โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 (ต่อ)


หากกล่าวโดยสรุปแล้ว ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ

 กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตูและก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์

 คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุมกักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น

 หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรากักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน

 รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปในกาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ

 บทสวดโพชฌงค์มีตำนานเล่าขาน
ในการเยียวยาอาพาธ
ที่มีเป็นพระสูตรเด่นชัดก็ได้แก่
๑.มหากัสสปโพชฌงคสูตร
๒.มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร
๓.มหาจุนทโพชฌงคสูตร
ทั้ง ๓ สูตรนี้กลายเป็นตำนานสวดที่เรียกว่า สามภาณ
ซึ่งเป็นชุดพระสูตรที่ใช้สำหรับสวดให้คนอาพาธฟังในปัจจุบัน
แต่จะได้ผลชงักเหมือนเมื่อก่อนหรือไม่อันนี้แล้วแต่ผู้ฟัง
ว่ามีภูมิธรรมที่จะพิจารณาเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด   (จากพระอาจารย์ชัยยัสสุ)

เอามาลงนำเสนออีกความรู้หนึ่งด้านหนึ่งของอานุภาพเรื่องโพชฌงค์ สำหรับผู้ที่ศึกษาคะ

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 416224เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2010 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การนำหลักโพชฌงค์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับตัวเอง ย่อมทำให้เราเกิดการเรียนรู้ มีความสามารถในการจัดการ และมีความสุขในการทำงาน สังคมก็จะพัฒนา เจริญก้าวหน้า และสงบสุข

ดีคะ พี่จี ขอบคุณนะคะที่เข้ามาเยี่ยมชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท