เมื่อลูกเข้าโรงเรียน


เข้มแข็งหน่้อยนะคุณแม่

     น้ำตาของลูกละลายใจของแม่ได้เสมอ โดยเฉพาะน้ำตาของลูกในการจากพรากเพื่อเข้าโรงเรียนในวันแรกๆ ที่แม่หลายคนมักจะอดน้ำตาไหล หน้าเสีย ใจหายกับลูกไม่ได้ ทั้งๆ ที่ว่าจะไม่แล้วเชียวนะ

     มีน้องพยาบาลคนหนึ่ง ถามว่าทำไมนะพี่ถึงได้ใจแข็ง แล้วลูกพี่ก็ไม่ร้องไห้ตามแม่กลับด้วย ส่วนคุณครูพี่เลี้ยงที่ โรงเรียนเด็กเล็ก ก็บอกว่าพี่เลีี้ยงลูกของพี่อย่างไร ถึงได้ไม่ค่อยเป็นภาระให้กับครูพี่เลี้ยงเท่าไร ช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ อีก (ซึ่งทำให้แม่แบบดิฉันก็อดที่จะปลื้มไม่ได้) ดิฉันก็จะกระซิบบอกเทคนิคอันนิดหน่อยให้บรรดาแม่ๆ ทั้งหลายที่กำลังเผชิญปัญหานี้ ได้บรรเทาลงได้บ้าง

ข้อคิดวันลูกรักต้องเข้าโรงเรียน

     เราต้องคิดซักนิดนึงว่า เด็กมักจะซึมซับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ถ้าแม่ทำท่าอาลัยอาวรณ์ ลังเล หน้าจ๋อย ลูกที่พร้อมจะงอแงได้ทุกเมื่อก็จะร้องไห้น้ำตาท่วมได้ทันที(เพราะหนูเองก็ไม่อยากจากแม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนี่นา) น้องพยาบาลถึงว่าดิฉันใจแข็ง

เตรียมพร้อมทั้งคุณแม่และคุณลูก

     ก็พยายามหาสารพัดวิธี เช่นการเล่าเรื่องในโรงเรียน เพื่อน ของเล่น คุณครูที่ใจดี สิ่งแวดล้อมที่น่าสนุก พูดให้ลูกฟังบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าการที่แม่ส่งหนูไปโรงเรียนนั้น ไม่ใช่การทอดทิ้งหนู

     ทีนี้ก็มาถึงตาคุณแม่ ซึ่งก็ตัวเราเอง ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า การพาลูกไปโรงเรียนไม่ใช่เป็นการทอดทิ้ง ผลักภาระ หรือทำผิดต่อลูก แต่คุณกำลังส่งเสริมพัฒนาการของลูก ตามช่วงวัยต่างหาก

     และที่สำคัญข้อสุดท้าย ก็คือการรักษาสัญญา การพูดคุยกับลูก ว่าแม่จะมารับทันทีที่เลิกเรียน ลูกก็จะเจอแม่รออยู่ แม่ก็ต้องมารับตรงเวลาตามที่สัญญาไว้กับลูก

     แต่ในบางครั้งแม่อาจจะยังคงเป็นห่วง หรือกังวลอยู่บ้าง ก็อาจจะเฝ้าแอบมาดู แต่อย่าให้ลูกได้เห็น ไม่งั้นได้ร้องไห้ตามคุณกลับบ้านด้วยแน่ๆ ในช่วงแรกคุณอาจจะแอบเฝ้าดูนานหน่อย แต่ระยะเวลาก็จะค่อยๆ หดสั้นลงไป (อันนี้สำหรับแม่ที่ใจแข็งไม่พอ) จนในที่สุดเราก็จะยิ้มได้ทั้งแม่และลูกเวลาบ๊ายบาย ส่งจูบให้กันที่หน้าโรงเรียน

                                                                   By TUA

หมายเลขบันทึก: 416293เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2010 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สุดยอด Tacit Knowledge เลยครับ /boss

มีประสบการณ์ กับลูกของเพื่อนๆ และหลานๆ อีกหลายคน จึงคิดว่า ต้องดูความเหมาะสม เพราะเด็กแต่ละคนแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กกว่า 5 ขวบ จำเป็นไหม? ที่ต้องเร่งรีบส่งไปเรียนรู้สังคมนอกบ้าน ยิ่งเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ ยิ่งต้องคิดให้หนัก (จะปลูกฝังอะไรก็ช่วงนี้แหละ) และโรงเรียนที่ส่งลูกไปเป็นอย่างไรบ้าง!!!! ถ้าสอนให้เก่งอย่างเดียว หรือแค่สอนให้เก่งกับสุข อาจจะแย่ยิ่งกว่าให้ลูกอยู่กับคุณตาคุณยายและพี่ๆ น้องๆ ที่บ้านเสียอีก

จะนำไปทดลองทำถ้ำทำได้คงดี/ลาวัลย์

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่น้องชาวมโนรมย์ทุกท่าน

แอ๊ะ!แล้วที่เห็นคุณพ่อไปส่งทั้งคุณลูกมาส่งทั้งคุณแม่ล่ะ ตาฝาดไปหรือเรา

waw....

ก็มีไปได้ตั้งสามคนก็ต้องมีกลยุทธเด็ดๆ เคล็ดลับดีๆเรื่องลูกมากๆไม่งั้นเหนื่อยแย่เลย

คนบ้านเดียวกัน

สมกับเป็นคุณแม่จริง ๆ NEW LAB

มีลูกหลายคนก็อย่างนี้ ประสบการณ์เยอะ เป็นคุณแม่คนเก่งจริง น่ามีคนที่ 4 พี่อ้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท