กฏหมายอิสลาม ตอน7


พินัยกรรม (اَلْوَصِيَّةُ) ตามหลักศาสนา : หมายถึง การสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งจะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลงแล้ว เรียกการสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ในภาษาอาหรับว่า อัล-วะศิยะฮฺ (اَلْوَصِيَّةُ)

การทำพินัยกรรม  (اَلْوَصِيَّةُ)

พินัยกรรม  (اَلْوَصِيَّةُ)  ตามหลักศาสนา  :  หมายถึง  การสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  ซึ่งจะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลงแล้ว  เรียกการสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ในภาษาอาหรับว่า  อัล-วะศิยะฮฺ  (اَلْوَصِيَّةُ)  เพราะความดีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำไว้ในโลกนี้จะส่งผลไปถึงเขาในโลกหน้า

ข้อแตกต่างระหว่างการทำพินัยกรรมกับการให้ประเภทอื่น ๆ คือการทำพินัยกรรม   จะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว  ขณะที่การให้ประเภทต่าง ๆ จะมีผลบังคับขณะที่ผู้กระทำยังมีชีวิตอยู่

การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่อนุมัติในศาสนาอิสลาม  โดยปรากฎในอัล-กุรฺอาน  ว่า

|=ÏGä. öNä3ø‹n=tæ #sŒÎ) uŽ|Øym ãNä.y‰tnr& ßNöqyJø9$# bÎ) x8ts? #·Žöyz èp§‹Ï¹uqø9$# Ç`÷ƒy‰Ï9ºuqù=Ï9 tûüÎ/tø%F{$#ur Å$rã÷èyJø9$$Î/ ( $ˆ)ym ’n?tã tûüÉ)­FßJø9$# ÇÊÑÉÈ  

 

ความว่า  “การทำพินัยกรรมให้แก่บิดามารดาและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมนั้นได้ถูกกำหนดขึ้นเหนือพวกเจ้าแล้ว  เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้า  หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้  ทั้งนี้เป็นหน้าที่เหนือผู้ยำเกรงทั้งหลาย”

                                (สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่  180)

เมื่ออายะฮฺอัล-กุรฺอานที่บัญญัติเกี่ยวกับมรดกได้ถูกประทานลงมา  อายะฮฺนี้จึงได้ถูกยกเลิก  ทำให้ฮุก่มของการทำพินัยกรรมที่เป็นวาญิบเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ควรกระทำ  (มุสตะหับ) เท่านั้น    โดยอยู่ในอัตรา     ของกองมรดก  หลังจากใช้จ่ายไปในเรื่องจัดการศพและชำระหนี้สินของผู้ตายเรียบร้อยแล้ว

มีอัล-หะดีษรายงานโดยท่านสะอฺด  อิบนุ  อบีวักก็อศ  (ร.ฎ.)  ว่า  :  ท่านนบี  ( )  ได้มาเยี่ยมฉันเนื่องจากการเจ็บป่วยของฉัน  ฉันได้กล่าวว่า  :

"يَارَسُوْلَ الله  ،  أَنَا ذُوْ مَالٍ وَلاَ يَرثُنِى إِلاَّ ابْنَةٌ لِيْ وَاحِدَةٌ  ،

أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثَىْ مَا لِيْ قَالَ :  لاَ  ،  قُلْتُ  ،  أَفَأتَصَدَّقُ بِشَطْرِه  ،

قَالَ : لاَ ، قُلْتُ  :  أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثِه

قَالَ  :  اَلثُّلُثُ  ،  اَلثُّلُثُ كَثِيْرٌ ،

إِنًّكَ إِنْ تَذَرَوَرَثَتَكَ أَغْنِيَاءَ خَيْرٌ مِنْ أَنْ تَذَرَهُمْ عَالَةً يَتَكفَّفُوْنَ النَّاسَ"

“โอ้  ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ  ฉันเป็นผู้มีทรัพย์สิน  และไม่มีผู้ใดสืบมรดกฉัน  นอกจากบุตรสาวของฉันเพียงคนเดียวเท่านั้น  ฉันจะบริจาคทาน     จากทรัพย์สินของฉันได้หรือไม่?  นบี           ( )  ตอบว่า  :  “ไม่ได้”  ฉันกล่าวว่า  :  ฉันจะบริจาคทานครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินนั้น  นบี  ( )  ตอบว่า  :  “ไม่ได้”  ฉันกล่าวว่า  :   ฉันจะบริจาคหนึ่งในสามของทรัพย์สินนั้น    นบี  ( )  กล่าวว่า   หนึ่งในสาม,  หนึ่งในสามก็มากแล้ว  เพราะแท้จริงการที่ท่านทิ้งทายาททั้งหลายของท่านในสภาพที่พวกเขามีอันจะกิน  (ร่ำรวย)  ย่อมดีกว่าการที่ท่านทิ้งให้พวกเขาเป็นผู้ขัดสนที่แบมือขอผู้คน”

                                                                (รายงานโดยบุคอรี  มุสลิม  )

 

องค์ประกอบของการทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.       ผู้ทำพินัยกรรม

2.       ผู้รับพินัยกรรม

3.       ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม

4.       การเสนอและการตอบรับ

 

เงื่อนไขในการทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีเงื่อนไข  ดังนี้

1.       ผู้ทำพินัยกรรมต้องบรรลุศาสนภาวะ  มีสติสัมปชัญญะและมีอิสระในการทำพินัยกรรม

2.       ผู้รับพินัยกรรมจะต้องมิใช่เป็นผู้สืบมรดกจากผู้ทำพินัยกรรม  และมิใช่ผู้ที่สังหารผู้ทำพินัยกรรม

3.       ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรมนั้นต้องระบุชัดเจน  และไม่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม

4.     การเสนอและการตอบรับนั้นต้องเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด  หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สิ้นชีวิต

 

อนึ่งตามหลักศาสนา  อนุญาตให้ทำพินัยกรรมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด  ดังนั้นหากผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมมากกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด  ย่อมถือว่าการทำพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ  ยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิสืบมรดกยินยอมให้  โดยมีเงื่อนไข  ดังนี้

1)  การยินยอมนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ทำพินัยกรรมได้เสียชีวิตแล้ว

2)  ผู้ยินยอมนั้นจะต้องเป็นผู้บรรลุศาสนภาวะและมีสติสัมปชัญญะ

 

 

การทำพินัยกรรมที่เป็นโมฆะ

สิ่งที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ  มีดังต่อไปนี้

1.                   ผู้ทำพินัยกรรมได้เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกพินัยกรรมก่อนเสียชีวิต

2.                   ผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อนผู้ทำพินัยกรรม

3.                   ผู้รับพินัยกรรมได้สังหารหรือมีส่วนร่วมในการสังหารผู้ทำพินัยกรรม

4.                   ผู้รับพินัยกรรมได้คืนสิทธิของตนให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก

5.                   ทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรมเกิดชำรุดเสียหาย

6.                   การทำพินัยกรรมนั้นเป็นการทำให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก  เนื่องจากมีอัล-หะดีษระบุว่า

"إِنَّ الله أَعْطى كُلَّ ذِيْ حَقٍّ حَقَّه  ،  فَلاَ وَصِيَّةَ لِوَارِثٍ"

“แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงประทานสิทธิแก่ผู้มีสิทธิทุกคนแล้ว  (ในเรื่องมรดก)  ดังนั้นย่อมไม่มีการทำพินัยกรรมให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก  (อีก)”

                                                                        (รายงานโดย  อัต-ติรมีซียฺ    อบูดาวูด)

 

 

หมายเลขบันทึก: 413637เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2010 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นายร็อบใบ มัยหมาด เลขที่ ๒๓ นายบัยฮากี นารีเปน เลขที่๑๙ นายชรินทร์ฤทธิ์ ช่างเรือ เลขที่ ๑๑ นายฮาริส หมาดหนุด เลขที่ ๒๖

กฏหมายอิสลามแตกต่างจากกฏหมายอื่นอย่างไร

ตอบ ๑.ไม่มีสิทธิยกให้ลูกหลาน

๒. มีการแบ่งแบบเท่าเทียมกัน

๓.

ม.๕/๑

นายนิติพร วราชิต ม.5/1 เลขที่ 18 นายณัฐดนัย มังกะลัง ม.5/1 เลขที่ 7 นายพัชรพล นิภา ม.5/1 เลขที่ 8

การทำพินัยกรรมทั่วไป จะมีผลตามที่ ผู้ทำพินัยกรรม 100%

การทำพินัสกรรมอิสลาม จะมีผลแค่ 1/3

นาย พีระพงศ์ อบทอง ม5/1 เลขที่ 20

การทำพินัยกรรมทั่วไป จะมีผลตามที่ ผู้ทำพินัยกรรม 100%

การทำพินัสกรรมอิสลาม จะมีผลแค่ 1/3

น.ส.ฟารีดา หะยีอาลี 5/1 เลขที่31

พินัยกรรมอิสลามจะมีผลแค่1/3 ถือว่ามีความเป็นทำโดยไม่ให้ผู้ที่ทำยกมรดกที่มากเกินไป ถ้าจะยกมรดกให้ใครที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องก็มีการจำกัดไว้ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิ์ของผู้เป็นญาติได้ส่วนหนึ่งไม่ให้ยกให้ผู้อื่นมากจนเกินไป และป้องกันจากการถูกบังคับให้ยกมรดกได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท