โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7


โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

  1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
  2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
  3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
  4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
  5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
  6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
  7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการ มีความหมายพิศดารประการใด อย่างไร 

จริงๆ แล้ว ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการนี่

เป็นข้อธรรม และก็เป็นกระบวนการกำจัดมลพิษภายในจิตวิญญาณ

 เป็นขบวนการในการจัดระเบียบของจิตวิญญาณความรู้สึกนึกคิดของตน

ให้เป็นผู้ซื่อตรงถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือครรลองของสภาวะธรรมนั้นๆ

ซึ่งมีอยู่ในตนของตน

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 416220เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2010 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะคะ การได้เรียนรู้เรื่องโพชฌงค์ทำให้เราได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนที่หลากหลาย กว้างขึ้น ลึกซึ้งมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท