ไอทีประเทศไทย จะสู้เวียดนามไหวไหมเนี่ย?


เวียดนามเอาจริงเอาจังมาก

ได้อ่านข่าวที่นี่ แล้วให้รู้สึกชื่นชมยินดีกับรัฐบาลเวียดนามที่มองเห็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านสารสนเทศของประเทศ โดยการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดใช้โอเพนซอสต์ มีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2010 นี้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจไอทีจากรัสเซีย "วิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจซอฟต์แวร์ของประเทศ คือการใช้ซอฟต์แวร์ท้องถิ่นให้มาก แทนการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ที่จะต้องส่งเงินไปยังสหรัฐอเมริกา"

โครงการนี้น่าติดตามและน่าสนใจอย่างยิ่ง เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การต่อสู้ของไมโครซอฟต์ที่จะเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของรัฐบาลเวียดนามให้ยึดมั่นอยู่กับไมโครซอฟต์ให้ได้ ผมหวังและเชียร์ให้รัฐบาลเวียดนามเดินหน้าโครงการนี้อย่างเต็มที่
ไม่ใช่เพราะว่าผมมีอคติกับไมโครซอฟต์หรอกนะครับ..
แต่ผมเห็นว่าอะไรที่ควรเป็นไมโครซอฟต์ก็ใช้ไมโครซอฟต์ไป และอะไรที่ใช้แทนไมโครซอฟต์ได้ ก็ให้ใช้สิ่งทดแทนไป

ก็ประชากรของเราตั้งแต่เรียนหนังสือ จับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกจนไปเป็นซีอีโอของบริษัท ล้วนมีไมโครซอฟต์เป็นแม่นมมาทั้งนั้น

ดูตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์องค์กรดูซิครับ
ผู้บริหารที่คิดว่าทั้งบริษัทต้องใช้งบสำหรับค่า ลิขสิทธิ์เท่าไหร?
กับผู้บริหารที่คิดว่า "มีจุดไหนบ้างที่สามารถใช้โปรแกรมอื่นแทนไมโครซอฟต์ได้"

ท่านคิดว่าข้างไหนเยอะกว่ากันครับ..

องค์กรแห่งหนึ่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับไมโครซอฟต์จำนวนหนึ่งล้านห้าแสนบาท บนโต๊ะประชุมเกือบสี่ชั่วโมงเถียงกันว่าจะหาเงินมาจากไหน จ่ายไปแล้วปีหน้าต้องเพิ่มอีกเท่าไหร แค่นั้นครับ ไม่มีการถกประเด็นว่า "เราจะลดจำนวนเงินหนึ่งล้านห้าแสนบาทนั้นลง โดยใช้ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้แทนไมโครซอฟต์ได้หรือไม่" ตรงไหนต้องใช้ไมโครซอฟต์ ตรงไหนต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่น ๆ แทน

แล้วมันต้องมาตัดสินใจเอาตอนที่ผมเป็นที่ปรึกษา ma ซะด้วย

ทั้งผู้บริหารและพนักงาน ที่รู้จักแต่จุดดีของไมโครซอฟต์ และรู้จักแต่จุดอ่อนของโอเพนซอสต์ จึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่จะลดต้นทุนไม่ต้องจ่ายถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทนั้น อย่างไรก็เมื่อลงมือปฏิบัติกันอย่างจริงจริงตามแนวคิด "ให้แยกแยะ ใช้ไมโครซอฟต์เท่าที่จำเป็น ทดแทนด้วยโอเพนซอสต์ในส่วนที่สามารถ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็น collaboration มากขึ้น " ท้ายที่สุดองค์กรนั้นก็จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับไมโครซอฟต์น้อยลง
เพียง ห้าแสนบาท แทนที่จะเป็นหนึ่งล้านห้าแสนบาท.... ประหยัดไปได้ตั้งหนึ่งล้าน
จ่ายให้ไม่ถึงสองแสน พัฒนาบุคลากรอีกไม่เกินหนึ่งแสน ถ้าไม่บอกว่าคุ้ม ก็ไม่รู้จะบอกว่าอะไรแล้วครับ...

มาถึงตรงนี้ก็เพียงอยากบอกว่า ผมอิจฉาชาวเวียดนามที่รักษาเงินไว้ในประเทศของตนได้ ไม่ต้องส่งไปให้ไมรโครซอฟต์ที่อเมริกาแบบคุณขอมาผมจัดให้ หน่วยงานภาครัฐทำตัวเป็นผู้นำจริง ๆ ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ มีการบังคับใช้กันอย่างจริงจัง พิสูจน์ให้เห็นว่าใช้โอเพนซอสต์ทำงานทุกอย่างเหมือนที่ไมโครซอฟต์ทำได้ บริษัทเอกชนก็กล้าที่จะใช้ตาม กลายเป็นจุดแข็งด้านลดต้นทุนที่ใครก็มิอาจตามทันได้...โดยเฉพาะพี่ไทยเรา

บอลไทยเราก็จะสู้เวียดนามไม่ได้แล้ว... วงการไอทีของเราก็จะพัฒนาไม่ทันเวียดนามขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ก็หวังแต่เพียงว่างเราๆท่านๆนี่แหละครับ ทีจะช่วยกันผลักดันการลดต้นทุนไอทีให้ได้ ถึงจะจ่ายให้กับไมโครซอฟต์ก็จ่ายให้พองาม แบบมิตร ๆ ปล่อยให้รัฐบาลเขาคลำทางไปหาแสงสว่างกันเองเถอะครับ..

นี่ผมก็แอบเห็นใครไม่รู้ในประเทศของเราค่อนแคะรัฐบาลเวียดนามว่า "policy paper นี้ร่างด้วย Microsoft Word" เวรกรรมจริง ๆ....

ตัวไม่ทำยังไปว่าเขาอีก..อิอิ

เอวัง....
http://news.cnet.com/8301-13505_3-10136660-16.html

หมายเลขบันทึก: 414581เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอเพ่นซอสต์ ต้องทำกันทั้งประเทศ จึงจะสำเร็จ และเดินหน้าครับ หากทำอยู่แค่กลุ่มเดียว ยากที่จะประสบความสำเร็จ โอเพ่นซอส ดีๆมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ไฟร์ฟอร์ก ที่เราใช้เล่นเนตนี่ก็สุดยอด

ขอตอบตามหัวข้อที่ตั้งไว้ "ไอทีประเทศไทย จะสู้เวียดนามไหวไหมเนี่ย?"

สู้ไหวค่ะ  ด้านความรู้ความสามารถของคนไทยไม่เป็นรองใคร ที่ทำได้ยากเพราะขาดการสนับสนุน และขาดการพยายามเอาใจใส่ เอาจริงเอาจังจากผู้กำหนดนโยบายประเทศ

"....ที่รู้สึกชื่นชมยินดีกับ รัฐบาลเวียดนาม  ที่มองเห็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านสารสนเทศของประเทศ โดยการสนับสนุน......."

ถ้าเมื่อไดที่สามารถเปลี่ยนประโยค เป็น....พวกเราได้ชื่นชมยินดีกับ รัฐบาลไทย ที่มองเห็นยุทธศาสตร์ ....แทนล่ะก็ ไทยล้ำหน้าเวียตนามแน่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท