วิจัย


ไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนนะ  แต่อยากให้ลองอ่านกันเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง  หากมีข้อแนะนำก็ช่วยกันหน่อยนะคะ
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่
ถูกต้องระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางขึ้น แหล่งข้อมูลของการทำวิจัยแก้
ปัญหาเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนวัดทางขึ้น จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์และแบบทดสอบการเเขียนคำศัพท์
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ
กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางขึ้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ จำนวน 8 ชุด และแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์
ผลการศึกษาพบว่า
                   นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์มีพัฒนาการความสามารถด้านอ่านคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นจากเดิมซึ่งจะเห็นได้จากการให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนฝึกและหลังฝึกนักเรียนจะมีพัฒนาการด้านคะแนนดีขึ้นตามลำดับซึ่งหากได้รับการฝึกฝนจนชำนาญนักเรียนก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
 
ความเป็นมาของปัญหา
                  การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ  เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน  สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุขและสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม  สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ประเทศใดก็ตามที่ประชาชนมีการศึกษา ประเทศนั้นย่อมมีการพัฒนาก้าวไกลกว่าประเทศอื่น (กรมวิชาการ. 2538: 1)
การจัดการศึกษาในปัจจุบัน จะพบว่าได้มีการบรรจุวิชาภาษาอังกฤษไว้ในหลักสูตร  การสอนภาษาอังกฤษมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการสื่อสาร สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ และในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ จึงต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้
  1. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาอังกฤษพื้นฐานและมีทักษะในการสื่อสาร
  2. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างมีระเบียบ  ชัดเจน  รัดกุม
  3. รู้คุณค่าของภาษาอังกฤษและมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ
  4. สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้  ความคิดและทักษะที่ได้จากการเรียนภาษาอังกฤษไปใช้
       ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆและใช้ในชีวิตประจำวัน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2539: 1)
นอกจากนี้ วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ถูกต้องกับบุคคลอื่นและเนื่องจากการการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในการสื่อสาร ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ทางแก่ผู้เรียน นอกจากนี้ ความสำเร็จในการสื่อสาร จะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนอีกด้วย  และสาเหตุที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษไม่บรรลุจุดประสงค์นั้น มีสาเหตุหลายประการทั้งด้านผู้เรียน  ครูผู้สอนและด้านเนื้อหาวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถภาพการสื่อสาร  พบว่านักเรียนมีพื้นฐานในการสื่อสารและการจำคำศัพท์ทั้งที่เป็นแบบธรรมดาไม่ได้เลย
           จากการที่ผู้วิจัยได้ฝึกประสบการณ์และปฏิบัติการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3โรงเรียนวัดทางขึ้น หลังจากสอนและตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังทำแบบฝึกหัดไม่ถูกต้อง  ทั้งๆที่นักเรียนได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอน และการทำแบบฝึกหัดมาหลายชั่วโมงแล้ว จากการสอบถามพบว่านักเรียนส่วใหญ่ที่ทำไม่ได้เนื่องจากยังจำคำศัพท์ไม่ได้  ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงปัญหาของการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   ซึ่งเป็นชั้นที่ผู้วิจัยทำการสอนอยู่  เพื่อจะใช้แนวทางในการปรับปรุงกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และเพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเขียนคำศัพท์และสื่อสารสิ่งต่างๆได้ต่อไปได้ต่อไป
ความมุ่งหมายในการวิจัย
           เพื่อเปรียบเทียบการเขียนและจำคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3
ความสำคัญของการวิจัย
           เพื่อทำให้ทราบว่าการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ในการฝึกสามารถทำให้คะแนนของนักเรียนเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่
ประเภทของการวิจัย
                งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยแก้ปัญหา
นิยามศัพท์เฉพาะ
                  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนในการทำแบบทดสอบ ทั้งก่อนและหลังการทำแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์
                   แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ หมายถึง เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกให้นักเรียนสามารถจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น
ระยะเวลาในการดำเนินการ
                ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2553
 
 
 
วิธีดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย
                ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางขึ้น   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 25 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
                ตัวแปรต้น  คือ  แบบฝึกทักษะ
                ตัวแปรตาม คือ คะแนน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์จำนวน 8 ชุด
  2. แบบทดสอบวัดทักษะความสามารถการเขียนคำศัพท์
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                ผู้ศึกษาได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าตามลำดับ  ดังนี้
  1.แบบฝึกเสริมทักษะ
1.1      ศึกษาหลักสูตร  คู่มือครูภาษาอังกฤษ และแบบฝึกหัดวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ศึกษาจุดประสงค์  รูปแบบและขั้นตอนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะให้สอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ
1.2      ศึกษาทฤษฎีหลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
1.3      สร้างแบบฝึกเสริมทักษะทั้งหมด 8 ชุด ให้ครอบคลุมเนื้อหา และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้  เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาและมีกำลังใจในการทำแบบฝึกหัดเสริมทักษะ
1.4      นำแบบฝึกเสริมทักษะที่ได้มาพิจารณาและปรับปรุงแก้ไข จัดพิมพ์เป็นฉบับจริงเพื่อนำไปทดลอง
  1. แบบทดสอบวัดทักษะความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.1      ศึกษาหลักสูตร  คู่มือครูภาษาอังกฤษ และแบบฝึกหัดวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1.2      ศึกษาวิธีการสร้างข้อสอบ  และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  และจุดประสงค์จากหนังสือการสร้าง แบบทดสอบเพื่อการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนของวัญญา  วิศาลาภรณ์ (2533: 1 – 58) 
1.3 สร้างแบบทดสอบวัดทักษะความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.4   นำแบบทดสอบวัดทักษะความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษมา
พิจารณาและปรับปรุงแก้ไข จัดพิมพ์เป็นฉบับจริงเพื่อที่จะนำไปทดลอง
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
  1. ประชุมชี้แจงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษาเพื่อให้วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการสอบและขอความร่วมมือในการสอบ
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  จำนวน 20  ข้อ  โดยกำหนดเวลาให้ 40 นาที  และครูอธิบายคำสั่งอย่างละเอียดก่อนที่จะให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
  1. ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์จำนวน 8 ชุดโดยครูคอยอธิบาย ทำการฝึกโดยการใช้แบบฝึกทั้ง 8 ชุด ชุดละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 8 ชั่วโมง ในการทำแบบฝึกทักษะการลบ
 
  1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  จำนวน 20  ข้อ  โดยกำหนดเวลาให้ 40 นาที  และครูอธิบายคำสั่งอย่างละเอียดก่อนที่จะให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
    1. ตรวจแบบทดสอบและบันทึกข้อมูล (คะแนนจากการตรวจแบบทดสอบทั้ง 2 ชุด)
เปรียบเทียบคะแนนการทำแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ระหว่างก่อนใช้แบบฝึกกับหลังใช้แบบฝึก
การวิเคราะห์ข้อมูล
  1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
-  หาค่าร้อยละ ของคะแนนการทำแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ทั้งก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบ                                                                                                                            - หาค่าเฉลี่ยของคะแนนการทำแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบ                                                                                                                    
 
2.   เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก
 -   เปรียบเทียบค่าร้อยละ ของคะแนนการทำการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ทั้งก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบ                                                                                                                            -    เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทำการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบ                                                                                                                            
               
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์การลบแบบมีการกระจาย จำนวนไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบ ซึ่งผู้วิจัยนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

อภิปรายผล
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องการลบแบบมีการกระจาย จำนวนไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 หลังการใช้แบบฝึกทักษะการลบสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการลบ กล่าวได้ว่า แบบฝึกที่สร้างขึ้นมีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
ซึ่งจากการวิจัยดังกล่าวได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ สันติ ภูสงัด. (2541) เรื่อง การสร้างแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กล่าวไว้ว่า “แบบฝึกทักษะถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้และจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
อาจารย์สุนทรี ทองชิตร์ เรื่อง แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
ข้อเสนอแนะ
  1. ควรมีการใช้แบบฝึกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  2. ช่วงเวลาในการใช้แบบฝึกควรเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนมีความพร้อมในการทำแบบฝึก  เช่น  ก่อนเคารพธงชาติ  หรือหลังเลิกเรียน  เพราะในช่วงเวลาพักน้อยและพักกลางวัน  นักเรียนมักจะอยากเล่นกับเพื่อนๆ  จึงขาดสมาธิในการทำแบบฝึก
  3. กลุ่มตัวอย่างอาจเป็นลักษณะนักเรียนคนเดียวก็ได้  หากพบว่ามีนักเรียนที่ขาดทักษะในการลบมีไม่มากเท่ากลุ่มตัวอย่าง
  4. ควรมีการพัฒนาแบบฝึกที่หลากหลายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนเกิดในการทำแบบฝึก

บรรณานุกรม
จิรพงษ์ ข่ายเพชร. (2544). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนของเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) .กรุงเทพ ฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
 
กระทรวงศึกษาธิการ .(2547) .คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.      
        โรงพิมพ์คุรุสภาลากพร้าว . กรุงเทพฯ .
 
สันติ ภูสงัด. (2541) .การสร้างแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.กรุงเทพ ฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
 
อาจารย์สุนทรี  ทองชิตร์ (2544 : 5 – 201).แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 .กรุงเทพ ฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
 
 
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 415297เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เดี๋ยวกลับไปอ่านที่บ้านนะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท