กว่าจะถึง"เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบยาในชุมชน"


     ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบยาในชุมชนของจังหวัดขอนแก่นนั้น  โจทย์ใหญ่ของผู้จัดก็คือ 

          1.กระบวนการใดที่จะทำให้คนทำงานมีโอกาสได้เล่า/แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยทั่วถึง  โดยจำนวนคนที่เข้าร่วมเวทีไม่มีผลต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          2.ทำอย่างไรผู้เข้าประชุมจึงจะเกิดอารมณ์ร่วมในบรรยากาศของการประชุมที่ผ่อนคลาย  อยากจะเล่าถึงความภาคภูมิใจกับผลงานที่ไปทำในชุมชน  มากกว่าการระบายความเหน็ดเหนื่อยและปัญหาในการทำงาน   อยากจะฟัง  อยากจะแลกเปลี่ยน แนวคิดในการทำงานจากสภาพที่แตกต่างกัน  

       จากการประชุมคณะทำงานและการจัดประชุมวิชาการเรื่อง "กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้"  เพื่อติดอาวุธให้แก่คณะทำงาน  ก็ได้ข้อสรุปว่า

      1.ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะใช้กระบวนการ "Worldcafe"  โดยคณะทำงานได้รับคำปรึกษาแนะนำเป็นอย่างดีจาก ดร.ประชาสรรค์  แสนภักดี  ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

     2.ควรเปิดโอกาสให้คนทำงานมีเวทีในการนำเสนอผลงาน  ซึ่งถือเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประการหนึ่งด้วย  ซึ่งในสภาวะที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณจึงกำหนดให้เป็นการนำเสนอผลงานด้วย "โปสเตอร์"

    3.คณะทำงานจะถูกแบ่งเป็น 4 ชุดใหญ่ๆ  ได้แก่

          3.1 คณะอนุกรรมการจัดกระบวนการสภากาแฟ  มีหน้าที่ในการเตรียมกระบวนการ  การเตรียมใบงานเพื่อใช้ในการพูดคุยถอดบทเรียน  และการซักซ้อมบทบาทของผู้ที่ทำหน้าที่เจ้าภาพประจำโต๊ะ  ซึ่ง  ภญ.นิธินาถ  เอื้อบัณฑิต  จาก รพ. น้ำพอง เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการ

          3.2 คณะอนุกรรมการวิชาการ  มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากกระบวนการสภากาแฟ   ทำการถอดบทเรียน  และจัดทำเป็นคลังความรู้ในการพัฒนาระบบยาในชุมชน  ซึ่ง ภญ.อารีย์  รุ่งอยู่ศิริ  จาก รพ.ชทบท  เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการ

           3.3 คณะอนุกรรมการจัดการนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์  มีหน้าที่ในการรวบรวมติดตามผลงานจากหน่วยบริการต่างๆที่จะนำเสนอ  พร้อมทั้งจัดทำชุดนิทรรศการเพื่อนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่ง  ภก.นิคม  สิทธิไกรพงษ์  เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการ

           3.4 คณะอนุกรรมการประสานงาน สถานที่และพิธีการ มีหน้าที่เป็นกองอำนวยการ  การจัดเตรียมสถานที่  พิธีการ  และอื่นๆ  ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของ สสจ.ขอนแก่น  โดย  ภญ.กนกพร  ธัญมณีสิน  เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการ

       โดยก่อนหน้าที่จะถึงวันงาน  ทางทีมสภากาแฟได้มีการจัดประชุมผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพประจำโต๊ะ   เพื่อซักซ้อมบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้ร่วมโต๊ะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้  การสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมแก่การพูดคุย  และการเก็บประเด็นเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำคลังความรู้

        ส่วนคณะทำงานโปสเตอร์ก็ติดตามผลงานของผู้นำเสนอเพื่อวางแผนการจัดชุดนิทรรศการ  ส่วนบทคัดย่อเนื้อหาที่จะนำเสนอก็เป็นหน้าที่ของ สสจ.ขอนแก่นในการติดตามและจัดพิมพ์เอกสาร

       ส่วนทีมวิชาการก็เตรียมตาราง 12 ช่องไว้สำหรับการรวบรวมคลังความรู้หลังเสร็จสิ้นกระบวนการสภากาแฟ  ในระหว่างที่งานยังไม่เริ่มทีมนี้ก็ไปช่วยงานเป็นเจ้าภาพประจำโต๊ะให้กับทีมสภากาแฟ

       สำหรับทีมอำนวยการก็เตรียมวางแผนขั้นตอน  พิธีการ  วางรูปแบบการจัดงาน  สถานที่  ภายใต้แนวคิดให้เกิดความรู้สึกร่วมในกระบวนการ  การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย  แต่ให้ได้เนื้อหาที่เป็นวิชาการออกมาให้ได้....เป็นโจทย์ที่ยากจริงๆ

 

             

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 414879เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทีมงานยอดเยี่ยมมาก

ชื่นชม ยินดีกับผลงานของทุกๆๆท่านคร้า....^^

ชื่นชมกับผลงานจ๊ะ ถือเป็นโอกาสพัฒนา

ดีใจกับทีมงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท