new


ประเภทของระบบนิเวศ


           ระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก มีมากมายหลายระบบ แต่ละระบบมีขนาดเล็กใหญ่
สลับซับซ้อนแตกต่างกัน โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
(biosphere) ซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ

           ส่วนที่จัดเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ เช่น ทุ่งหญ้า หนองน้ำ สระน้ำ ริมรั้ว ใต้ขอนไม้ผุ
ระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ

1. ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

          ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย

ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

          ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร 

          ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ

2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น

           เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม  นิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่ง
ตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา ก็จัดเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น

 

โครงสร้างระบบนิเวศ


กลุ่มสิ่งมีชีวิต ( community
)

             กลุ่มของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในระบบนิเวศ อาจมีหนึ่งชนิด
หรือมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้

แหล่งที่อยู่ ( habitat ) บริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต จำแนกได้เป็น

          แหล่งที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ แหล่งน้ำจืด ทะเล มหาสมุทร
          แหล่งที่อยู่บนบก ได้แก่ ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง ทุ่งหญ้า ป่า ทะเลทราย ดินแดนหิมะ

สิ่งแวดล้อม
               องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ เช่น
พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน ออกซิเจน น้ำ

อินทรียสาร
               
เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน รวมทั้งอุณหภูมิ อากาศ แสงสว่าง
ความชื้น ดิน แร่ธาตุ

 

โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีบทบาทและความสำคัญแตกต่างกัน ได้แก่

ผู้ผลิต ( producer )

     เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากการสังเคราะห์ด้วยแสง
ได้แก่ พืชสีเขียวชนิดต่าง ๆ

ผู้บริโภค ( consumer )

      เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้
ดำรงชีวิตโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ได้แก่
   
   - ผู้บริโภคพืช  เช่น กวาง  กระต่าย  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย
          
   - ผู้บริโภคสัตว์ เช่น เสือ  สิงโต  แมว  สุนัข  

   - ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ เช่นคน นกเป็ดน้ำ  ปลานิล 

   - ผู้บริโภคซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว เช่น นกแล้ง ไส้เดือนดิน ไฮยีนา 

คำสำคัญ (Tags): #ชีววิทยา
หมายเลขบันทึก: 415015เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2010 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท