ป.2


การแก้ปัญหานักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตรตัวสะกด

สภาพปัญหา

                   ในการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิชาภาษาไทย  จะพบปัญหามากในด้านทักษะการเขียน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กน  ไม่ตรงตามมาตราสะกด  ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเขียนไม่ถูกต้อง  ซึ่งผลจากการประเมินก่อนเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒   โรงเรียนบ้านน้ำขาว ยังมีปัญหาในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  อันนับได้ว่ามีปัญหาอย่างมาก

                         การใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำ  แก้ไขปัญหาดังกล่าว  เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ทำการวิจัยมีความสนใจ  นำมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในด้านทักษะการเขียนมากขึ้น

ปัญหาการวิจัย

                         นักเรียนจำนวน ๕ คน เขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราสะกดไม่ถูกต้อง

เป้าหมายการวิจัย

                         ๑. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราสะกด

ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  โรงเรียนบ้านน้ำขาว

                         ๒. เพื่อพัฒนานวัตกรรมประกอบการเรียนการสอน  เรื่อง  การเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

วิธีการวิจัย

                         ๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

๑.๑ ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียน บ้านน้ำขาว  ปีการศึกษา ๒๕๕๓  จำนวน  ๘  คน

๑.๒ กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  จำนวน  ๕  คน

๒.  เครื่องมือที่ใช้

๒.๑ เครื่องมือในการแก้ปัญหา

๒.๑.๑ แบบฝึกทักษะการเขียนคำ  เรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

๒.๑.๒ วิธีการสอนแบบใช้แบบฝึกจากหนังสือเรียน และสอนซ้ำ

๒.๒ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

๒.๒.๑ การสังเกตความสนใจในการเรียน

๒.๒.๒ แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

                   ๓. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง  โดย

  ๓.๑ ใช้แบบฝึกก่อนเรียนเรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตาม

มาตราสะกด  จำนวน  ๑๐ ข้อ  ทดสอบกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ทุกคน

๓.๒ ตรวจแบบทดสอบและคัดนักเรียนที่ทำแบบฝึกไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ    ๖๐

๓๓ ให้นักเรียนทีไม่ผ่านเกณฑ์ทำแบบฝึกเสริมที่ครูสร้างขึ้น  จำนวน ๑๐  แบบฝึก

๓.๔ บันทึกผลลงในแบบประเมินนักเรียน

๓.๕ ใช้แบบฝึกหลังเรียน เรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราสะกด  จำนวน  ๒๐ ข้อ  ทดสอบนักเรียน กลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง

๓.๖ บันทึกผลลงในแบบประเมิน

    ๔. สถิติที่ใช้และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

๔.๑ ใช้สถิติเป็นค่าเฉลี่ย  ของคะแนนหลังการเรียน

๔.๒ ทำการเปรียบเทียบคะแนนหลังการเรียนกับคะแนนเกณฑ์ที่กำหนด

๔.๓ รายงานผลโดยการบรรยายเชิงคุณภาพ

Ico64_dsc08602

ช่วงเวลาทดลอง

ที่

รายการ

ระยะเวลา ( วัน )

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

1

วางแผนและเขียนโครงร่าง

 

 

 

 

2

ปฏิบัติตามแผนโครงร่างวิจัยในชั้นเรียน

 

 

 

 

3

เก็บรวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

4

วิเคราะห์ข้อมูล

 

 

 

 

5

สรุปผลและเขียนรายงาน

 

 

 

 

 

ผลการวิจัย

                         การแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาการเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราสะกด  โดยใช้แบบฝึกเขียนคำ  พบว่า  นักเรียนที่ได้รับการเรียนเสริมเรื่อง  การเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กน  ไม่ตรงตามมาตราสะกด  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  และหลังเรียนแตกต่างกัน  ดังตารางที่  ๑  และ ตารางที่ ๒

ตารางที่  ๑  คะแนนสอบก่อนเรียน

ลำดับ

ชื่อ – สกุล

คะแนน (๒๐ )

ร้อยละ

เด็กชายนนทวัฒน์  พรหมจันทร์

๓๕

เด็กชายนัฐวุฒิ  พรหมจันทร์

เด็กชายวทัญญู  ทองแซม

๑๐

เด็กชายจักรวรรดิ  จิตเขม้น

๔๕

เด็กหญิงปัษราภรณ์  ซังปาน

๔๐

รวม

๒๖

๑๓๐

เฉลี่ยรวม

๒.๖

๒๖

ร้อยละ

๒๖

 

 

ตารางที่  ๒  คะแนนสอบหลังเรียน

ลำดับ

ชื่อ – สกุล

คะแนน (๒๐)

ร้อยละ

เด็กชายนนทวัฒน์  พรหมจันทร์

๑๗

๘๕

เด็กชายนัฐวุฒิ  พรหมจันทร์

๔๕

เด็กชายวทัญญู  ทองแซม

๔๕

เด็กชายจักรวรรดิ  จิตเขม้น

๑๙

๙๕

เด็กหญิงปัษราภรณ์  ซังปาน

๑๔

๗๐

รวม

๖๘

๓๔๐

เฉลี่ยรวม

๖.๘

๖๘

ร้อยละ

๖๘

 

 

                   จากตารางที่  ๑  และ  ๒  ทำให้ทราบว่า  นักเรียนที่ได้รับการฝึกให้รู้จักเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนไม่ตรงตามมาตราสะกด  บ่อย ๆ จะช่วยให้ นักเรียนสามารถเขียนคำที่มีตัวสะกดแม่กนได้ดีขึ้น  และ มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น  ถึงร้อยละ  ๖๘

ข้อเสนอแนะ

   ๑. นักเรียนควรได้รับการส่งเสริม หรือได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างต่อเนื่อง

นักเรียนที่มีข้อบกพร่อง หรือความก้าวหน้าช้าต้องให้เวลาการฝึกเพิ่มขึ้น

1.1      นำแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียน ไปใช้กับสภาพปัญหาอื่น ๆที่คล้ายกัน

Ico64_dsc08598

คำสำคัญ (Tags): #แก้ปัญหาป.2
หมายเลขบันทึก: 415287เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่าคิดลึก น่า อย่าคิดลึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท