กรณีศึกษาการบริหารจากเรื่องสามก๊ก : เจ้านายกับลูกน้องแบบสามก๊ก


ผู้ว่าดิเรก ก้อนกลีบ ได้กล่าวถึงเจ้านายกับลูกน้อง
คราวที่ให้โอวาทข้าราชการเกษียณไว้ว่า ปัญหาของ
ระบบราชการก็คือ เราไม่สามารถเลือกเจ้านายได้
เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าเราจะย้ายไปที่ไหนได้
ที่สำคัญคือ เราไม่สามารถเลือกลูกน้องที่มีคุณภาพดีได้
จากคำกล่าวของท่านนั้นสะท้อนถึงปัญหาของระบบ
ราชการเป็นอย่างดี

ในสามก๊กก็เช่นกันยามที่ผู้นำพยายามตั้งตนเป็นใหญ่
ย่อมมีอุปนิสัยแตกต่างกัน โจโฉมีนิสัยดุร้ายเผด็จการ
ว่ากันว่าใครเป็นลูกน้องของโจโฉเท่ากับเสียชีวิตไปแล้ว
ครึ่งหนึ่ง เล่าปี่เป็นผู้นำที่ไร้ความสามารถต้องพึ่งพาคนอื่นมาก
แต่มีมนุษยสัมพันธ์ดีหน้าด้านแต่ใจไม่ดำ ทำให้มีคนอยาก
เป็นลูกน้องมาก คนเก่ง ๆ จึงมาสมัครเป็นลูกน้อง แต่ต่อมา
เมื่อสิ้นบุญลง นายใหม่ซึ่งไร้ความสามารถมาก ๆ ก็ทำให้
บ้านเมืองล่มจมได้ แม้ว่าจะมีขุนพลดีอยู่ในมือ ส่วนซุนกวน
นั้นบริหารแบบมีส่วนร่วมมีการประชุมสภาและวิพากษ์วิจารณ์
สถานการณ์ต่าง ๆ เป็นจุดแข็ง แต่ในบรรดาภาวะผู้นำทั้งสามก๊ก
นั้นซุนกวนแย่ที่สุด เพราะไม่ออกรบเอง แต่ก็ใช้นโยบาย
ไ่ม่รุกรานใครทำให้ครองอำนาจอยู่ยาวนาน ทำให้ซุนกวนมี
คนเก่งอยู่ด้วยจำนวนมากได้แก่ จูกัดจิ๋น พี่ของขงเบ้ง
เตียวเจียว โลซก ลกซุน จิวยี่

ในบรรดาลูกน้องทั้งหลายนั้น คนที่ซื่อสัตย์และจงรักภักดีอยู่ใน
ก๊กของเล่าปี่ และ ซุนกวน มากที่สุด ส่วนลูกน้องของโจโฉนั้น
ทำงานลำบากมากที่สุด เพราะถือว่าตนเองเก่งและมีความสามารถ
มักจะฆ่าลูกน้องและคนอื่น ด้วยสำคัญและระแวงว่าจะมีคนลอบฆ่า
ตนเอง แต่ก็ได้สุมาอี้คนประเภทเดียวกันเป็นเสนาธิการ และคนสุดท้าย
ที่ตนเองฆ่าก็คือ หมอเทวดาฮัวโต๋ นับได้ว่าโจโฉผู้มีความสามารถนั้น
ไม่มีลูกน้องที่รักจริง เพราะไม่จริงใจต่อใคร และสุดท้ายสุมาอี้ก็ทำ
รัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงค์โจ และรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น

ดังนั้นการทำงานถ้าผู้นำดีทำทั้งงาน และได้ทั้งคน จึงเป็นปัจจัยที่ดี
ยิ่งเป็นระบบราชการที่เลือกคนทำงานที่ดีและเลือกนายไม่ได้ ก็ต้องสร้าง
เหตุปัจจัยในทางอื่น ๆ ว่าไปแล้วนายที่ไร้ความสามารถอย่างเล่าปี่และ
ซุีนกวนซึ่งมีทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ กลับสามารถมีผู้เข้ามา
ร่วมทำงานมากมาย ทำให้มีตัวเลือกในการทำงานมากกว่า ผู้นำประเภท
เก่งแต่เพียงผู้เดียว ลูกน้องเป็นแค่หมากเบี้ยที่จะล้มกระดานเมื่อไรก็ได้
ก็เลือกกันเอาเองว่าจะเลือกนายประเภทไหนจึงจะเหมาะสมกับตน   

หมายเลขบันทึก: 414351เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท