1ปีครึ่งกับการเรียน family medicine ในระบบ in-service training ตอนที่4


รุ่นแรกของโครงการปฏิบัติงานเพื่อสอบวุฒิบัตรแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว(In-service Training) มีทั้งหมด 13 คน

มีสถาบันหลักที่รับฝึกอบรม 4 แห่ง คือ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชีบงใหม่ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์(นครสวรรค์) คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลเมืองชลบุรี

มีสถาับันสมทบทั้งหมด 11 แห่ง จากเดิมกฎเกณฑ์ ในการเป็นสถาบันสมทบ คือ สามารถเดินทางไปสถาบันหลักได้สะดวก แต่ในรุ่นแรก บางโรงพยาบาลห่างจาก สถาบันหลักร่วม 200 กว่ากิโลเมตร เช่นโรงพยาบาลหล่มสัก ไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ขอนแก่น) โรงพยาบาลแม่สะเรียง ไปคณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ผู้เรียนทุกคนเต็มใจและพร้อมที่จะเข้าไปเรียน ส่วนผมห่างจากสถาบันหลัก 40 กิโลเมตร

ในแต่สถาบันหลักมีความแตกต่างกันในรูปแบบการฝึกอบรมครับ มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป ผมเข้าใจว่าทางราชวิทยาลัยน่าจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนของสถาบันหลักเพื่อได้บทเรียนของการฝึกอบรมในรุ่นแรก และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 416363เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากให้คุณหมอเขียนต่อครับ....กำลังสนุก

ทางราชวิทยาลัยน่าจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนของสถาบันหลักเพื่อได้บทเรียนของการฝึกอบรมในรุ่นแรก และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

เห็นด้วยคะ และอยากให้คุณหมอเขียนเล่าประสบการณ์ในนี้ด้วยคะ :-)

มุมมองตัวเองตอนนี้มองว่า "หลักสูตรกลาง" เรื่องเนื้อหาควรยืดหยุ่น แต่กำหนดตัวชี้วัด แนวทางการประเมินผลให้ชัดเจน 

สวัสดีครับ อาจารย์ปัทมา ดีใจครับที่อาจารย์ได้เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความเห็นครับ

ผมมีโอกาสอ่านเอกสารวิชาการของอาจารย์จากที่ต่างๆ เช่น CCM ในเวบหมอชาวบ้าน ซึ่งทำให้เข้าใจ CCM รวมถึงที่มาของมันมากขึ้นครับ ^_^ ตอนนี้ผมต้องย้ายสถาบันหลักมาที่ โรงพยาบาลพุทธชินราชครับ เคยทำ topic เรื่อง CCM เมื่อหลายเดือนก่อน

ยินดีและดีใจที่ได้รู้จักอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท