การปลูกทุเรียน


การผลิตทุเรียนอกฤดูการ

           เป็นที่ยอมรับกันว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีรสชาดดีชนิดหนึ่งของไทย จะเห็นไดว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมทั้งในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ ที่ผ่านมาไทยเราส่งทุเรียนไปจำหน่ายต่างประเทศทำเงินตราได้ปีละหลายล้านบาทประเทศที่ไทยส่งทุเรียนไปจำหนายมีประเทศสหรัฐอเมริกา  แคนนาดา  ประเทศแถบยุโรป  หรืออย่างเอเชียด้วยกันก็มี  มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน  ญี่ปุ่น และฮ่องกง เป็นตลาดที่ไทยส่งทุเรียนไปจำหน่ายมากที่สุด

         ผลผลิตสินค้าเกษตรอะไรก็ตามถ้าผลิตออกมาพร้อมกันทีละมากๆจะส่งผลให้ราคาตกต่ำทุเรียนบางปีถ้ามีผลผลิคมากเข้าข่ายดังกล่าว

         ในภาคใต้การผลิตทุเรียนหมอนทองนอกฤดูชาวสวนขายได้ในราคากิโลกรัมละ 52 บาท แต่ในฤดูขายได้เพียงกิโลกรัมละ 12 - 15 บาท  เมื่อมองดูราคาขายที่ได้แล้วมีความแตกต่างกันมาก เมื่อเป็นดังนี้จึงมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนได้ให้ความสนใจผลิตทุเรียนนอกฤดูกันมากและร่ำรวยไปตามๆกัน

        หลักการผลิตทุเรียนนอกฤดู
             ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  จะให้ผลในระยะ 5 - 6 ปี หลักจากปลูก ระยะจากดอกบานจนถึงผลแก่นานประมาณ 105 - 120 วัน

        การเข้าใจการติดดอกของทุเรียน
             การติดดอกของทุเรียนจะมีปีละครั้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุเรียนจะแตกใบอ่อน 1 - 2 ครั้งจนกระทั้งใบอ่อนได้รับการพัฒนาเป็นใบแก่มีก่รสะสมคาร์โบไฮเดรตเพียงพอประกอบกับสิ่งแวดล้อมเหมาะสม คืออุณหภูมิต่ำกว่าปกติเล็กน้อยประมาณ20 - 25 องาเซลเซียส ความชื้นในบรรยากาศลดลงประมาณ 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นติดต่อกัน 3 - 7 วัน โดยไม่เปลี่ยนแปลงทุเรียนจะสามารถออกดอกได้

       การปฏิบัติต่อทุเรียนนอกฤดู
           การทำทุเรียนนอกฤดูย่อมพบกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำทุเรียนในฤดูปกติ  ดังนั้นการปฏิบติต่อทุเรียนต้องมีเป็นพิเศษ เช่น ขณะที่ดอกทุเรียนกำลังพัฒนาเป็นจุดไข่ปลาปกติช่วงนี้ฝนจะแล้ง  แต่เมื่อผลิตต้นฤดูการพัฒนาช่วงนี้อาจจะเจอฝนได้หากฝนตกเกิน 10 มิลลิเมตรต่อวัน  ต่อเนื่องกัน 3 วัน ดอกระยะไข่ปลาจะหยุดการพัฒนาแล้วเปลี่ยนจากผิวดอกสีขาวอมเหลือง  จากเนื้อเยื่อบางๆไม่แข็งเป็นสีน้ำตาลแดงหนาขึ้นและแข็งขึ้นพร้อมกับพักตัวไม่พัฒนาต่อ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมตาดอกด้านล่างจะพัฒนาปล่อยให้ส่วนที่พักตัวฝ่อ
        วิธีปฏิบัติพิเศษเพื่อแก้ปัญหานี้ทำได้โดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดยับยั้งการพักตัวโดยใช้สารไทโอยูเรียพ่นตามกิ่งที่คาดว่าจะออกดอกในอัตรา 1,000-1,500 พีพีเอ็ม(20-30 กรัม) ต่อน้ำ 20 ลิตร ในขณะที่เริ่มเห็นดอกทุเรียน การปฏิบัติอื่นๆก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เช่น การช่วยในการผสมเกษรให้กับทุเรียน

        

คำสำคัญ (Tags): #อาชีพเสริม
หมายเลขบันทึก: 415668เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2010 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท