ทฤษฏีมะนาว


ทฤษฏีมะนาว

ทฤษฎีเก็บมะนาว (Lemon Picking Theory : LPT)

เมื่อครั้นที่เราคิดจะยื่นมือออกไปเด็ดมะนาวที่อยู่จากต้น ตาเราจะต้องมองและคิดดูว่า ลูกมะนาวนั้นอยู่ในวิสัยที่มือเอื้อมถึงหรือไม่ ถ้าเอื้อมไม่ถึงจะโน้มกิ่งลงมาเด็ดได้อย่างไร หรือว่าเราจะต้องใช้เครื่องมือใดเข้ามาช่วย ที่จะทำให้มะนาวลูกนั้นเข้ามาอยู่ในมือเราได้หลังจากนั้นเราก็ค่อย ๆ เอื้อมมือผ่านขวากหนามอันแหลมคมเพื่อให้นิ้วมือสอดส่ายเข้าไปสัมผัสผลมะนาวให้ได้เพราะสัมผัสได้แล้ว ดึงออกมาเข้าหาตัว

Lemon Picking Effects (LPE) ผลกระทบเมื่อมะนาวหลุดออกจากขั้ว  เลือดและเนื้อที่ถลอกปอกเปิก เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาถ้าเราคิดแต่จะหวังผลที่ได้ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบและรัดกุม ปฐมเหตุนี้เป็นที่มาแห่ง

ทฤษฎีการเก็บมะนาว (Lemon Picking Theory : LPT)

        การทำงานต่าง ๆ ในองค์กรโดยเฉพาะองค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือบโมเดลของธุรกิจนั้น จะว่าด้วยเรื่อง Input - Process $ Output  แต่ Effects

Effects ที่ได้ตามมาหลังจากที่ได้ Outputs ออกมาแล้ว 

Effects ที่เกิดจากเมื่อผู้ใช้ใช้สินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว

Effects ที่เกิดจากพนักงานหรือผู้ผลิตสินค้าในระยะยาวแล้ว

Effects ที่ส่งผลกับสภาวะแวดล้อม ดิน น้ำอากาศ

Effects ที่เกิดขึ้นกับสรรพสิ่ง

Effects ที่เกิดขึ้นกับชีวิต

Lemon Picking Effects โลกนี้จะถลอกปอกเปิกแค่ไหน ปัจจุบันคงจะเห็นคำตอบได้

เมื่อมนุษย์ใช้แนวคิดการปรับธรรมชาติเข้าสู่ตัว เมื่อมนุษย์ใช้แนวคิดการปรับธรรมชาติให้เพิ่มความสบายกับตัว เมื่อธรรมชาติเริ่มลงโทษ เมื่อธรรมชาติเริ่มเรียกร้องความสมดุลจากสูงสุดกลับคืนสู่สามัญ เมื่อน้ำกลับกลายเป็นน้ำ ดินทับถมสิ่งแปลกปลอม กินกลืนเป็นผืนดินมนุษย์ก็ต้องยอมรับความบอบช้ำเมื่อทำร้ายเขา เขาก็จะมาเรียกร้องความยุติธรรมกับเรา

เมื่อเราคิดถึงเด็ดผลโดยมิได้ลืมนึกถึงเรื่องที่จะตามมา ดังนั้นก็จะเป็นเรื่องธรรมดา มีได้ก็ต้องมีเสียถึงวันนี้เราคงจะไม่มี Time Machine เดินทางกลับไปย้อนอดีตได้แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ได้คิดก่อนทำ

ธรรมชาติได้เตือนเรามาแล้วหลายครั้ง "ถ้าคุณไม่หยุด เราจะหยุดคุณเอง"

คิดทุกครั้งถึงผลที่จะได้รับก่อนที่จะทำ บวก ลบ คูณ หาร โดยปราศจากอคติ

"ไม่ได้คือไม่ได้" "ไม่คุ้มคือไม่คุ้ม" "ได้ไม่คุ้มเสีย"

Lemon Picking Effects คงจะทำให้เราหยุดคิดได้ก่อนที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ที่ยังสามารถแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น "ยังไม่สายเกินไป ที่จะแก้ไขหรือปรับปรุง".....

จาก http://portal.in.th/u-research/pages/3317/

ค้นคว้าและเรียบเรียงวันที่ 22 ธันวาคม 2553

นายเกรียงศักดิ์ ปรีชา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีมะนาว
หมายเลขบันทึก: 415637เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2010 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท