โพชฌงค์กับการรู้แจ้ง ( บทความตอนที่ ๒ )


แนวทางจากตำรา ลงสู่พื้นฐานการปฏิบัติ

ในการจัดการองค์ความรู้เพื่อทำให้ระบบระเบียบของการเรียนรู้นี้ ในศาสตร์สมัยนี้ได้เสนอแนวทางมามากมาย และในทางพระพุทธศาสนาก็เป็นการเรียนรู้ที่ได้ประสิทธิภาพอย่างดีเยี่ยม กล่าว คือ ได้ดึง Tacit Knowledge ออกมาอย่างสมบูรณ์

ในที่นี้จะนำเอาการปฏิบัติธรรมในส่วนของโพชฌงค์ ๗ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ และรู้ชัด รู้แจ้งใน การงานที่ตนลงเฉพาะเจาะลึก

ขั้นต้น การที่จะทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ สมบูรณ์ ขึ้นมาได้นั้น ต้องตั้ง สติสัมปชัญญะของตนให้บริบูรณ์ ซึ่งการที่จะมีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ หรือสมบูรณ์ ได้นั้นต้องหางานให้แก่จิตของตน โดยการหางานให้แก่จิตของตนนั้นต้องเป็นไปเพื่อการรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปด้วย เพราะจะทำให้จิตนั้นเรียนและรู้เข้าใจในงานที่ตนจะทำ ซึ่งแบบแผนของการปฏิบัติเป็นดังนี้

๑. เรียนรู้การงานทางจิตเพื่อเป็นฐานที่ตั้งให้จิตมีพละกำลัง( พระกรรมฐาน) สมถกรรมฐาน

๒.เรียนรู้การงานทางปัญญา อันจะนำพาให้จิตหลุดไปจากสิ่งปิดกั้นทางจิต(นิวรณธรรม) โดยลักษณะนี้เรียกว่า วิปัสสนา

ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติจะนำเสนอในตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 414732เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมัสการพระคุณเจ้า

         ความรู้ที่ รู้ชัด รู้จริง รู้แจ้ง ถ้ามีการจัดการความรู้ที่ดี ใช้ปัญญานำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท