาธารณสุขที่คนไทยยังต้องแบบรับ

 

ทิศทางการพัฒนาสุขภาพตาม "กฎบัตรออตตาวา" (The OTTAWA Charter) ได้นำเสนอกลยุทธ์

แห่งการสร้างเสริมสุขภาพไว้ 5 ประการ คือ

  1. การให้การศึกษา และข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณสุข (Public education and public information) การให้การศึกษา และให้ข้อมูลแก่สาธารณะ เป็นกลยุทธ์พื้นฐานของงานส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนี้อาจทำได้ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบันนี้
    1. การชี้แนะ (Advocate)สุขภาพดี เป็นทรัพยากรที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ และเป็นมิติสำคัญอันหนึ่ง ของคุณภาพชีวิต ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม และชีววิทยา สามารถให้ทั้งคุณ และโทษต่อสุขภาพ งานส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะทำให้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว เป็นผลดี โดยการชี้แนะเพื่อสุขภาพ
    2. การตลาดสังคม (Social marketing)การเปลี่ยนแปลงของสังคมในเรื่องสุขภาพ อาจทำได้โดยนำหลักวิชาการตลาด ซึ่งใช้ได้ผลในธุรกิจทั่วไป มาประยุกต์ขึ้น เป็นการตลาดสังคม ตัวอย่างในประเทศไทยของการตลาดสังคม ที่ประสบความสำเร็จ ก็คือ โครงการวางแผนครอบครัว ซึ่งได้ดำเนินการ จนสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้
    3. การทำให้มีความสามารถ (Enable)การส่งเสริมสุขภาพ มุ่งที่การทำให้มีความเสมอภาคในสุขภาพ (Equity in health) ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะลดความแตกต่างในสถานภาพทางสุขภาพ (Health status) และให้มีโอกาส และทรัพยากรเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนทั้งมวล มีความสามารถใช้ศักยภาพทางสุขภาพ (Health potential) ของตนเองได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงการมีหลักมั่นคง ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทักษะชีวิต และโอกาสที่จะตัดสินใจเลือก ประชาชนจะไม่สามารถบรรลุถึง ศักยภาพทางสุขภาพได้สูงสุด จนกว่าเขาจะสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่กำหนดสุขภาพของเขา ทั้งนี้ต้องใช้ชายกับหญิง อย่างเท่าเทียมกันด้วย
    4. การไกล่เกลี่ย (Mediate)สิ่งที่ได้มาเพื่อสุขภาพที่ดี มิได้เกิดจากภาคสุขภาพแต่ฝ่ายเดียวเสมอไป อุปสงค์ทางการส่งเสริมสุขภาพ ต้องการปฏิบัติการประสานกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ โดยรัฐบาล ภาคสุขภาพ ภาคสังคม ภาคเศรษฐกิจ โดยองค์กรที่มิใช่รัฐ โดยองค์กรท้องถิ่น โดยภาคอุตสาหกรรม และโดยสื่อ ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความเกี่ยวข้องกัน ในฐานะปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน นักวิชาชีพ กลุ่มสังคม และบุคลากรทางสุขภาพ มีความรับผิดชอบสำคัญ ในการไกล่เกลี่ยระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคม เพื่อผลดีต่อสุขภาพ

กลยุทธ์และโครงการ การส่งเสริมสุขภาพจำเป็นต้องได้รับการปรับ ให้เข้ากับความต้องการของท้องถิ่น และความเป็นไปได้ของแต่ละประเทศ และภาค โดยคำนึงถึงระบบสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน กฎบัตรออตตาวาได้จำแนกวิธีปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพออกเป็น 5 ประเภท

  1. สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy) การส่งเสริมสุขภาพออกไปนอกขอบเขต การบริบาลทางสุขภาพ (Health care) การส่งเสริมสุขภาพนำสุขภาพ เข้าไปอยู่ในวาระของผู้กำหนดนโยบาย ในทุกภาค และทุกระดับ เป็นการนำให้เขาเหล่านั้น ได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการตัดสินใจของเขา และให้เขาได้รับว่า เป็นความรับผิดชอบเพื่อสุขภาพ นโยบายส่งเสริมสุขภาพรวมแนวทางหลายแนว ที่เสริมซึ่งกันและกัน คือ การออกกฎหมาย มาตรการการเงิน การจัดเก็บภาษี และการเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นการดำเนินการประสานกัน ซึ่งนำไปสู่สุขภาพ รายได้ และนโยบายสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น ปฏิบัติการร่วมกัน ช่วยให้เกิดสินค้า และบริการ ที่ปลอดภัยกว่า และเอื้อต่อสุขภาพมากกว่า และสภาพแวดล้อมที่สะอาดกว่า และน่าอภิรมย์กว่า นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ต้องการแสวงหาอุปสรรคต่างๆ ในภาคที่มิใช่สุขภาพ (Non-health sectors) และวิธีการที่จะขจัดอุปสรรคเหล่านี้ เป้าหมายต้องเป็นว่า ทำให้การเลือกเพื่อสุขภาพของผู้กำหนดนโยบาย เป็นการเลือกที่ง่ายด้วย
  2. สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนสุขภาพ (Create supportive environment for health) สังคมของเรามีความสลับซับซ้อน และมีปฏิสัมพันธ์กัน สุขภาพไม่อาจแยกจากเป้าหมายอื่นได้ ความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา ระหว่างประชาชน กับสภาพแวดล้อมของเขา เป็นรากฐานของแนวทางสังคม-นิเวศวิทยา ต่อสุขภาพ หลักการโดยทั่วไปของโลก ของชาติ ของภาค และของชุมชนที่เหมือนกัน คือ จำต้องสนับสนุนให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกัน คือ ต้องดูแลซึ่งกันและกัน ดูแลชุมชนของเรา และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของเรา การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั่วโลก จะต้องได้รับการเน้นหนัก ให้เป็นความรับผิดชอบของโลกใบนี้

การเปลี่ยนแปลงในลีลาชีวิต งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพ งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ ควรจะเป็นแหล่งเพาะสุขภาพของประชาชน วิธีการบริหารงานของสังคม ควร สร้างสรรค์ สังคมที่มีสุขภาพดี การส่งเสริมสุขภาพก่อให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ และสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เร้าใจ พอใจ และน่าอภิรมย์

การประเมินอย่างเป็นระบบของผลกระทบ ต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อม ที่เปลียนแปลงอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาอย่างยิ่ง ในเรื่องของเทคโนโลยี งาน การผลิตพลังงาน และความเป็นเขตเมือง) เป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องติดตามด้วยปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลเป็นบวกต่อสุขภาพ ของสาธารณะ การปกป้องสภาพแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องอยู่ในกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ

  1. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน (Strength community action) การส่งเสริมสุขภาพทำได้ โดยผ่านทางปฏิบัติการชุมชนที่มั่นคง และมีประสิทธิผล ในการจัดลำดับความสำคัญ การตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น หัวใจของขบวนการนี้คือ การเพิ่มอำนาจให้ชุมชน ให้มีความเป็นเจ้าของ และควบคุมกิจกรรม และโชคชะตาของชุมชนเอง การพัฒนาชุมชนเป็นการดึงเอาทรัพยากรบุคคล และวัตถุในชุมชน มาเสริมการพึ่งพาตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม และเพื่อพัฒนาระบบที่ยืดหยุ่น ในการสร้างความเข้มแข็ง ในการให้สาธารณะมีส่วนร่วม และชี้นำในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งนี้ต้องมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง เข้าถึงโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาพ รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องทุน
  2. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skill) การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนการพัฒนาบุคคล และสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเพื่อสุขภาพ และการเสริมทักษะชีวิต ด้วยการกระทำเหล่านี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงเพิ่มทางเลือก ให้ประชาชนใช้ควบคุมสุขภาพของตนเอง และสิ่งแวดล้อมของเขา นอกจากนั้น ยังสามารถเลือกสิ่งที่เป็นคุณต่อสุขภาพอีกด้วย เป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำให้ประชาชน มีความสามารถจะเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเตรียมตนเองสำหรับช่วงต่างๆ และเพื่อเผชิญกับโรคเรื้อรัง และการบาดเจ็บ สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้เกิดมีขึ้น ในโรงเรียน บ้าน สถานที่ทำงาน และที่ตั้งชุมชน ปฏิบัติการนี้ต้องการ องค์กรศึกษา วิชาชีพ พาณิชย์ และอาสาสมัคร และภายในของสถาบันเอง
  3. ปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ (Reorient health services) ในบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ซึ่งแบ่งกันรับผิดชอบ โดยบุคคล กลุ่มชุมชน นักวิชาชีพสุขภาพ สถาบันบริการสุขภาพ และรัฐบาล ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน เพื่อระบบบริบาลสุขภาพ ซึ่งนำมาซึ่งสุขภาพดี

บทบาทของภาคสุขภาพต้องเคลื่อนมากขึ้น ไปในทิศทางของการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการให้บริการทางคลินิก และการรักษาบริการสุขภาพ จำต้องรับเอาภาระกิจ ซึ่งขยายกว้างออกไป ด้วยความเอาใจใส่ และเคารพต่อความต้องการทางวัฒนธรรม ภาระกิจนี้ควรสนับสนุนความต้องการของปัจเจกบุคคล และชุมชน เพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีกว่า และเปิดช่องทางติดต่อระหว่างภาคสุขภาพ และองค์ประกอบทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม

การปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ ยังต้องการความเอาในใส่อย่างมากในการวิจัยสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงในการศึกษา อบรมวิชาชีพ เรื่องนี้ต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเจตนคติ และการจัดองค์กรของบริการสุขภาพ ซึ่งต้องเปลี่ยนจุดมุ่ง ไปยังความต้องการทั้งหมด ของปัจเจกบุคคลในฐานะคนทั้งคน

คำสำคัญ (Tags): #approaches to health development
หมายเลขบันทึก: 416633เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท