เครียดซ้ำซ้อนระวัง!!


เครียดซ้ำซ้อนระวัง!! เมื่อสารในสมองเกิดการหลั่งไม่เท่ากันจะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายได้!

 

เมื่อสารในสมองเกิดการหลั่งไม่เท่ากันจะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายได้!
            พญ.ทวีรักษ์ นิธิยานนทกิจ อายุรกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสื่อประสาทให้ฟังว่าในสมองของคนเราจะมีสารสื่อ ประสาทอยู่หลายชนิดที่ทำงานร่วมกัน โดยจะทำงานในส่วนต่างๆ ในสมอง
            สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เมื่อเซลล์ประสาทต้นทางถูกกระตุ้น กระแสประสาทที่เกิดขึ้นจะไหลไปตามเส้นประสาท เมื่อกระแสประสาทไปถึงปลายเส้นประสาท ก็จะกระตุ้นให้เซลล์ที่ปลายประสาทหลั่งสารสื่อนำประสาทออกมา
            โดยเซลล์แต่ละชนิดจะผลิตสารสื่อประสาทไม่เหมือนกัน และมีหน้าที่แตกต่างกันไปอาทิ สารสื่อประสาทที่ชื่อว่าเซโรโทนินจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดมองโลกในแง่ดี ถ้าหากมีระดับสารสื่อประสาทชนิดนี้ต่ำจะส่งผลทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้ามองคุณ ค่าตัวเองต่ำขณะที่โดปามีนเกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว
            สำหรับอะเซทิลโคลีน เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำในระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เรียนในเวลากลางวันไปไว้ที่สมองในเวลาที่เรากำลังหลับ รวมทั้งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารชนิดนี้จะทำให้สมาธิสั้นลง กลายเป็นคนขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ อีกทั้งทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
            ที่รู้จักกันดี คือ เอ็นดอร์ฟิน เป็นสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหายเจ็บปวด เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข อารมณ์ดี ถ้าขาดสารชนิดนี้จะทำให้ขาดความสุขแม้จะฟังเพลงที่ชอบก็ตาม ส่วนสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เมลาโทนิน สารชนิดนี้จะทำให้คนเราหลับสบาย
            เมื่อผลิตสารสื่อประสาทออกมาแล้วก็จะเข้าทำงานในส่วนต่างๆ ของสมอง โดยส่วนของสมองที่ชื่อว่าฮิปโปแคมปัส จะเป็นส่วน ที่สารสื่อประสาทหลั่งผิดปกติมากที่สุดโดยสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับ สมองส่วนนี้ คือ อะเซทิลโคลีน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความจำการเรียนรู้พฤติกรรม ความสุขอารมณ์ขั้นพื้นฐานความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดีโกรธ ไม่โกรธ

 

เครียดซ้ำซ้อนระวัง!!

            เมื่อสารในสมองเกิดการหลั่งไม่เท่ากันจะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายได้!
            พญ.ทวีรักษ์ นิธิยานนทกิจ อายุรกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสื่อประสาทให้ฟังว่าในสมองของคนเราจะมีสารสื่อ ประสาทอยู่หลายชนิดที่ทำงานร่วมกัน โดยจะทำงานในส่วนต่างๆ ในสมอง
            สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เมื่อเซลล์ประสาทต้นทางถูกกระตุ้น กระแสประสาทที่เกิดขึ้นจะไหลไปตามเส้นประสาท เมื่อกระแสประสาทไปถึงปลายเส้นประสาท ก็จะกระตุ้นให้เซลล์ที่ปลายประสาทหลั่งสารสื่อนำประสาทออกมา
            โดยเซลล์แต่ละชนิดจะผลิตสารสื่อประสาทไม่เหมือนกัน และมีหน้าที่แตกต่างกันไปอาทิ สารสื่อประสาทที่ชื่อว่าเซโรโทนินจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดมองโลกในแง่ดี ถ้าหากมีระดับสารสื่อประสาทชนิดนี้ต่ำจะส่งผลทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้ามองคุณ ค่าตัวเองต่ำขณะที่โดปามีนเกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว
            สำหรับอะเซทิลโคลีน เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำในระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เรียนในเวลากลางวันไปไว้ที่สมองในเวลาที่เรากำลังหลับ รวมทั้งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารชนิดนี้จะทำให้สมาธิสั้นลง กลายเป็นคนขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ อีกทั้งทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
            ที่รู้จักกันดี คือ เอ็นดอร์ฟิน เป็นสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหายเจ็บปวด เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข อารมณ์ดี ถ้าขาดสารชนิดนี้จะทำให้ขาดความสุขแม้จะฟังเพลงที่ชอบก็ตาม ส่วนสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เมลาโทนิน สารชนิดนี้จะทำให้คนเราหลับสบาย
            เมื่อผลิตสารสื่อประสาทออกมาแล้วก็จะเข้าทำงานในส่วนต่างๆ ของสมอง โดยส่วนของสมองที่ชื่อว่าฮิปโปแคมปัส จะเป็นส่วน ที่สารสื่อประสาทหลั่งผิดปกติมากที่สุดโดยสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับ สมองส่วนนี้ คือ อะเซทิลโคลีน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความจำการเรียนรู้พฤติกรรม ความสุขอารมณ์ขั้นพื้นฐานความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดีโกรธ ไม่โกรธ

ติดตามอ่านต่อได้ที่ http://www.vcharkarn.com/varticle/41976

หมายเลขบันทึก: 413610เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2010 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท