การจัดการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง


การจัดการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

         เป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน รู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ  ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม  ค่านิยม  เอกลักษณ์ ความเป็นไทย

   การจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการได้ใน  2  ส่วน  คือ

          1.  การบริหารสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ

          2.  การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน  ซึ่งประกอบด้วย

              2.1  การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในห้องเรียน

              2.2  การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกห้องเรียน

        การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น   ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังหลักคิดต่าง ๆ ให้แก่เด็ก โดยครูต้องเข้าใจอย่างถูกต้อง  สามารถวิเคราะห์ ความพอเพียง/ไม่พอเพียงของตนเองและครอบครัวได้  และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง   

   

 

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

           1.  กิจกรรมสามารถมีความหลากหลายของเนื้อหา  แล้วแต่ตามสภาวะ ภูมิสังคมของแต่ละสถานศึกษา   แต่ที่สุดแล้วต้องปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีวิธีคิด อุปนิสัยและพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

           2.  เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลักโดยนักเรียน นักศึกษาและมีครูเป็นผู้นำหรือผู้สนับสนุน

               2.1  จำนวนนักเรียน/นักศึกษา/ครู ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ควรน้อยกว่า  25%   ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดของโรงเรียน

               2.2  นักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ ควรมีความประพฤติดี สมัครใจ ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม  การเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี  และมีสุขภาพดี

                2.3  ครูที่เข้าร่วมโครงการควรมี ความประพฤติดี  สมัครใจและมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม

        3.  เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลทางเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา  และสามารถขยายผลออกสู่ชุมชนได้

                 3.1  พอประมาณกับภูมิสังคม :    สอดคล้องกับความต้องการ/ความจำเป็นของสถานศึกษา/คนในชุมชน  และเหมาะสมกับกับภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมและความคิด  ความเชื่อ วิถีชีวิต

                  3.2  สมเหตุสมผล :  มีหลักคิดและหลักปฏิบัติของกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง  รายละเอียดตามโครงการแสดงถึงความรอบคอบของการวางแผนดำเนินโครงการ

                 3.3  ภูมิคุ้มกันที่ดี  : การวางแผนโครงการ คำนึงถึงความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ โดยมีข้อเสนอทางเลือก หากมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เกิดขึ้น

                 3.4  ส่งเสริม ความรู้ และคุณธรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  :  กิจกรรมต่าง ๆ  ต้องส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วม มีความรอบรู้มากยิ่งขึ้น เปิดโครงการให้มีการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ     ส่งเสริมการมีคุณธรรม  เช่น  ความมีระเบียบวินัย  มีสัมมาคารวะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญูกตเวที  มีสติปัญญา แยกแยะถูกผิด ควรไม่ควร มีความขยันหมั่นเพียร อดทน สนใจใฝ่รู้ มีจิตสำนึกเห็นประโยชน์ของการช่วยเหลือผู้อื่น และทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม 

      คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           1.  มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                  1.1  มีความรู้ ความเข้าใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ สถานการณ์สังคม สิ่งแวดล้อม

                  1.2  มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                  1.3  เห็นประโยชน์และความสำคัญในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม

            2.  มีความรู้ และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                2.1  มีศักยภาพและทางเลือกในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เพื่อให้พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง

                2.2  อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข รู้รักสามัคคี ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

                2.3  ใช้ ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

                2.4  สืบสานวัฒนธรรม ศิลปะ ประเพณี ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ภูมิใจ            ในความเป็นไทย

        3.  ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                3.1  รู้จักประมาณตน รู้จักศักยภาพของตน ใช้ชีวิตบนพื้นฐานความเป็นจริง อย่างเป็นเหตุเป็นผล

                3.2  ดำเนินชีวิตโดยใช้สติ ปัญญา ความรอบรู้ ความรอบคอบ ไม่ประมาท

                3.3  มีคุณธรรมเป็นพื้นฐานของจิตใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่ทำความชั่ว สั่งสมความดี มีวินัยและความรับผิดชอบ

หมายเลขบันทึก: 414168เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท