Sepak Takraw


เห็นพ่อตาหน้าบึ้งขึ้งโกรธ

ประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อ


ไทย มาเลเซีย พม่า ต่างอ้างว่าเป็นกีฬาประจำชาติ ของตนมาแต่บรรพกาล แต่ไม่มีหลักฐานใดอ้างอิงได้ ชัดแจ้งว่า กีฬาตะกร้อกำเนิดมาจากชาติใดก่อน จากการเล่าขาน พออนุมาน ได้ว่า กีฬาตะกร้อน่าจะมีเมื่อยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งเมื่อคราวที่ไทยทำสงครามกับพม่า ในยามตั้งค่ายพักรบเหล่าทหารทั้งสองฝ่ายพักผ่อน ต่างก็หาการเล่นต่าง ๆ มาเล่นกันเพื่อความสนุกและผ่อนคลาย มีการเล่นที่หาอุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น ตะกร้อ มาเตะกัน ครั้งแรกก็ ใช้เศษผ้ามาม้วนและมัดเป็นลูกกลม ๆ ล้อมวงเตะกัน จากเศษผ้าแล้วแปรมาเป็นหวาย เพราะถิ่นแถบเอเชียมีธรรมชาติที่อุดมไปด้วยต้นหวาย คนสมัยโบราณได้นำเอาหวายมาใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จากภูมิปัญญาทำเป็นกระบุงตะกร้อ สำหรับบรรจุสิ่งของหรือจักเป็นตอกเพื่อใช้ผูกมัดสิ่งของเหมือนกับเชือกเพราะมีความคงทนดี สมัยโบราณต้นหวายยังถูกดัดแปลงจำลองเป็นอาวุธ ใช้ในการฝึกหัดต่อสู้แทนอาวุธจริง ก่อนจะกลายมาเป็นตะกร้อ ได้มีผู้เอาหวายมาจักตอกสานเป็นรูปกลม ๆ มีหลายขนาด เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่วัตถุประสงค์
เมื่อกาลสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีคนเล่นลูกหวายกลม ๆ ด้วยการใช้ทั้งมือและเท้า โยนรับกันไปมา เป็นการเล่นเพื่อการพักผ่อนคลายความเครียด และเป็นการออกกำลังกายทีให้ความสนุกในยามว่างเว้นจากการสงคราม อีกประการมีหลักฐานปรากฏว่า ทางราชการได้จักสานตะกร้อขนาดใหญ่ สำหรับใส่นักโทษที่ผิดกระบิลเมืองอย่างร้ายแรง โดยเอานักโทษใส่เข้าไปในตะกร้อแล้วให้ช้างเตะกลิ้งไปตามถนนจนรอบเมือง จึงมีการคิดค้นดัดแปลงลูกตะกร้อ ขนาดใหญ่ที่ใช้ช้างเตะ กลับกลายมาเป็นตะกร้อขนาดเล็กที่ให้คนเตะได้และมีการสืบสานต่อ ๆ กันมา จวบจนถึงยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีข้ออ้างอิงอย่างเด่นชัดว่ากีฬาตะกร้อ ได้ก่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน โดยหลักฐานจากพระราชนิพนธ์ ในบทละครนอกเรื่อง “สังข์ทอง” ของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนิพนธ์ข้อความตอนหนึ่งในบทที่เจ้าเงาะยั่วยวนท้าวสามลพ่อตาว่า

“ เห็นพ่อตาหน้าบึ้งขึ้งโกรธ ทำขอโทษนั่งลุกคุกเข่า ก้มกราบคลานหมอบพินอบพิเทา กราบแล้วกราบเล่าเฝ้าหลอกล้อ ฉวยได้ฝาชีที่ขันน้ำ แล้งทำปะเตะเล่นเช่นตะกร้อ... ฯลฯ ”


จึงเชื่อได้ว่ากีฬาตะกร้อมีมานานแล้วในประเทศไทย มิใช่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

ลูกตะกร้อของทุกชาติแต่เดิมก็สานด้วยหวายเหมือนกัน แต่มีรูปลักษณ์แตกต่างกัน

 

หมายเลขบันทึก: 415631เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท